วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกHighlightย้อนคำ“ปิยบุตร”เคยตำหนิศาล แต่พอได้ประโยชน์พลิกลิ้นชม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ย้อนคำ“ปิยบุตร”เคยตำหนิศาล แต่พอได้ประโยชน์พลิกลิ้นชม

“ปิยบุตร” ได้ที ออกหน้าชื่นชม “ศาล” ที่ยกคำร้องให้ระงับ “ไลฟ์ธนาธร” เรื่อง “วัคซีนพระราชทาน” อ้างเป็นบรรทัดฐานใหม่ แต่เจอโลกโซเชียล งัดความเห็นในอดีตมาสาวไส้ ถ้าคำตัดสินศาลออกมาตัวเองไม่ได้ประโยชน์ จะไม่ยอมรับ ถึงขั้นเคยบอกแค่ “เศษกระดาษเปื้อนหมึก” ด้าน “ไฮโซสปอตคลับ” ยังส่ายหัว บอกคนแบบนี้อยู่ในวงการเมืองได้ยังไง

กรณีศาลอาญาได้ยกคำร้องที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยร้องขอให้ศาลสั่งปิด URL 3 ลิงค์ คือ 1.เฟซบุ๊กไลฟ์ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า 2.การเผยแพร่วิดีโอทีในยูทูป และ 3.เว็บไซด์ของคณะก้าวหน้า ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ในหัวเรื่อง “วัคซีนพระราชทาน : ใครได้ใครเสีย” โดยกระทรวงดีอีเอส ยื่นคำร้องให้มีการลบเนื้อหาดังกล่าว และต่อมา ศาลอาญาได้ตัดสินยกคำร้อง จึงไม่ต้องระงับการเผยแพร่คลิปวัคซีนของนายธนาธร ตามการพิจารณาคดีของศาล คดีหมายเลขแดงที่ พศ 76/2564

ความคืบหน้าในเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 9 ก.พ.64 นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊ก รายการสนามกฎหมาย EP.19 ระบุว่า ตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินคดีหมายเลขแดงที่ พศ 76/2564 ของศาลได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นมา 4 ประการ โดยในอดีตที่ผ่านมา ทางกระทรวงดีอีเอส ส่งข้อมูลรายชื่อเว็บไซด์ที่ต้องการสั่งปิดไปให้ศาล แล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกสั่งปิดไม่มีโอกาสได้โต้แย้งใดๆ แต่คำสั่งศาลตามคดีนี้ ได้สร้างแนวบรรทัดฐานขึ้นมาใหม่ ประการแรก ศาลได้ระบุในคำวินิจฉัยว่า การออกคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลโดยชัดแจ้งและถาวรเมื่อสิ้นสุดกระบวนการแล้ว ไม่มีโอกาสให้ผู้ใดได้โต้แย้งอีกต่อไป การอนุโลมใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ถูกต้องกับคำร้องเช่นนี้ สมควรที่จะรับพิจารณาเสมือนหนึ่งเป็นคดีอาญาคดีหนึ่ง ซึ่งต้องให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายได้ต่อสู้คดีเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้การให้โอกาสดังกล่าวยังเป็นหลักการสำคัญสำหรับการทำงานขององค์กรตุลาการตามหลักนิติธรรม จากคำตัดสินดังกล่าวนั่นหมายความว่าต่อไปนี้เวลาที่กระทรวงดิจิทัลรวบรวมรายชื่อเว็บไซด์ที่จะสั่งปิดมาให้ศาล ศาลจะไม่ได้สั่งปิดเลยแต่จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้คู่กรณีมาโต้แย้งกันก่อน แล้วศาลก็จะพิจารณาแล้วจะสั่งให้ปิดหรือให้ยกคำร้อง บรรทัดฐานใหม่เช่นนี้ เป็นการสร้างหลักประกันให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและยังสร้างหลักประกันให้แก่ประชาชนที่ใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกผ่านทางช่องทางเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ คดีดังกล่าว

นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า ประการที่สอง เหตุแห่งการระงับการเผยแพร่ เหตุแห่งการปิดเว็บไซด์ต่างๆ ที่อยู่ในมาตรา 20 (1) ของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ศาลได้วางหลักใหม่ไว้ว่าการที่จะสั่งปิดหากข้อความที่เกี่ยวข้องมีความผิดตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จะมาสั่งปิดตามมาตรา 20 ในทันทีไม่ได้เพราะว่ายังไม่รู้เลยว่าข้อความต่างๆ เป็นความผิดตามมาตรา 14 แล้วหรือไม่ หากผิดมาตรา 14 จริง ถึงค่อยมาพิจาณาสั่งปิดตามมาตรา 20 (1)

ประการที่สาม ศาลได้นำหลักความได้สัดส่วนหรือหลักความพอสมควรแก่เหตุมาใช้ในการพิจารณาตัดสินคดี การจะสั่งปิดสั่งลบได้ ตามมาตรา 20 (2) ของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นั้น ศาลได้แปลความ และระบุไว้ในคำวินิจฉัยในประเด็นนี้ว่า สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นสาระสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ยอมรับความหลากหลายและอดทนอดกลั้นต่อความเห็นต่าง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนี้จึงถือเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับความคุ้มครองโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ตามหลักสากลของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีนิติรัฐและมีพันธกรณีในการปกป้องสิทธิมนุษยชน ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยรับรองและเป็นภาคี ดังนั้นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจะทำได้เมื่อมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดและเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองประโยชน์อันชอบธรรมของรัฐ และการจำกัดเสรีภาพต้องได้สัดส่วนกับความจำเป็นโดยต้องใช้มาตรการที่เป็นภาระน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐดังกล่าว

ประการที่สี่ ศาลยังได้พูดถึงกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยโดยศาลได้ระบุในคำวินิจฉัยว่า การพิจารณาว่าข้อความใดจะเป็นข้อความที่อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะต้องพิจารณาจากข้อความทั้งหมด มิใช่พิจารณาเฉพาะตอนหนึ่งตอนใด ดังจะเห็นจากข้อความที่ผู้คัดค้าน (ธนาธร) นำเสนอนั้น เนื้อหาเกือบทั้งหมดมุ่งเน้นในเรื่องการกล่าวหารัฐบาลว่าบกพร่องในการจัดหาวัคซีน โดยมีการนำข้อมูลหลายอย่างมาสนับสนุน ข้อเท็จจริงเพียงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถือหุ้นบริษัทดังกล่าวมิได้ทำให้พระองค์เสื่อมเสีย ถูกดูหมิ่นหรือเกลียดชังหรือไม่เป็นที่เคารพสักการะแต่อย่างใด

นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า ศาลยังได้ไปดูในรายละเอียดของคลิปวีดีโอด้วย ในกรณีที่นายธนาธรบอกว่าคุณประยุทธ์จะรับผิดชอบไหวหรือไม่เพราะประชาชนจะตั้งคำถามกับบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นคือในหลวงรัชกาลที่ 10 ศาลบอกว่า ข้อความนี้ไม่อาจแปลความตามลำพังแยกขาดจากเนื้อความส่วนใหญ่ได้ ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนเสริมจากข้อมูลส่วนใหญ่ของการนำเสนอที่กล่าวหารัฐบาลว่าผิดพลาดในการให้วัคซีนเกือบทั้งหมดถูกผลิตในบริษัทเดียว การกล่าวอ้างถึงคำถามต่อประชาชนต่อสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ซึ่งอาจกระทบต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็นการชักชวนให้ประชาชนกล่าวโทษพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่โดยลักษณะของข้อความที่สืบเนื่องกันมามีลักษณะเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของรัฐบาลจะกระทบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวต่อไปด้วยว่า ศาลมองว่าการที่อะไรจะเป็นเรื่องที่กระทบความมั่นคง อะไรจะเข้า มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ ต้องตีความโดยไม่ใช่การตัดถ้อยคำใดถ้อยคำหนึ่งไป ต้องดูความทั้งหมดแล้วต้องใช้การตีความแบบภาวะวิสัย ไม่ใช่การตีความแบบอัตวิสัยของใครคนใดคนหนึ่ง

นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า กรณีของคำสั่งศาลนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้พระราชบัญญัติหลายๆ ฉบับในประเทศไทยที่ออกกันมาแล้วมันมีปัญหาในทางตัวบทว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากจนเกินไป รวมทั้งกฎหมายหลายๆ ตัวออกมาแล้ว การใช้กฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติเป็นไปในทางลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ศาลอาจจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ผ่านการตัดสินคดี ผ่านการวางแนวคำพิพากษา อีกทั้งในช่วงเวลาที่เรามีความรู้สึกว่ากฎหมายจำนวนมากออกมาละเมิดสิทธิ ซึ่งออกมาในช่วงที่เป็นรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ ตอนนี้เรามีศาลที่ผดุงความยุติธรรม ยึดมั่นในเรื่องหลักสิทธิเสรีภาพแล้วก็สามารถนำหลักการพื้นฐานต่างๆ มาปรับใช้กับการตัดสินคดีเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล และคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกด้วย

cr : FB Kanjanee Valyasevi

อย่างไรก็ตาม หลังนายปิยบุตร ออกมาแสดงความเห็นยกย่องคำตัดสินของศาลในกรณีนี้ ปรากฏว่า ในสังคมออนไลน์มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก โดยเฉพาะการหยิบยก ความคิดเห็นในอดีตของนายปิยบุตร ที่เคยแถลงไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญกรณี “ยุบพรรคอนาคตใหม่” หรือแม้แต่ การวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาว่าเป็นแค่เศษกระดาษเปื้อนหมึกเท่านั้น แต่เมื่อคำตัดสินของศาลออกมาแล้วฝ่ายตัวเองได้ประโยชน์ก็จะออกมาชื่นชม ยกย่องศาลในทันที

ล่าสุด นางกาญจนี วัลยะเสวี หรือ “ติ๊งต่าง” เจ้าของฉายาไฮโซสปอร์ตคลับ และแม่ยกพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก Kanjanee Valyasevi ว่า…“อ่านปิยบุตรแล้วต้องส่ายหัว ถ้าศาลตัดสินเข้าทางตัว ชมใหญ่เลย แต่ถ้าไม่เข้าทางตัว ก็บอกต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม #คนอย่างนี้มาอยู่ในวงการเมืองได้ไง ‘ปิยบุตร’ยกย่องศาลผดุงความยุติธรรม…”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img