วันพุธ, เมษายน 24, 2024
หน้าแรกNEWS“ปลอดประสพ”แนะ“บิ๊กตู่” ทำเขื่อนดินแบบเนเธอร์แลนด์ช่วยน้ำท่วม“วารินชำราบ”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปลอดประสพ”แนะ“บิ๊กตู่” ทำเขื่อนดินแบบเนเธอร์แลนด์ช่วยน้ำท่วม“วารินชำราบ”

“ปลอดประสพ” ดักทาง “ตู่” ไปอุบลราชธานี อยากให้ตำแหน่งนายกฯ คิดเรื่องใหญ่ที่มีผลระยะยาว ไม่อยากเห็นสักแต่ไปเยี่ยม ไปผูกผ้าขาวม้า โบกมือถ่ายรูป มันไม่ได้อะไร แนะทำเขื่อนดินด้านที่ติดแม่น้ำมูล อ.วารินชำราบ

เมื่อวันที่ 2 ต.ค. ุ65 ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานด้านนโยบายปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ พรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีต ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติคนแรกของประเทศไทย โพสต์ในเฟซบุ๊กว่า ผมอยู่เชียงใหม่ บ้านอยู่ริมแม่น้ำปิง ขณะนี้น้ำกำลังขึ้นและไหลแรง มีสนุ่นไหลผ่าน เป็นพวกกอไผ่กับเศษไม้แห้ง ซึ่งคงจะแปลว่า มีฝนตกบนภูเขาแถวดอยเชียงดาวและดอยผ้าห่มปก และน้ำป่าได้พัดพาเอาเศษไม้โดยเฉพาะไม้ไผ่จากป่าซางลงมา แต่มองดูแล้วไม่มีไม้ใหญ่ แสดงว่า แม้ฝนจะมากแต่คงไม่รุนแรง ระดับน้ำฝนคงไม่เกิน 50 มม.

ปีนี้แปลก นักวิทยาศาสตร์ล้วนเข้าใจดีว่า เกิดจากภาวะโลกร้อน เหตุการณ์จึงไม่ปกติ ปีนี้ร่องฝนอยู่กับเรานานมากและก็น่าจะอยู่ต่อไปอีกหลายอาทิตย์ แถมยังเป็นร่องฝนที่ยาว มองดูเหมือนเข็มขัดหรือสะพานน้ำมัดประเทศไทยไว้ จึงขอเตือนประชาชนและรัฐบาลว่า ฝนฟ้าพายุและน้ำท่วมสำหรับประเทศไทยตอนบนและตอนกลางยังไม่หยุด อย่าชิงเหนื่อยเสียก่อน ทราบว่า นายกฯ ประยุทธ์จะไปอุบลราชธานีวันจันทร์ ซึ่งผมก็ว่าดี เพราะเป็นระยะของการช่วยเหลือ ไม่ใช่ระยะเผชิญเหตุแบบที่คุณอนุพงษ์ไปแล้วเครื่องบินลงไม่ได้ (ซึ่งผมก็เตือนแล้วว่า อย่าไปก็ไม่เชื่อ) จุดสำคัญที่นายกฯ ควรให้ความสำคัญและพิจารณาอย่างเร่งด่วนและรอบคอบด้วยตนเองก็คือ การท่วมที่ อ.วารินชำราบ ผมอยากให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคิดเรื่องใหญ่ๆ และเรื่องที่มีผลระยะยาว ไม่อยากเห็นนายกฯ สักแต่ไปเยี่ยม ไปผูกผ้าขาวม้า ไปโบกมือถ่ายรูป มันไม่ได้อะไร

อ.วารินชำราบ ดั้งเดิมมีลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) เดิมไม่มีคนอยู่ แต่พอ จ.อุบลราชธานี เจริญขึ้น ผู้คนก็ย้ายออกมาจากเมืองมาอยู่บริเวณนี้มากขึ้นจนกลายเป็นเมือง (บาดาล) หน้าฝนทีไรก็จะจมน้ำ ชาวบ้านก็ยกบ้านให้สูงขึ้น แต่ก็ปรากฏว่า น้ำก็สูงขึ้นทุกปี บางจุดน้ำลึก 3-5 เมตร ซึ่งก็หมายความว่า พื้นที่นี้มันไม่ควรจะเป็นที่อยู่อาศัยต่อไปอีกแล้ว

ผมขอแนะนำว่า ถ้าไม่สามารถหาที่ใหม่ย้ายคนออกหรือทำเขื่อนเก็บน้ำ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องก็ไม่น่าจะทำได้ การแก้ไขระยะยาวคงต้องใช้ระบบ Polder แบบประเทศเนเธอร์แลนด์ คือทำเขื่อนดินด้านที่ติดกับแม่น้ำมูล โดยจะต้องเป็นเขื่อนที่มีสันค่อนข้างกว้าง อาจจะถึง 500 เมตรก็เป็นได้ ซึ่งจะทั้งแข็งแรงและมองกลมกลืนกับธรรมชาติ (ญี่ปุ่นตอนนี้ทำแบบนี้แล้ว) จากนั้นก็ติดตั้งปั๊มขนาดใหญ่ที่เพียงพอจะดูดน้ำออกให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ (ไม่ใช่ดูดจนแห้ง) โครงการที่พูดมาทั้งหมดนี้ ผมคิดว่า ไม่เกิน 2 ปีก็สร้างเสร็จ และใช้งบประมาณไม่ควรจะเกิน 5,000 ล้านบาท แล้วจะเป็นโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนได้

ที่ผมให้ความเห็นมาทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดีและเป็นห่วงประชาชนซึ่งก็ยากจนอยู่แล้ว เพราะเจอทั้งโควิดมา 3 ปี แล้วยังมาเจอวิกฤติเศรษฐกิจจนเลวร้ายจนสตางค์แทบจะไม่มีเหลือติดบ้าน ซึ่งผมก็เฝ้าติดตามดูการทำงานของนายกฯ และคณะอยู่ตลอด ก็ดูไม่เห็นมรรคผลอะไร

แต่ผมก็ดีใจว่า ในแวดวงของพรรคเพื่อไทยเขาคิดเรื่องการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างจริงจังมาก ดังเช่นตัวอย่างที่ผมได้เสนอความเห็นต่อนายกฯ ประยุทธ์ ในการเดินทางไปอุบลราชธานีครั้งนี้ สุดท้ายขอเตือนว่า พายุยังไม่หมด และถ้าเกิดขึ้นใหม่ น่าจะลงที่ภาคใต้ ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ลงไป ซึ่งคราวนี้จะเป็นพายุที่มีลมแรงมากด้วย โดยขอให้ข้อสังเกตว่า ถ้าพายุลูกใดเกิดในทะเลจีนตอนใต้ (ไม่ใช่ตอนกลางมหาสมุทรแปซิฟิก) พายุลูกนั้นจะเป็นอันตรายเป็นที่สุด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img