วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกHighlightผลวิจัยฉีดวัคซีน Vaxzevria ของ AZ เข็มแรกลดป่วยจาก“เดลต้า”ได้ 87%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ผลวิจัยฉีดวัคซีน Vaxzevria ของ AZ เข็มแรกลดป่วยจาก“เดลต้า”ได้ 87%

“แอสตร้าฯ” เปิดผลวิจัยในแคนาดา ฉีดวัคซีน Vaxzevria เข็มแรกลดป่วยนอนรพ.-เสียชีวิตจากสายพันธุ์เบตา-แกมมาได้ 82% ส่วนสายพันธุ์เดลต้าช่วยได้ถึง 87% คาดประสิทธิภาพจะดีขึ้นเมื่อได้รับเข็ม 2 แล้ว

เมื่อวันที่ 5 ส.ค.64 ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท แอสตร้าเซนเนก้าได้ออกเอกสาร ระบุว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 “Vaxzevria” ของแอสตร้าเซนเนก้า จำนวนหนึ่งโดสมีประสิทธิภาพสูงในการลดความรุนแรงและการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์เบต้าและเดลต้า โดยมีข้อมูลการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19ในแคนาดา เครือข่ายการวิจัยการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของแคนาดา (Canadian Immunization Research Network – CIRN) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขของแคนาดาและสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติแคนาดา ซึ่งเผยแพร่ในวารสารฉบับก่อนตีพิมพ์ แสดงประสิทธิผลของวัคซีนหลังจากฉีดเข็มแรก ช่วยลดการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและป้องกันการเสียชีวิตที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เบต้า/แกมม่าได้ 82% และเดลต้าได้ 87% และสายพันธุ์อัลฟา 90%

ทั้งนี้ ผลการทดสอบประสิทธิผลของวัคซีน Vaxzevria หลังการฉีดเข็มแรก เพื่อป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตนั้น มีระดับตัวเลขที่ไม่แตกต่างกับวัคซีนอื่นๆ ที่นำมาทดสอบในการวิจัยครั้งนี้ โดยระยะเวลาในการติดตามผล ยังไม่เพียงพอที่จะรายงานประสิทธิภาพของ Vaxzevria หลังการฉีดเข็มที่ 2 แต่มีงานวิจัยอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ตามคำแนะนำในการเว้นระยะเวลา ระหว่างการฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่ 2 อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีว่าประสิทธิภาพของวัคซีนจะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับเข็มที่สอง 2 แล้ว

ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันอาการป่วยที่ไม่รุนแรงนั้น ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพในการป้องกันโรครุนแรง โดยประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ ไม่ว่าในระดับใดจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์เบต้า/แกมม่าอยู่ที่ประมาณ 50% และ 70% และ 72% สำหรับสายพันธุ์เดลต้าและอัลฟ่า ตามลำดับ ทั้งนี้ การทดลองในเฟสที่ 1 และ 2 ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยวิทวอเตอร์สแรนด์ ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมานั้น แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่จำกัดในการป้องกันอาการที่ไม่รุนแรงในขั้นต้นที่เกิดจากสายพันธุ์เบต้า โดยการทดลองยังไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันอาการที่รุนแรงได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว มีสุขภาพดี และมีอาการของโรคไม่รุนแรงเท่านั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img