วันอังคาร, เมษายน 23, 2024
หน้าแรกHighlight‘สถาบันวัคซีน’ขอโทษจัดหาวัคซีนล่าช้า เดินหน้าหา‘วัคซีนรุ่น2’สู้‘เชื้อกลายพันธุ์’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สถาบันวัคซีน’ขอโทษจัดหาวัคซีนล่าช้า เดินหน้าหา‘วัคซีนรุ่น2’สู้‘เชื้อกลายพันธุ์’

“ผอ.สถาบันวัคซีน” ขอโทษปชช. จัดหาวัคซีนปี 64 ล่าช้า-ไม่เพียงพอ หลังต้องเผชิญกลับเชื้อกลายพันธุ์ที่คาดหมายล่วงหน้าไม่ได้ วางแผนจัดหา “วัคซีนรุ่น 2” สู้กับเชื้อกลายพันธุ์ เป้าหมายนำเข้าไตรมาสแรกปีหน้า พร้อมคุย “กาวี” ร่วมหาวัคซีนผ่านโครงการโคแวคเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 21 ก.ค.64 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวในการแถลงข่าวเรื่อง “การจัดหาวัคซีนโควิด 19” ว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติ พยายามติดต่อประสานงานกับผู้ผลิตวัคซีน ทั้งที่ผลิตวัคซีนออกมาแล้ว และวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัย ตั้งแต่ช่วงเดือนส.ค. 2563 โดยพยายามหาช่องทางการจองซื้อล่วงหน้า แม้จะอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย จนกระทั่งมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามมาตรา 18 (4) ของพ.ร.บ.ความมั่นคงทางวัคซีน ให้สถาบันวัคซีนฯสามารถจองวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยได้ จึงทำให้สามารถจองวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าได้รวมทั้งสิ้น 61 ล้านโดส

นพ.นคร กล่าวว่า ก่อนการลงนามในส่วนใด จะมีการส่งปรึกษาหารือหน่วยงานด้านกฎหมายของประเทศ ทุกอย่างในการดำเนินงานของภาครัฐ จำเป็นต้องมีระบบระเบียบ จำเป็นต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เป็นที่มาที่ทำให้เกิดความรับรู้ว่า การจัดหาวัคซีนของเรา อาจจะไม่ทันตามจำนวนที่คิดว่าควรจะเป็นได้ ทั้งหมดเป็นเรื่องของข้อจำกัดที่มี ต้องกราบขออภัยพี่น้องประชาชน ที่ทางสถาบันวัคซีนฯแม้ว่าจะได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังจัดหาวัคซีนได้ในจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ที่เราไม่คาดคิด ในการระบาดโควิด-19 และการกลายพันธุ์ที่เราไม่สามารถคาดหมายได้ล่วงหน้า รวดเร็วกว่าช่วงปีที่แล้ว ต้องขอกราบอภัยอีกครั้ง

ระยะต่อจากนี้ ได้พยายามจัดหาวัคซีนสำหรับปีนี้ และปี 2565 เพิ่มเติม โดยในปี 2565 จะมีการจัดหาจำนวน 120 ล้านโดส โดยจะพิจารณาดำเนินการกับผู้ผลิตวัคซีนที่มีการดำเนินการผลิตวัคซีนรุ่น 2 ที่ตอบสนองต่อไวรัสกลายพันธุ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีการส่งมอบได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เราจะต้องเร่งดำเนินการเพราะไม่สามารถจะรอเวลาได้จำเป็นต้องจองวัคซีนล่วงหน้า ทั้งนี้ ภายใต้การจัดหาวัคซีน เราก็ยังมีการพูดคุยเรื่องการเข้าโครงการโคแวก (COVAX) อยู่ระหว่างพูดคุยกับหน่วยงาน “กาวี” (Gavi) เพื่อที่จะเจรจาการจัดหาวัคซีนร่วมกับโคแวค โดยมีเป้าหมายการได้รับวัคซีนปี 65 เพิ่มเติมจากการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนโดยลำพัง ทั้งนี้หากมีข้อสรุปเบื้องต้นชัดเจนก็จะนำเสนอผ่านคณะทำงาน คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องต่อไป”ผอ.สถาบันวัคซีนฯ กล่าวและว่า รวมถึงยังให้การสนับสนุนการวิจัยภายในประเทศเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการหาเทคโนโลยีเพื่อมาทำความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีก็จะมีการแสวงหาความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนในต่างประเทศที่ประสงค์จะขยายกำลังการผลิตในการผลิตวัคซีนในแบบฟอร์มอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อตาย ชนิดไวรัลเวกเตอร์ หรือ “โปรตีนซับยูนิต” ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมดำเนินการประสานงานที่จะดูทิศทางการดำเนินงานต่างประเทศ

สำหรับการพัฒนาวัคซีนในประเทศไม่ว่าจะเป็น mRNA ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วัคซีนขององค์การเภสัชกรรม, วัคซีนของบริษัท ไบโอเนท เอเชีย, วัคซีนของบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ทั้ง 4 บริษัทมีความก้าวหน้าในการวิจัยพัฒนา ขณะนี้รับทราบข่าวว่าวัคซีนขององค์การเภสัชกรรมเริ่มทำการทดสอบในคนไปแล้ว รวมถึงวัคซีน mRNA ของจุฬาฯ ก็มีการทดสอบในคนแล้วเช่นกัน ระหว่างการรอผลส่วนนี้เราก็จะสนับสนุนการวิจัยวัคซีนในประเทศอย่างเต็มที่รวมทั้งการวิจัยพัฒนาความรู้อื่นๆเพื่อจะมาสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ในประเทศต่อไปข้างหน้า

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img