วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกNEWS“รัฐบาล”พร้อมรับมือพายุโนรูวาง 5 แนวทางเผชิญภัยขั้นสูงสุด-ตั้งศูนย์อพยพ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“รัฐบาล”พร้อมรับมือพายุโนรูวาง 5 แนวทางเผชิญภัยขั้นสูงสุด-ตั้งศูนย์อพยพ

โฆษกรัฐบาลเผย รัฐบาลพร้อมรับมือพายุไต้ฝุ่น “โนรู”พร้อมกับวาง 5 แนวทางเผชิญภัยขั้นสูงสุด ตั้งศูนย์พักพิงอพยพ

เมื่อวัน  27 ก.ย.65 ที่ทำเนียบรัฐบาล  นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเตรียมความพร้อมรับมือพายุไต้ฝุ่น “โนรู (NORU)” ซึ่งคาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในวันที่ 28 – 29 กันยายน 2565 และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงขึ้น โดยติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แนวทางระบายน้ำ และเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันที่ 27 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสถานการณ์พายุไต้ฝุ่นโนรู บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ซึ่งคาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทยในวันที่ 28 – 29 กันยายน 2565 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

ทั้งนี้ รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้เร่งเตรียมการรับมือและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน โดยกระทรวงมหาดไทยเตรียมความพร้อมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทุกจังหวัด รับมือผลกระทบพายุโนรู โดยวาง 5 แนวทางแผนเผชิญเหตุอุทกภัยได้แก่ 1.จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด ติดตามสถานการณ์พายุโนรู ประเมินสถานการณ์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ 2.ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัย เตรียมความพร้อมในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อให้พร้อมเผชิญเหตุและให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง 3.เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยในพื้นที่ ให้จัดชุดปฏิบัติการเข้าคลี่คลายสถานการณ์ พร้อมทั้งดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ 4.หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรง ให้อพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยไปยังพื้นที่ปลอดภัย หรือศูนย์พักพิงที่จัดเตรียมไว้โดยทันที และ 5.สำหรับจังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย และเกิดขึ้นต่อเนื่อง ให้จัดตั้งศูนย์พักพิงและวางแผนบริหารจัดการ เพื่อรองรับการอพยพของประชาชนอย่างเป็นระบบ

นายอนุชา กล่าวว่า ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เร่งเตรียมความพร้อมแผนเผชิญเหตุปฏิบัติการช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เข้าช่วยเหลือด้านต่าง ๆ อาทิ ช่วยเหลือรถเสียจากน้ำท่วม กีดขวางการจราจรจัดการจราจรหลีกเลี่ยงเส้นทางน้ำท่วม อำนวยความสะดวกเส้นทางสัญจร และชุดสายตรวจคอยป้องกันเหตุอาชญากรรมไม่ให้คนร้ายมาฉวยโอกาสซ้ำเติมประชาชนที่เดือดร้อน รวมทั้งติดตามข่าวสาร เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ และทุกหน่วยงานภายใต้กำกับดูแลกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือประชาชนหากมีสภาวะฉุกเฉิน โดยหากอุทยานใด มีความสุ่มเสี่ยงต่อการจะเกิดอุบัติเหตุ ขอให้ปิดตัว เพื่อดูแล ป้องกันเรื่องความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img