วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกHighlight“ศบค.”ยังไม่“ล็อคดาวน์” ปรับมาตรการเข้มขึ้น รอสรุปศุกร์ที่ 9 ก.ค.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ศบค.”ยังไม่“ล็อคดาวน์” ปรับมาตรการเข้มขึ้น รอสรุปศุกร์ที่ 9 ก.ค.

“ศบค.”แจงข้อเสนอสธ. ยังไม่ “ล็อคดาวน์” เป็นเพียงปรับมาตรการเข้มข้นขึ้น ตั้งจุดตรวจ ลดผระชาชนเคลื่อนย้าย กำหนดเวลาเปิด-ปิดกิจการ ขออภัยปชช.ไม่สะดวก รอข้อสรุปพรุ่งนี้

เมื่อวันที่  8 ก.ค.64  พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) แถลงว่า กระทรวงสาธารณสุข เสนอปรับมาตรการทั้งมาตรการสาธารณสุข รวมทั้งมาตรการทางสังคมนำเสนอศบค. โดยมาตรการจะเข้มข้นจำกัดการเดินทางออกนอกพื้นที่ ห้ามการเคลื่อนย้ายระหว่างจังหวัด โดยที่ประชุมมีการหารือไปที่กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงกลาโหม และศปท.จะมีการตั้งจุดตรวจ เพื่อลดการเคลื่อนย้ายการข้ามพื้นที่ โดยมีการเสนอให้ปรับมาตรการเวิร์คฟอร์มโฮมทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นมาตรการสูงสุด รวมถึงกำหนดให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการเปิดและปิดกิจการ เพื่อลดการเคลื่อนย้ายการเดินทางออกนอกพื้นที่ของประชาชน คือให้มีการอยู่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ สำหรับสถานที่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือตลาดโต้รุ่งรอบดึก จะมีการหารือในเรื่องการกำหนดเปิดและปิด ในส่วนของการขนส่งสาธารณะจะมีการหารือเพื่อลดการเคลื่อนย้ายของบุคคล โดยจะต้องมีการปรับเวลาให้บริการขนส่งสาธารณะ

ทั้งนี้ ที่ประชุมเป็นห่วงเรื่องการปรับเวลา และการปรับมาตรการจะต้องคำนึงถึงการคงไว้ ซึ่งความจำเป็น เช่นสาธารณูปโภค อาหารซูเปอร์มาร์เก็ต และตลาดอาจจะยังจำเป็นต้องเปิด หรือตลาดยังจำเป็นต้องเปิด หรือร้านขายเครื่องมืออุปกรณ์ช่างก่อสร้างโดยมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอวันเดียวกันนี้จะมีการเสนอศบค.ชุดใหญ่ เพื่อพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 9 ก.ค.

เมื่อถามว่า กรณีที่มีการแชร์ผลการประชุมจากกระทรวงสาธารณสุขที่มีการเสนอให้ล็อคดาวน์ 14 วันห้ามออกจากบ้านเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค.นี้ พญ.อภิสมัย  กล่าวว่า  ไม่ได้มีคำว่าล็อคดาวน์ สิ่งที่สาธารณสุขเสนอวันเดียวกันนี้ เป็นเรื่องของการปรับมาตรการ โดยจะมีรายละเอียดว่ากิจการกิจกรรมใดมีการปรับระยะเวลาจะต้องเป็นอย่างไรและจะพื้นที่ไหน จังหวัดไหน แต่ตรงนี้ไม่ได้มีการสรุปเป็นข้อสรุป ต้องนำเสนอที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่เพื่อพิจารณาและอนุมัติในวันที่ 9 ก.ค.นี้

เมื่อถามต่อว่า การเดินทางข้ามจังหวัดหลังจากนี้จะเดินทางไปต่างจังหวัดได้หรือไม่ และถ้าเกิดมีความจำเป็นจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร พญ.อภิสมัยกล่าวว่า ในส่วนของการรายงานยอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ศบค.เน้นย้ำเสมอว่าให้ประชาชนงดเว้นการเดินทาง ไม่แนะนำให้เดินทางยกเว้นมีกรณีความจำเป็น ขณะนี้มีรายงานข่าวว่ามีบุคคลที่กำลังรอผลตรวจว่าติดเชื้อโควิดหรือไม่ มีการเดินทาง จึงขอให้โรงพยาบาลที่ตรวจเน้นย้ำว่าขณะรอผลตรวจไม่ควรเดินทาง รวมทั้งอีกกรณีคือรู้ผลตรวจแล้วว่าติดเชื้อโควิด -19 มีความพยายามเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม เพื่อไปรับการรักษา ตรงนี้ไม่แนะนำ เพราะในกรณีที่ติดเชื้อและเป็นผู้ป่วย ทางสาธารณสุขแนะนำว่าควรจะต้องพักผ่อนและพักปอด การเดินทางมีความเหนื่อยล้า อาจทำให้ปอดอักเสบและทรุดลงอย่างรวดเร็วและห่วงว่าจะมีการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น แต่ถ้าหากจะเดินทางมีข้อแนะนำว่าการเดินทางจะต้องไปโดยรถส่วนตัวเท่านั้น สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา ลดกระจก เพื่อระบายอากาศ ไม่เช่นนั้นอาจจะมีอาการทรุดลง เตรียมอาหารและน้ำไม่ควรแวะพักจุดปั๊มน้ำมัน เพราะอาจจะมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ และเดินทางกลับไปแล้วจะต้องแยกกักตัวที่จะต้องทำ100 เปอร์เซ็นต์ 

“ข้อเสนอศบค.ชุดใหญ่ในวันที่ 9 ก.ค.อาจจะมีข้อจำกัดและข้อติดขัดอาจทำให้ประชาชนหลายส่วนไม่ได้รับความสะดวก ศบค.ต้องขออภัยด้วย เพราะการปรับมาตรการที่เข้มข้นขึ้น อาจมีความจำเป็นต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนสถานประกอบการและประชาชน เน้นย้ำว่าถ้าเรามีความอดทนในวันนี้ที่สุดเราจะต้องชนะไปด้วยกัน”พญ.อภิสมัย  กล่าวว่า.

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผอ.ศบค.ไม่ได้นิ่งนอนใจการปรากฏภาพมีประชาชนไปรอตรวจ โควิด-19 และวันเดียวกันนี้มีการหารือถือเป็นมาตรการเร่งด่วน จะมีการเร่งเปิดจุดตรวจหาเชื้อให้ประชาชนเข้าถึงได้มากที่สุด โดยในวันที่ 12 ก.ค.นี้จะมีรถตรวจพระราชทานประจำ ที่สนามกีฬาธูปะเตมีย์ และหัวมาก และที่เปิดได้แล้วในวันเดียวกันนี้ คือจุดตรวจของกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 33 โดยพล.อ.ณัฐพลนาคพาณิชย์ เลขาฯ สมช. ในฐานะผอ.ศปก.ศบค.ได้หารือกับรมว.แรงงาน เห็นชอบเปิดจุดตรวจประกันสังคม ที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ ไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ซึ่งจะมีการเปิดตรวจได้ในวันที่ 9 ก.ค.นี้ ถ้าพบติดเชื้อต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา หากไม่พบการติดเชื้อ ต้องมีการระดมฉีดวัคซีน ซึ่งการเปิดวอล์คอินให้ประชาชนตรวจเชื้อโควิด-19 โดยกรุงเทพฯและปริมณฑลและยังมีมาตรฐานการคัดกรองเชิงรุกอยู่

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า โดยมีการเปิด 6 จุดตรวจประจำตามเขตในกรุงเทพฯ และที่ประชุมยังมีการหารือแล็บตรวจของเอกชน โดยทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะไปตรวจสอบมาตรฐานถ้าเป็นแล็บที่มีการจดทะเบียน ผ่านมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์ จะเปิดให้ประชาชนเข้าไปตรวจได้ ซึ่งเมื่อเรามีการเปิดระดมตรวจมากขึ้น จะมีการพบผู้ป่วยมากขึ้นและตัวเลขจะเพิ่มสูงครึ่งในระยะนี้ ทั้งนี้ กทม.มีรายงาน 121 คลัสเตอร์ที่จะต้องเฝ้าระวัง ส่วนคลัสเตอร์ใหม่จ.เพชรบุรี ที่เขาย้อย บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ พบคลัสเตอร์ใหม่ 15 ราย และ จ.สระบุรี อำเภอแก่งคอย ที่ตลาดล้ง พบคลัสเตอร์ใหม่ 14 ราย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img