วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกNEWS“สุธรรม”ชี้สังคมสิ้นหวังกับคำว่า“ยุติธรรม” จี้กกต.ควรทำหน้าที่ให้สังคมเชื่อมั่น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สุธรรม”ชี้สังคมสิ้นหวังกับคำว่า“ยุติธรรม” จี้กกต.ควรทำหน้าที่ให้สังคมเชื่อมั่น

“สุธรรม”ชี้สังคมสิ้นหวังกับคำว่า “ยุติธรรม” ระบุคณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง ควรทำหน้าที่ให้สังคมเชื่อมั่นในเรื่องนี้

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.65 นายสุธรรม แสงประทุม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวถึงสถานการณ์การเมืองว่า ขณะนี้ที่มีบรรยากาศอยู่ภายใต้ความคลุมเครือ ความสิ้นหวัง ทั้งที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. ที่ควรทำหน้าที่ตัวเองให้โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนเห็นความหวัง เชื่อมั่นในความยุติธรรม และเดินหน้าประเทศนี้ต่อไปได้อย่างโปร่งใส โดยมี 3 ข้อที่กังวลใจคือ

1.ความคลุมเครือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่แล้ว มีหลายเรื่องที่บิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชนที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่เรื่องการแบ่งเขตการเลือกตั้ง ถึงการตัดสินใจตามอำนาจหน้าที่ ปรากฎว่า พรรคเพื่อไทย ได้ที่นั่งมากที่สุด ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล แต่มีบัตรเขย่งทำให้มีพรรคเล็กได้สนับสนุนรัฐบาลที่มีที่มาจากสมาชิกวุฒิสภา นอกจากนี้ การประกาศผลการเลือกตั้งบางเขตมีปัญหา ในที่สุด คดีให้ใบแดงผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ศาลตัดสินให้ กกต. ต้องใช้หนี้เลือกตั้ง จากความผิดพลาด ดังกล่าว

2.ความยุติธรรม หลังจากการประกาศระเบียบของ กกต. ในเรื่อง 180 วัน ในการห้ามผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทำเรื่องใด ปรากฎว่า ข้อจำกัดต่างๆ ที่แจ้งมา ไม่มีความชัดเจน คนของรัฐบาลทำได้ แต่ฝ่ายค้านทำไม่ได้ สิ่งที่ควรทำ กลับไม่ได้ทำ เช่น การแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 เขต ควรทำทันทีที่ประกาศจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี และเมื่อมีระเบียบระยะ 180 วันแล้ว ควรให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเตรียมตัว กลับเก็บเรื่องเขตเลือกตั้งไว้ให้เป็นปัญหาเหมือนในปี พ.ศ. 2562 ที่มีข้อครหาว่า ใครสนับสนุนพรรคของคณะผู้ยึดอำนาจ มีโอกาสเลือกเขตเลือกตั้งที่ต้องการ ดังนั้น ในสถานการณ์เช่นนี้ สังคมเริ่มสิ้นหวังกับคำว่า “ยุติธรรม” คณะกรรมาธิการการเลือกตั้ง ควรทำหน้าที่ให้สังคมเชื่อมั่นในเรื่องนี้

3.ความสิ้นหวัง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่กฎหมายฉบับนี้ ตกเป็นโมฆะ ย่อมส่งผลต่อการเลือกตั้ง ประชาชนอาจทำใจกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ต่ออายุให้นายกรัฐมนตรีได้อยู่ต่อไป แต่เมื่อครบวาระของสภาผู้แทนราษฎร 4 ปี ย่อมต้องมีการเลือกตั้ง หรือในกรณียุบสภาหลังการประชุมเอเปค จะต้องมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ดังนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะต้องแสดงความชัดเจนว่า จะทำอย่างไร ถ้ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งเป็นโมฆะ และจะรับผิดชอบจัดการเลือกตั้งอย่างไร ดังนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะต้องสร้างความมั่นใจให้เห็นว่า การเลือกตั้งจะมีขึ้นและเป็นโอกาสให้ประชาชนมีความหวังในการเปลี่ยนรัฐบาล

จึงขอเรียกร้องให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ร่วมรับผิดชอบในการทำหน้าที่ตามกฎหมายให้ชัดเจน ตลอดจนเตรียมการรับผลร้ายจากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img