วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกHighlightกางตำรากฎหมาย“เอาผิด”ม็อบ6มีนา “ปล้นทรัพย์-ดูหมิ่นศาล-ละเมิดศาล”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กางตำรากฎหมาย“เอาผิด”ม็อบ6มีนา “ปล้นทรัพย์-ดูหมิ่นศาล-ละเมิดศาล”

“อัษฎางค์ ยมนาค” กางตำรากฎหมายเอาผิด “ม็อบ 6 มีนา” ที่เผาขยะหน้าศาลและปล้นรถดักชิงตัวผู้ต้อง งัดความผิดฐานปล้นทรัพย์-ความผิดฐานดูหมิ่นศาล-ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

จากกรณีการชุมนุมของ ม็อบ Redem เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา บริเวณด้านหน้าศาลอาญา รัชดาภิเษก ซึ่งผู้ชุมนุมได้มีการเผาขยะด้านหน้า และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวแกนนำที่โดนคุมขังในเรือนจำ อีกด้านหนึ่งแนวร่วมการ์ด WeVo ก็ได้มีการปล้นรถดักชิงตัวผู้ต้องหา โดยทำการขัดขวางรถของตำรวจที่กำลังพาผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมไปยังโรงพัก และมีการทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยนั้น

เมื่อวันที่ 7 มี.ค.64 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์ข้อความเกี่ยวกับฐานความผิดในเรื่องของการ “ปล้นทรัพย์” และความผิดฐาน “ดูหมิ่นศาล” กับ “ละเมิดอำนาจศาล” มีเนื้อหาดังนี้…

ปล้นทรัพย์
………………………………………………………………….
สาระสำคัญของความผิดฐานปล้นทรัพย์

การปล้นทรัพย์ มีลักษณะเช่นเดียวกับการชิงทรัพย์ต่างกันเพียงว่ามีผู้ร่วมชิงทรัพย์ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
โดยกฎหมายระบุว่า…

• ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน “ปล้นทรัพย์”
• ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 340 วรรคแรก
• ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 12 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 24,000 บาทถึง 40,000 บาท ตามมาตรา 340 วรรคสอง
โดยผู้กระทำความผิดทุกคนแม้จะไม่ได้พกอาวุธหรือร่วมทำร้ายเจ้าทรัพย์หรือบุคคลอื่น กฎหมายก็ถือว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย
• ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดยแสดงความทารุณจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ใช้ปืนยิง ใช้วัตถุระเบิด หรือกระทำการทรมาน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ตามมาตรา 340 วรรคสี่
โดยผู้กระทำความผิดทุกคนแม้จะไม่ได้พกอาวุธหรือร่วมทำร้ายเจ้าทรัพย์หรือบุคคลอื่น กฎหมายก็ถือว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย

ความผิดฐาน “ดูหมิ่นศาล” กับ “ละเมิดอำนาจศาล”
………………………………………………………………….
ความผิดฐานดูหมิ่นศาล หรือ ละเมิดอำนาจศาล เป็นความผิดที่มีองค์ประกอบคล้ายกันแต่ปัจจุบันถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายสองฉบับต่างกัน

ความผิดฐานดูหมิ่นศาล อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 ส่วนความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 และ 31 โดยบทบัญญัตินี้ทำหน้าที่คุ้มครองกระบวนการพิจารณาคดีของศาลแต่ละแห่ง ให้เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย

วัตถุประสงค์ของกฎหมายทั้งสองมาตรา ก็เพื่อจะคุ้มครองกระบวนการพิจารณาคดี ให้การดำเนินคดีของศาลไม่ถูกรบกวน มีความศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนให้ความเคารพและปฏิบัติตาม คุ้มครองการทำหน้าที่ของบุคคลต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ศาล ฝ่ายโจทก์ ฝ่ายจำเลย รวมถึงพยาน ให้รู้สึกปลอดภัย คุ้มครองไม่ให้ผู้พิพากษาต้องถูกว่าร้าย หรือข่มขู่ หรือทำร้าย จนกระทบกับการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ

สำหรับเนื้อหา ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 บัญญัติว่า “ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ขณะที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า “ให้ศาลมีอำนาจออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความ…หรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็น เพื่อความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว … ”

ดูหมิ่นศาล บทลงโทษรุนแรงกว่า ละเมิดอำนาจศาล

เมื่อพิจารณาบทลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดฐานดูหมิ่นศาล ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 ระบุโทษความผิดฐานหมิ่นศาล ระวางโทษจำคุก 1-7 ปี หรือปรับ 2,000-14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขณะที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ระบุโทษหากบุคคลใดละเมิดอำนาจศาลใดให้ศาลนั้นมีอำนาจสั่งลงโทษ คือ ไล่ออกจากบริเวณศาลช่วงเวลาที่ศาลนั่งพิจารณา หรือ ลงโทษให้ผู้กระทำผิดจำคุกได้ไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในส่วนของบทลงโทษจะสังเกตเห็นว่า ความผิดฐานดูหมิ่นศาลมีบทลงโทษที่รุนแรงกว่าความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ อีกทั้งโทษฐานละเมิดอำนาจศาลยังเปิดช่องให้ ศาลสามารถตักเตือน ให้โอกาส แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด หรืออาจจะเพียงแค่ไล่ออกจากบริเวณศาล โดยไม่ต้องวางโทษให้เสียค่าปรับหรือจำคุก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img