วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกHighlightระบบสาธารณสุขมาถึง“จุดเปราะบาง” ระบาดเช่นนี้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ระบบสาธารณสุขมาถึง“จุดเปราะบาง” ระบาดเช่นนี้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ได้

“หมอธีระ” ชำแหละยับ ระบบสาธารณสุขไทยมาถึงจุดเปราะบาง วิกฤติมากจริงๆ ชี้หากยังระบาดรุนแรงเช่นนี้ ไม่มีทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย ต้องหยุดนโยบายเปิดประเทศ-เปิดเกาะ แล้ว “ล็อคดาวน์ทั้งประเทศ” เต็มรูปแบบ 4 สัปดาห์ ปูพรมตรวจ เพื่อตัดวงจรระบาดให้ได้ ย้ำวัคซีนหวังผลระยะสั้นไม่ได้

เมื่อวันที่ 24 ก.ค.64 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่า สถานการณ์ทั่วโลก 24 กรกฎาคม 2564…ปากีสถานมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเกิน 1 ล้านคนแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 498,050 คน รวมแล้วตอนนี้ 193,875,538 คน ตายเพิ่มอีก 6,902 คน ยอดตายรวม 4,157,936 คน, 5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ อเมริกา อินโดนีเซีย อินเดีย สหราชอาณาจักร และสเปน, อเมริกา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 60,583 คน รวม 35,276,255 คน ตายเพิ่ม 404 คน ยอดเสียชีวิตรวม 626,620 คน อัตราตาย 1.8%, อินเดีย ติดเพิ่ม 39,441 คน รวม 31,331,145 คน ตายเพิ่ม 536 คน ยอดเสียชีวิตรวม 420,038 คน อัตราตาย 1.3%, บราซิล ยังไม่มีรายงานใหม่ ยอดติดเชื้อรวม 19,524,092 คน ยอดเสียชีวิตรวม 547,134 คน, รัสเซีย ติดเพิ่ม 23,811 คน รวม 6,078,522 คน ตายเพิ่ม 795 คน ยอดเสียชีวิตรวม 152,296 คน อัตราตาย 2.5%, ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 19,561 คน ยอดรวม 5,953,071 คน ตายเพิ่ม 26 คน ยอดเสียชีวิตรวม 111,591 คน อัตราตาย 1.9%

อันดับ 6-10 เป็น สหราชอาณาจักร ตุรกี อาร์เจนติน่า โคลอมเบีย และอิตาลี ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่น, สเปนกำลังจะแซงอิตาลีขึ้นมาเป็นอันดับ 10 ในอีก 1-2 วัน, แถบอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย หลายต่อหลายประเทศติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชีย และยุโรปที่ทวีความรุนแรงขึ้น, ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม ล้วนติดหลักพันอย่างต่อเนื่อง, แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลักร้อยถึงหลักพัน, แถบตะวันออกกลางส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน ยกเว้นอิหร่านติดเพิ่มหลักหมื่น, กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน นิวซีแลนด์ และไต้หวัน ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกงติดน้อยกว่าสิบ

…ภาพรวมทั่วโลก หากพิจารณาจากข้อมูลการติดเชื้อที่มีรายงานใน Worldometer เช้านี้ จาก 121 ประเทศที่มีข้อมูลรายงานมา พบว่า มีประเทศที่ติดเชื้อรายวันหลักหมื่นอยู่ 15 ประเทศ โดยไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มนี้ ยอดติดเชื้อเมื่อวานสูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ประเทศที่ติดเชื้อรายวันหลักพัน 32 ประเทศ หลักร้อย 37 ประเทศ หลักสิบ 29 ประเทศ และต่ำกว่าสิบ 8 ประเทศ

สถานการณ์ของไทยเรานั้น จำนวนการติดเชื้อแต่ละวันมีสูงกว่าจำนวนการหายป่วยอย่างมาก เห็นได้ชัดตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของมิถุนายนเป็นต้นมา ลักษณะเช่นนี้หากดูจากบทเรียนของต่างประเทศ เช่น อิหร่าน รัสเซีย อินเดีย จะเป็นสัญญาณเตือนให้ต้องระวังว่า จำนวนการเสียชีวิตต่อวันจะมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะประสิทธิภาพในการดูแลรักษาของระบบสุขภาพจะถดถอยลงตามลำดับ

จากข้อมูลดังกล่าว หากเหลียวมองสถานการณ์จริงในไทย ก็จะพบว่ามีการปิดแผนกของโรงพยาบาลต่างๆ จำนวนมาก รวมถึงการขาดแคลนทั้งบุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ป้องกัน เครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ เตียงผู้ป่วยล้น ตลอดจนการออกประกาศจากหลายหน่วยงานเพื่อรับจิตอาสาไปช่วยดูแลผู้ติดเชื้อตามที่ต่างๆ และล่าสุดเริ่มมีการออกประกาศเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยสำหรับผู้ที่ยังพอมีหวัง แม้จะเป็นเพียงแนวทาง แต่ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนว่าระบบสาธารณสุขของไทยมาถึงจุดที่เปราะบางและวิกฤติมากแล้วจริงๆ ไม่มีทางที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ หากการระบาดรุนแรงเช่นนี้

ภาวะเช่นนี้ไม่ใช่ชีวิตแบบนววิถี หรือสมดุลชีวิตใหม่ที่ทุกคนต้องการ คงต้องหยุดนโยบายเปิดเกาะ เปิดประเทศครับ ยกระดับมาตรการเป็น Full national lockdown 4 สัปดาห์ พร้อมปูพรมตรวจอย่างครอบคลุม เพื่อตัดวงจรการระบาดให้ได้ เพราะที่ผ่านมานั้นเราได้เห็นแล้วว่าเกิดความสูญเสียมากมาย ทั้งติดเชื้อ เสียชีวิตจากติดเชื้อ เสียชีวิตเพราะฆ่าตัวตายจากความสิ้นหวังหมดหวังทั้งจากรอตรวจ รอรักษา และผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่มาจากมาตรการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการจัดการการระบาดที่รุนแรงได้

วัคซีนยังไม่สามารถหวังผลได้ในระยะสั้น และไม่ทันต่อสถานการณ์การระบาด ขอให้เราทุกคนป้องกันตัวเองและครอบครัว อย่าให้ติดเชื้อ ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า สำคัญมาก ด้วยรักและห่วงใย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img