วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกHighlightแพทย์เตือนภัยพิษ“แมงดาถ้วย”ร้ายแรง “หยุดหายใจ-เสียชีวิตเร็ว-ไม่มียารักษา”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แพทย์เตือนภัยพิษ“แมงดาถ้วย”ร้ายแรง “หยุดหายใจ-เสียชีวิตเร็ว-ไม่มียารักษา”

แพทย์เตือน “แมงดาถ้วย“” พิษตัวเดียวกับ “ปลาปักเป้า” ทำคนกินชา อ่อนแรง หยุดหายใจเสียชีวิตรวดเร็ว อันตรายมากช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. หากเริ่มมีอาการ รีบส่งรพ. พร้อมสังเกตการหายใจ ช่วยผายปอดได้ ไม่มียารักษา หากดูแลการหายใจได้ใน 48 ชั่วโมงกลับคืนสภาวะปกติ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 66 ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงพิษแมงดาถ้วยว่า พิษของแมงดาถ้วยนั้น เป็นพิษเทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ตัวเดียวกับพิษในปลาปักเป้า จะทำให้การทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ และความรู้สึกของร่างกายเสียไป โดยหลังรับประทานเข้าไปแล้วจะมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ จากนั้นที่สำคัญคือจะมีอาการชารอบปาก ชาลิ้น ชาปลายมือ ปลายเท้า คนที่มีอาการรุนแรงจะเริ่มมีอาการแขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ในที่สุดจะหายใจไม่พอ และเสียชีวิตในที่สุดในเวลาสั้นๆ ซึ่งจากข้อมูลอาการเกิดขึ้นเร็วที่สุดที่เคยเจอว่า เริ่มมีอาการหลังรับประทานเพียง 20-30 นาที แล้วอาการจะดำเนินไปเรื่อยๆ จนรุนแรงสุดคือหายใจไม่พอ หายใจไม่ได้ คนป่วยจะรู้ตัวเองหมดว่าหายใจไม่ได้ หายใจไม่พอ แต่เนื่องจากร่างกายเกิดอาการชา อ่อนแรงจึงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเสียชีวิต

หัวหน้าศูนย์พิษฯ กล่าวว่า พิษเทโทรโดท็อกซิน นั้นจะทนความร้อนได้ดี ฉะนั้นไม่ว่าจะเอาไปเผา ไปต้ม พิษก็ยังคงอยู่ ไม่สามารถกำจัดพิษนี้ออกไปได้ นอกจากนี้ พิษดังกล่าวยังสามารถละลายน้ำได้ด้วย อย่างน้ำซุปปลาปักเป้า หากดื่มเข้าไปก็ได้รับพิษนี้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่รับประทานเข้าไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับเข้าไป แต่คนที่ร่างกายอ่อนแออยู่แล้วก็อาจจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย ผู้เสียชีวิตที่เราเจอในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็เป็นคนปกติ ที่ร่างกายแข็งแรงดี ซึ่งมีรายงานทุกปร โดยศูนย์พิษฯ รวบรวมสถิติผู้ได้รับผลกระทบจากพิษจากปลาปักเป้า และแมงดาถ้วย มีประมาณหลักหน่วย แต่พบทุกปี

ศ.นพ.วินัย วนานุกูล

“หากพลาดรับประทานเข้าไปแล้ว หากเริ่มมีอาการชา ชาปลายลิ้น ปลายมือ ปลายเท้า แนะนำว่าให้ไปโรงพยาบาลให้เร็ว และระหว่างทางไป พิษที่เกิดขึ้นนั้นเร็วมาก บางคนจากอาการเริ่มชา จนกระทั่งหายใจไม่ทันนั้นใช้เวลาเป็นนาที ไม่มียาอะไรรักษาได้ ฉะนั้น ระหว่างเดินทางต้องคอยสังเกตการหายใจ หากหายใจไม่ดีต้องช่วยหายไจไว้ก่อนเลย เช่น ผายปอด หรืออะไรก็แล้วแต่ขึ้นอยู่กับว่ามีอุปกรณ์อะไร แล้วรีบไปโรงพยาบาลให้เร็ว ซึ่งสามารถรักษาได้ หากเราช่วยหายใจได้ ประมาณ 48 ชั่วโมงทุกอย่างก็กลับมาเป็นปกติ” ศ.นพ.วินัย กล่าว

ศ.นพ.วินัย กล่าวต่อว่า โดยทั่วไปในประเทศไทย ชาวบ้านจะรู้ว่าแมงดาอะไรที่สามารถรับประทานได้ แต่มีประเด็นปัญหาอยู่เรื่อยๆ ว่าเราไม่แน่ใจว่า คนที่เอาไข่มาปรุงนั้น ไม่รู้ว่าเป็นแมงดาถ้วย หรือแมงดาอะไร เพราะส่วนมากเห็นแค่ไข่ ไม่เห็นตัว ซึ่งแมงดาแต่ละชนิดนั้นมีลักษณะไม่ค่อยแตกต่างกัน ต่างกันแค่ที่ลักษณะของหางเท่านั้น ดังนั้น โอกาสพลาดก็มีเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของแมงดาด้วย พิษที่อยู่ในไข่จะไม่ได้คงที่เท่ากันทั้งปี แต่จะมีมากช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. ปีไหนที่มีปริมาณแมงดาถ้วยเยอะ ก็จะมีปัญหามากหน่อย แต่ปีนี้ค่อนข้างน้อย และอยู่ในช่วงปลายฤดูของมันแล้ว แต่ก็พบว่ามีคนเสียชีวิต ดังนั้นจึงต้องเตือนกัน แม้ความชุกของแมงดาถ้วยน้อยแล้ว แต่ยังมีพิษมากอยู่ ดังนั้นคนขาย หรือร้านอาหารต้องมีความรับผิดชอบ ต้องให้แน่ใจว่าไม่เอาแมงดาถ้วยมาขาย เพราะส่วนมากจะเห็ชนแกะไข่ขาย คนซื้อไม่สามารถรู้ได้ ส่วนประชาชนที่กินไข่แมงดาทะเล ต้องรู้ตัวว่าตัวเองมีความเสี่ยง หากกินแล้วเกิดอาการชา ต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้การปฐมพยาบาลรักษาพยาบาลได้เร็ว

“ผมมีข้อกังวลหนึ่ง ที่มีรายงานข่าวว่า ชาวบ้านกินมานานไม่เห็นเมา หรือเป็นอะไรนั้น อันนี้คือความเข้าใจผิด อย่างที่ผมบอกว่าพิษที่อยู่ในแมงดาทะเลนั้นไม่ได้มีทั้งปี จะมีน้อย มีมากไม่เท่ากันทั้งปี แต่พิษจะมีเยอะในช่วงเดือน ม.ค.- มี.ค. ดังนั้นถ้ากินในช่วงนี้ถือว่าอันตราย ช่วงอื่นถามว่ามีพิษไหม ก็มี แต่ปริมาณอาจจะน้อยลง ทำให้กินเข้าไปแล้วไม่มีอาการอะไร แม้กระทั่งปลาปักเป้า ซึ่งเป็นพิษตัวเดียวกันนี้ เราเชื่อว่ามีแบคทีเรียบางอย่างในน้ำเป็นตัวสร้าง แล้วสัตวพวกนี้สามารถเก็บสะสมไว้ในตัว ใครกินเข้าไปแล้วมีปัญหา ซึ่งเคยมีชาวประมงลากอวนมาแล้วพบว่าปลาชนิดนี้เคยกินแล้ว กินได้ แต่ครั้งล่าสุดเป็นการกินครั้งสุดท้ายของชีวิต เพราะเกิดเรื่องขึ้นตอนที่อยู่กลางทะเล บางครั้งตายครั้งละหลายคนก็มี” ศ.นพ.วินัย กล่าว.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img