วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกNEWS“สธ.”ยันจุดยืนใช้กัญชาทางการแพทย์เท่านั้น เตรียมพร้อมรับผลกระทบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.”ยันจุดยืนใช้กัญชาทางการแพทย์เท่านั้น เตรียมพร้อมรับผลกระทบ

กรมการแพทย์ฯยันจุดยืนใช้กัญชาทางการแพทย์เท่านั้น ไม่สนับสนุนใช้ในเด็ก-หญิงตั้งครรภ์-คนอบครัวจิตเวช เตือนห้ามขับรถ พร้อมตั้งรับ ระวังผลกระทบ 2 ด้าน ‘เฉียบพลัน-การเสพติด’ เผย ข้อมูลผลกระทบ อีสานพบมากสุด

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.65  ที่กรมการแพทย์ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงยืนยันกรมการแพทย์มีจุดยืนว่าสนับสนุนให้มีการใช้กัญชาทางการแพทย์ซึ่งเราก็แถลงจุดยืนมาตลอด และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข มอบให้กรมการแพทย์ทบทวนเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งศึกษาวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งท่านก็สั่งการและยืนยันเช่นนี้มาตลอด

ทั้งนี้ การใช้ทางการแพทย์ ทั้งแผนไทยและแผนปัจจุบันทางการแพทย์แผนปัจจุบันมี 2 + 1 ตัว ที่บรรจุในบัญชีหลักแห่งชาติ คือ 1. ยาที่มีสัดส่วน THC ต่อ CBD 1:1  สำหรับการรักษาผู้ป่วยระยะประคับประคอง 2. ยารักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากการให้เคมีบำบัด แต่ยืนยันว่ายาทั้ง 2 ตัวนี้ไม่ใช่ยารักษาที่เป็นทางเลือกแรก แต่ใช้ยารักษาที่มีแล้วไม่ได้ผล และ 3. ยา CBD เด่น ที่ใช้ในรักษาโรคกรณีลมชักในเด็ก และมีระบบติดตามเฝ้าระวัง ส่วนกรณีอื่นที่จะเกี่ยวกับการแพทย์ เช่น เวชสำอางค์ สถาบันโรคผิวหนังก็มีการเอาไปใช้เป็นเวชสำอาง

cr / สำนักงานสารนิเทศ สธ.

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าเราไม่อยากให้ใช้กรณีของเรายืนยันว่าเราไม่อยากให้ใช้ในเด็กต่ำกว่า 20 ปี ไม่ใช้สันทนาการ ปวดหัวนอนไม่หลับก็ให้ไปคุยกับแพทย์แผนไทย แต่ในปัจจุบัน แนะนำให้กินยาพาราเซตามอล จริงๆ คำ แนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ กัญชาทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของกรมการแพทย์มีการศึกษาและแนะนำขอให้ใช้ในกลุ่มที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปด้วยซ้ำ เพื่อความปลอดภัย ที่เราไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กเพราะกัญชามีผลต่อสมอง ระบบประสาท  โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนมีผลต่อพัฒนาการ ทางสมองและการเรียนรู้เพราะฉะนั้นจึงต้องขอความร่วมมือทางโรงเรียนครูอาจารย์ พ่อแม่ผู้ปกครองทุกภาคส่วน ต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ขณะที่กรมการแพทย์มีระบบในการติดตามเฝ้าระวังการใช้กัญชา ในภาพรวมทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลการศึกษาต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ขอให้งดใช้ในครอบครัวที่มีผู้ป่วยจิตเวช และหญิงตั้งครรภ์

กรณีมีข้อห่วงใยเรื่องการใช้กัญชาขับรถเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทางกรมการแพทย์ได้มีการหารือร่วมกับกรมควบคุมโรค ในการติดตามข้อมูลนี้เพื่อเสนอให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้สำหรับการควบคุมการใช้กัญชาขณะขับขี่ โดยในอนาคตอาจจะมีการบรรจุเป็นข้อกำหนดในการประเมินสมรรถนะ ของผู้ขับขี่เหมือนกรณีการเป็นโรคลมชักห้ามขับรถ ทั้งนี้ ย้ำว่า เมื่อมีการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาขอให้งดขับรถ งดใช้เครื่องจักรภายใน 6 ชั่วโมง

“ผลดีก็มี ผลเสียก็มี มีทั้งพิษเฉียบพลันคือ เกิดการเสพติดและอุบัติเหตุจราจรซึ่งมีรายงานเกิดขึ้นในต่างประเทศแล้ว เพราะฉะนั้น ยืนยันว่าเราใช้เฉพาะทางการแพทย์ ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น วันนี้ขอเตือนว่าในตลาดมืดมันน่ากลัว เพราะมีการผลิตพี่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งข้างล่างที่เราเฝ้าระวังกันอยู่ ขณะนี้เรามีการเตรียมบุคลากร และสถานพยาบาลรองรับภาวะแทรกซ้อน ซึ่งจะมีการหารือในที่ประชุมประจำเดือนของกรมการแพทย์ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ เราจะมีการติดตามผลดี ผลเสีย บางคนผลข้างเคียงชัดเจน ซึ่งอาการข้างเคียงทีาฝ่พบคือคอแห้ง ใจสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวลเพิ่มเติมก็มี ตอนนี้ สบชส. ทำ ไลน์ “ห่วงใย” สายด่วน 1665 และออกคำแนะนำความเสี่ยงจากการใช้กัญชา”

ด้าน นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ทางกรมจะมีการดูแลเฝ้าระวังอยู่ใน 2 ส่วน 1 กรณีพิษเฉียบพลันซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดเหตุในห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาจะมีอาการทางระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด อาการที่พบคือความดันโลหิตสูงใจสั่น ใจเต้นแรงวิงเวียนศีรษะ แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิต ยกเว้นไปขับขี่แล้วเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งมีรายงานแล้วในต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทยยังไม่ได้มีการรวบรวมในส่วนนี้ 2. การเฝ้าระวังการ ใช้ในครัวเรือนและการเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่พบเป็นการใช้ไม่ถูกวิธีโดยใช้เพื่อการสูบสันทนาการ โดยประสานกับโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ให้เฝ้าระวังเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

“ทั้งนี้หลังมีการปลดล็อคกัญชาออกจากยาเสพติดเราก็มีการประเมินว่าในส่วนของผู้ที่มีความตั้งใจในการใช้ทางการแพทย์นั้นมีความรู้ความเข้าใจดี แต่ที่หน้ากังวลก็คือกลุ่มที่เอาไปใช้สันทนาการซึ่งขอยืนยันว่าเราไม่แนะนำ” นพ.มานัส กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ปัญหาผลข้างเคียงที่เกิดจากกัญชา พบมากในพื้นที่ใด นพ.มานัส กล่าวว่าจากการเก็บข้อมูลที่รายงานเข้ามาในโรงพยาบาลทั่วประเทศผู้ที่ได้รับผลข้างเคียง จากกัญชาส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีผลิตภัณฑ์กัญชาจำนวนมาก.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img