วันพุธ, เมษายน 24, 2024
หน้าแรกHighlight4หน่วยงานแจงจัดหา’’ชุด ATK ‘’มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

4หน่วยงานแจงจัดหา’’ชุด ATK ‘’มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน

สปสช.ยันไม่มีอำนาจจัดซื้อชุด ATK และพร้อมติดตามคุณภาพ  ขณะที่อภ.-มหิดลระบบบตรวจเทียบ ATK ในแล็บกับเชื้อจริง ผลออกตามคุณภาพเทคโนโลยี ไม่มีตัวไหนเทพกว่ากัน

เมื่อวันที่ 16 ส.ค.64 นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. แถลงการบริหารจัดการชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท (ATK) ว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ค.64  คณะกรรมการสปสช. มีมติให้ จัดหา ATK 8.5 ล้านชุด เพื่อแจกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ตรวจเชื้อด้วยตนเอง แต่เนื่องจาก สปสช.ไม่มีอำนาจจัดหา ATK เอง เนื่องจากคำสั่ง คสช. ปี 2560 กำหนดว่า สปสช.ไม่มีอำนาจ จึงให้รพ.ราชวิถี และองค์การเภสัชกรรม (อภ. )จึงเป็นหน่วยงานจัดหายาและเวชภัณฑ์  

ซึ่งทางรพ.ราชวิถี และอภ.ได้พิจารณาตามบทบาทหน้าที่ของ 2 หน่วยงาน ทั้งการกำหนดคุณสมบัติ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้ได้ของมาเพื่อใช้กับประชาชน ซึ่งขณะนี้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานบอร์ดอภ.ได้ให้ตรวจสอบในข้อสงสัยเรื่องคุณภาพผลิตภัณฑ์แล้ว เมื่อผ่าน สปสช.มีความยินดีใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขณะเดียวกันสปสช.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ติดตามคุณภาพหลังการใช้ด้วย 

ด้านนางศิรินุช ชีวันพิศาลนุกูล รองผอ.อภ. ชี้แจงขั้นตอนการจัดซื้อว่ อภ.ได้รับมอบหมายในการจัดหา ATK ซึ่งจะมี 3 กระบวนการ คือ 1.ก่อนจัดซื้อ 2.จัดซื้อ และ 3.ตรวจรับและส่งมอบ ทั้งนี้ ในขั้นตอนก่อนการจัดซื้อจะต้องมีข้อกำหนดและแผนความต้องการจากสปสช. โดยเสนอผ่านรพ.ราชวิถี แล้วส่งต่อมาที่อภ.อีกครั้งหนึ่ง โดยแนบข้อกำหนด (TOR) จากสปสช. หรือข้อกำหนดที่ดำเนินการร่วมกัน

ขณะที่ รศ.นพ.มงคล คุณากร หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รามาฯ เป็น 1 ใน 3 ห้องแลปที่ทำการตรวจประเมินคุณภาพชุดตรวจ ATK ที่มาขึ้นทะเบียนในไทย ซึ่งมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพ โดยใช้ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยที่มาตรวจ PCR วันละหลายพันตัวอย่าง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกำหนดว่าให้มีตัวอย่างที่มีปริมาณเชื้อไวรัสมากน้อย ต่างกันมาใช้ประเมิน และตั้งเกณฑ์ความไวของชุดตรวจที่จะสามารถขึ้นทะเบียนใช้ได้ต้องให้ผลบวก 90% ของตัวอย่างทั้งหมดที่ใช้ตรวจ

ทั้งนี้ ตามเทคโนโลยีของการตรวจ ATK จะเป็นการตรวจโปรตีนของไวรัสที่อยู่ในโพรงจมูก หรือลำคอผู้ป่วย ขึ้นกับว่าในโพรงจมูกผู้ป่วยมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน หากมีปริมาณมากก็สามารถตรวจเจอได้ แต่ถ้าเทียบกับการตรวจ PCR ที่ใช้ตรวจสารพันธุกรรม แม้เชื้อไวรัสปริมาณน้อยก็ตรวจเจอ แต่พอเป็น ATK เนื่องจากตามเทคโนโลยี เป็นการตรวจโปรตีนไวรัส จึงต้องมีไวรัสปริมาณมากๆ ถึงจะตรวจเจอ

 รศ.นพ.มงคล กล่าวต่อว่า อีกอย่างหนึ่งที่อย. เข้มข้นมาก คือเกณฑ์ความจำเพาะหรือผลบวกเทียม เนื่องจากเราไม่อยากให้มีผลบวกเทียมเลย เพียงแต่ตามข้อจำกัดของ เทคโนโลยีที่ความไวน้อยกว่า PCR ดังนั้น ATK จึงนำมาใช้ในคนมีอาการสงสัยว่าจะติดโควิด ซึ่งเมื่อมีอาการถ้าตรวจออกมาเป็นลบก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะอาจจะเป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยี หรือการสุ่มตัวอย่าง หรือการแยงจมูกแล้วไม่เจอเชื้อก็เป็นไปได้ เพราะมันไม่ได้มีทุกที่ จึงต้องมีการตรวจซ้ำ

ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อชุดตรวจจำนวนมากให้มีราคาถูกลง เพื่อประชาชนเมื่อตรวจแล้วได้เป็นลบ แต่ยังเป็นผู้เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อยังสามารถตรวจซ้ำได้ในครั้งถัดไป ทั้งนี้ในต่างประเทศ เช่น ยุโรปนั้น  ATK ราคาถูกมาก ประชาชนซื้อหลายอัน บางประเทศแจกประชาชนหลายชิ้นต่อ 1 คน เพื่อที่เวลาผลตรวจเป็นลบจะได้ตรวจซ้ำได้  ดังนั้นขอให้ประชาชนมั่นใจในคุณภาพชุดตรวจที่ผ่านการประเมินการขึ้นทะเบียนของอย. ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์อย.ว่ามียี่ห้อใดบ้าง   

ด้าน นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัด สธ. ยืนยันว่า สำนักปลัด สธ.ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหา ATK 8.5 ล้านชุดตามโครงการของ สปสช.แต่สำนักงาน ปลัด สธ.เพียงแต่ได้รับการประสานและร้องขอจาก สปสช.ในเรื่องการกระจายไปสู่ประชาชนในภูมิภาคต่างๆเนื่องจากกระทรวง สธ.มีหน่วยงานในภูมิภาคต่างๆหมื่นกว่าแห่ง เพื่อนำ ATK เหล่านี้กระจายไปยังประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด รวมถึงวางแผนในการรับรองผู้ตรวจ ATK มีผลเป็นบวกแล้วสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาและร่วมกับ สปสช.ในการประเมินคุณภาพชุดตรวจต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img