วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกHighlightกรมการแพทย์แนะ5หลัก‘ดูแลผู้สูงอายุ’ ช่วงวิกฤตโควิด-19เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กรมการแพทย์แนะ5หลัก‘ดูแลผู้สูงอายุ’ ช่วงวิกฤตโควิด-19เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย!

“กรมการแพทย์” แนะวิธีดูแล “ผู้สูงอายุ” ช่วงวิกฤตโควิด เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงจะติดเชื้อได้ง่าย เพราะมีภูมิต้านทานต่ำ ย้ำให้ยึด 5 หลัก “อาหาร-ออกกำลังการ-อารมณ์-พักผ่อน-ไม่ออกจากบ้าน”

เมื่อวันที่ 1 พ.ค.64 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เนื่องจากมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศระลอกใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุจึงเป็นคนกลุ่มหนึ่งในครอบครัวที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อและเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ไม่ได้ออกไปสถานที่เสี่ยง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรง และปลอดภัยจากเชื้อดังกล่าว เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้สูงอายุมีภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำ ทำให้ติดเชื้อง่ายกว่าวัยอื่น ๆ ทั้งนี้ผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี ซึ่งผู้สูงอายุกลุ่มนี้ มักจะออกไปมีปฏิสัมพันธ์นอกบ้าน กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อค่อนข้างสูง

2.กลุ่มติดบ้าน จะมีความปลอดภัย แต่จะต้องระวังว่า คนในครอบครัวจะนำเชื้อจากภายนอกเข้ามาติดผู้สูงอายุได้

3.กลุ่มติดเตียง ซึ่งมีทั้งที่อยู่บ้านและอยู่ในสถานพยาบาล หากจ้างผู้ดูแลจากภายนอกจะต้องมีการวัดไข้ ล้างมือ ฟอกสบู่ให้เรียบร้อย ใส่หน้ากากอนามัยก่อนเข้าบ้าน ส่วนกลุ่มติดเตียงที่อยู่ในสถานดูแลของภาครัฐและเอกชน จะต้องเน้นการคัดกรองผู้ที่มาเยี่ยม และต้องล้างมือก่อนสัมผัสตัวผู้สูงอายุทุกครั้ง

“ทั้งนี้ ผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุควรสังเกตว่าผู้สูงอายุผิดปกติ เช่น หายใจเร็ว หอบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ซึม สับสนเฉียบพลัน ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ โดยโทรปรึกษาได้ที่โรงพยาบาลที่ดูแลผู้สูงอายุเป็นประจำ หรือสายด่วนของกรมการแพทย์ 1668 และ สายด่วน 1669 เพื่อขอรับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด”นพ.สมศักดิ์กล่าว

ด้าน นพ.สกานต์ บุนนาค ผอ.สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า การดูแลผู้สูงอายุในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ยึดหลัก ดังนี้

1.อาหาร ต้องสะอาด ปรุงสุกใหม่ เลี่ยงอาหารรสจัด เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง และครบ 5 หมู่ และต้องรักษาสุขภาพช่องปาก

2.ออกกำลัง อย่างสม่ำเสมอหรือเท่าที่ทำได้ตามสภาพร่างกายและสมองของผู้สูงอายุ

3.อารมณ์ หากิจกรรมที่ชื่นชอบและมีความสุข ไม่ทำให้เครียด หลีกเลี่ยงสุราและยาเสพติด หากมีความเครียดให้ปรึกษาผู้รู้ใจหรือสายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร.1323

4.นอนหลับพักผ่อน ให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง/วัน

5.ผู้สูงอายุและผู้ดูแลไม่ควรออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาที่ออกจากบ้าน และล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อย ๆ ก่อนจับหน้ากากอนามัยหรือก่อนรับประทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงของเชื้อที่ติดมากับมือของผู้สูงอายุ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img