วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
หน้าแรกHighlightเผยสูตรฉีดวัคซีนไขว้ “SV+AZ” กระตุ้นภูมิสูง สู้“เดลต้า”ได้ดี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เผยสูตรฉีดวัคซีนไขว้ “SV+AZ” กระตุ้นภูมิสูง สู้“เดลต้า”ได้ดี

“กรมวิทย์” เปิดผลวิเคราะห์สูตรการฉีดวัคซีน ซิโนแวค+แอสตร้า กระตุ้นภูมิสูง สู้เดลต้าได้ดี ส่วนผลการฉีดบู๊สเตอร์โดยเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าฯ กระตุ้นภูมิสูงขึ้นมาก   

 

เมื่อวันที่ 19 ส.ค.64 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวผ่านระบบออนไลน์เรื่อง “ผลการศึกษาภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนตามสูตรการฉีดวัคซีนในประเทศไทย” กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยได้มีการฉีดวัคซีนสูตรสลับซิโนแวคเข็มที่ 1 และตามด้วยแอสตร้าเซเนกาเป็นเข็มที่ 2 ระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ โดยเก็บตัวอย่างจากผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนที่สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 125 ราย วัดผลในภาพรวมโดยไม่ได้เจาะจงต่อสายพันธุ์โควิด 19 (Quantitative Anti-S RBD)

พบว่าการฉีดสลับชนิดวัคซีนทำให้ขึ้นไปถึงเฉลี่ย 716 ไตเติล แต่ขึ้นได้ตั้งแต่ 399-1,127 ไตเติล  แต่ละคนภูมิขึ้นไม่เท่ากันด้วยความที่มีปัจจัยต่างกัน แต่สูงกว่าการฉีดซิโนแวค 2 เข็มประมาณ 6-7 เท่า และสูงกว่าแอสตร้าฯ 2 เข็มประมาณ 3 เท่าเศษๆ ส่วนการฉีดวัคซีนบู๊สเตอร์ด้วยแอสตร้าฯ ในบุคลากรทางการแพทย์ก็พบว่ามีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมาก 1.7 พันไตเติล หรือเพิ่ม 10 เท่า ดังนั้นยืนยันให้ความมั่นใจกับประชาชนว่าภูมิที่ขึ้นมานั้นมีมากพอที่จะปกป้องเชื้อกลายพันธุ์ขณะนี้ที่เราต้องการภูมิคุ้มกันระดับสูง ส่วนคนที่ Booster ด้วยไฟเซอร์นั้นยังไม่มีรายงานแต่คงจะต้องการตรวจสอบเพิ่มเติม ส่วนผลข้างเคียงมีไข้ 66% ปวดศีรษะ 33% อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ง่วงซึม 28% ใกล้เคียงกับการฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ถือว่ามีความปลอดภัย 

นอกจากนี้ ยังมีนำตัวอย่างเลือดของผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าจริงๆ จากรพ.ศิริราช ทั้งประชาชนทั่วไป และบุคลากรการแพทย์ มาทำให้เกิดการเจือจางหลายระดับ เจือจางมากสุดคือ 50% และนำมาจับกับวัคซีนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย พบว่าคนที่ฉีดฉีดซิโนแวค 2 เข็มตามสูตรเดิมค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้น ประมาณ 24.31 แสดงว่ายังใช้ได้ในการกำจัดเชื้อไวรัสในหลอดทดลอง ส่วนสูตรสลับแอสตร้าฯ เข็มแรก และตามด้วยซิโนแวค เข็ม 2 ซึ่งสูตรนี้อาจจะเกิดจากคนที่แพ้แอสตร้าฯ เข็มที่ 1 เลยต้องฉีดซิโนแวคเข็ม 2 พบว่าค่าเฉลี่ยขึ้นมา 25.83 ดังนั้นการสลับสูตรแบบนี้ไม่ค่อยมีความหมายอะไร

สำหรับสูตรปกติที่ฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็ม ค่าเฉลี่ยขึ้นไป 76.52 สามารถสู้กับเชื้อเดลต้า ได้ขณะที่การสลับสูตรฉีดซิโนแวคเข็ม 1 และตามด้วยแอสตร้าฯ เข็ม 2 ซึ่งเป็นสูตรที่เราใช้อยู่ขณะนี้พบว่าค่าเฉลี่ยขึ้นไป 78.65 แปลว่าสูสีหรือเหนือกว่าการฉีด แอสตร้าฯ 2 เข็ม ดังนั้นสูตรนี้สามารถภูมิขึ้นสูงในระดับดีสู้กับเดลต้าที่เป็นสายหลักที่ระบาดในประเทศไทยตอนนี้ ข้อดีของการฉีดสูตรนี้ใช้เวลาห่างกัน 2 เข็มนี้แค่ 3 สัปดาห์และนับต่อไปอีก 2 สัปดาห์หลังเข็มสุดท้ายภูมิก็จะขึ้นสูง จึงมีประโยชน์ในแง่ของภูมิขึ้นสูงและขึ้นได้เร็ว

สำหรับการฉีดวัคซีนบู๊สเตอร์โดส ในคนที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้วนั้น มีการทดลอง 2 ส่วนก็คือบู๊สด้วย วัคซีนซิโนฟาร์มแต่จำนวนอาสาสมัครมีเพียง 14 คนจึงเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างจำกัด ผลพบว่าภูมิขึ้นมาเป็น 61.26 ถือว่าขึ้นมาพอสมควรแต่ไม่มากเท่าไหร่ อาจเพราะเป็นวัคซีนเชื้อตายแบบเดียวกัน ส่วนการฉีดบู๊สด้วยแอสตร้าฯ พบว่าภูมิสูงถึง 271.17 สู้กับสายพันธุ์เดลตาได้ดีมาก ขอให้บุคลากรทางการแพทย์ที่บู๊สด้วยแอสตร้าฯ มั่นใจว่าขณะนี้ภูมิฯ ในร่างกายท่านสามารถสู้กับเดลตาได้ดีทีเดียว

“โดยสรุป 1.ที่ฉีดสลับสูตรเข็มแรกซิโนแวค เข็ม 2 เป็นแอสตร้าฯ จะให้ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเดลต้าดีพอๆกับการฉีดแอสตร้าฯ  2 เข็ม แต่ใช้เวลาสั้นลง 2.ทั้งนี้ไม่แนะนำให้สลับการฉีดแบบแอสตร้าเข็มแรก และตามด้วยซิโนแวคเข็ม 3. การฉีดกระตุ้นด้วยแอสตร้าฯสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมากกับสายพันธุ์เดลตา และ 4. การกระตุ้นด้วยสิโนฟาร์ม ภูมิขึ้นสูงแต่ยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับการกระตุ้นด้วยวัคซีนที่ต่างชนิด อย่างไรก็ตามจำนวนตัวอย่างมีแค่ 14 รายจึงอาจจะต้องมีการเพิ่มจำนวนขึ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น” นพ.ศุภกิจ กล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าภูมิที่ขึ้นนั้นจะอยู่ในร่างกายได้นานเพียงใด ต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม รวมถึงการฉีดกระตุ้นด้วยไฟเซอร์ ที่เพิ่งกระจายไปฉีด ต้องรอการศึกษาต่อ เช่นเดียวต่อการป้องกันสายพันธุ์เบตา ตอนนี้ยังจำกัดวงที่ภาคใต้ ผลที่ได้จากตัวอย่างยังไม่มากพอที่จะสรุปได้ ต้องรอเก็บตัวอย่างเพิ่ม.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img