วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกHighlightศาลฎีกายืน‘จตุพร’ ให้นับโทษขังต่อ คดีหมิ่น‘อภิสิทธิ์’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ศาลฎีกายืน‘จตุพร’ ให้นับโทษขังต่อ คดีหมิ่น‘อภิสิทธิ์’

ศาลฎีกาพิพากษายืน ‘จตุพร’ ให้นับโทษขังต่อ คดีหมิ่นอภิสิทธิ์ ทนายเผยรอลุ้นจำนวนวันติดคุก

เมื่อวันที่ 8 ก.ค.64 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งฎีกาในคดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2561 ขอให้ยกเลิกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด ซึ่งออกโดยศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2561 ในคดีที่นายอภิสิทธิ์เป็นโจทก์ ในคดีหมายเลขดำ อ.4176/2552 (คดีหมายเลขแดง อ.240/2558)  ยื่นฟ้องนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 กรณีกล่าวหานายอภิสิทธิ์ประวิงเวลาในการทำความเห็นเสนอต่อสำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2560 ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ให้จำคุกนายจตุพร 12 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และให้นับโทษคดีจำคุกนายจตุพรต่อจากคดีอาญาหมายเลขแดง อ.4907/2555 (หมายเลขดำ อ.1962/2552) กรณีกล่าวหาเป็นฆาตกรมือเปื้อนเลือดฆ่าประชาชน

โดยคำร้องอุทธรณ์ของนายอภิสิทธิ์ดังกล่าวระบุว่า เมื่อคดีหมิ่นประมาท หมายเลขดำ อ.4176/2552 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้จำคุกนายจตุพร 12 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และให้นับโทษคดีจำคุกนายจตุพร ต่อจากคดีอาญาหมายเลขแดง อ.4907/2555 (หมายเลขดำ อ.1962/2552) แล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นได้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้นับโทษนายจตุพรต่อ แต่จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นและศาลฎีกา ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นับโทษจำคุกนายจตุพรต่อจากอาญาหมายเลขแดง อ.4907/2555 จำเลยจึงขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษายกเลิกหมายจำคุกถึงที่สุดฉบับเก่า (ที่ให้มีการนับโทษต่อ) และให้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วก็มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย เพราะว่ายกเลิกคำพิพากษาเดิมที่ให้นับโทษต่อไม่ได้ โดยศาลฎีกาก็มีคำพิพากษาถึงที่สุด และมีการออกหมายตามคำพิพากษาแล้ว

จำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวอีก โดยศาลชั้นต้นก็ได้เรียกตัวจำเลยมาสอบถาม ซึ่งแถลงว่าหมายที่ให้นับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากคดีอาญาหมิ่นประมาทอีกสำนวนนั้นไม่ถูกต้อง ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสอบรายงานกระบวนพิจารณาใหม่อีกครั้งปรากฏว่าในคดีหมิ่นประมาทนั้น ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้นับโทษจำคุก แต่ศาลอุทธรณ์มีการย่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าให้นับโทษจำเลยต่อ ซึ่งไม่ถูกต้อง จนเมื่อผลคดีถึงที่สุด ก็เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกถึงที่สุดโดยผิดหลงด้วยการให้นับโทษต่อ ดังนั้นศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง และเป็นธรรมกับตัวจำเลย โดยให้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2561 ไม่ต้องนับโทษนายจตุพร จำเลยต่อจากคดีอาญาหมิ่นประมาทอีกสำนวน ซึ่งระบุวันนับโทษตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค.2560 โดยไม่หักวันต้องขังให้จำเลย

ทั้งนี้ โจทก์เห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นไม่นับโทษจำคุกนายจตุพร จำเลย ต่อจากคดีอาญาหมิ่นประมาทอีกสำนวนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดกับคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และให้หมายเรียกจำเลยมารับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ต้องนับโทษคดีอาญาต่อ ขณะที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของนายอภิสิทธิ์แล้ว ให้ยกคำร้อง โจทก์จึงได้ยื่นอุทธรณ์

โดยเมื่อวันที่ 12 ก.ย.62 ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้การออกหมายจำคุกถึงที่สุดจะเป็นเรื่องการบังคับโทษตามคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจดำเนินการก็ตาม แต่การออกหมายบังคับตามโทษนั้นจะต้องให้ถูกต้องกับโทษที่จำเลยควรได้รับตามความเป็นจริงด้วย ซึ่งการที่ศาลชั้นต้นได้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2560 ให้นับโทษจำคุกนายจตุพร จำเลยต่อจากคดีอาญา หมายเลขแดง อ.4907/2555 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นการออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และการที่ศาลชั้นต้นได้ยกเลิกหมายจำคุกดังกล่าวแล้วออกหมายบังคับโทษใหม่ เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2561

โดยอ้างว่าหมายจำคุกเดิมที่ศาลชั้นต้นออกนั้นทำโดยผิดหลง เนื่องจากศาลชั้นต้นที่เคยมีคำพิพากษาคดีนั้น ไม่ได้ให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอาญา หมายเลขแดง อ.4907/2555 แต่ศาลอุทธรณ์ย่อคำพิพากษาว่า ศาลชั้นต้นให้นับโทษคดีต่อกันกับอีกสำนวนหนึ่งนั้น ความจริงศาลชั้นต้น (คดีหมายเลขดำ อ.4176/2552) พิพากษาให้นับโทษจำคุกนายจตุพร จำเลยต่อจากคดีอาญาหมายเลขแดง อ.4907/2555 ตรงตามที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาย่ออยู่แล้วไม่ได้เป็นข้อผิดพลาด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นเคยยกเลิกหมายจำคุกถึงที่สุดฉบับเก่านั้น น่าจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนผิดหลงของศาลชั้นต้นเอง อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น

จึงพิพากษา ให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่นับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.4907/2555 และให้ยกเลิกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดของจำเลย ลงวันที่ 19 ก.พ.2561 กับให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่เพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาต่อไป (ที่ให้นับโทษจำคุกนายจตุพร คดีหมิ่นประมาทหมายเลขดำ อ.4176/2552 ต่อจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.4907/2555)

โดยภายหลังฟังศาลอุทธรณ์ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนายจตุพรระหว่างจะฎีกาโดนมีประกัน 2 เเสนบาท ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขใดๆ

ทั้งนี้นายจตุพร กล่าวก่อนขึ้นห้องพิจารณาคดีว่า เดินทางมาฟังคำสั่งศาลไม่ใช่คำพิพากษา เพราะคำพิพากษา

เป็นที่ยุติ และ ได้ถูกจองจำคุกไปแล้ว โดยศาลได้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดและสั่งปล่อยตัวเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์ ได้ฟ้องร้องหลายคดีและศาลมีคำสั่งจำคุก 2 คดี

วันนี้จึงต้องการฟังคำพิพากษาจะไม่มีการขอเลื่อน ขอรับฟังเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้น ความเสียหายจากการสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ในขณะที่สั่งให้นับโทษต่อ ทั้งที่ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ กระบวนการยุติธรรมนี้จะรับผิดชอบอย่างไร การที่มีคำสั่งปล่อยตัวในขณะที่ตัวเองเป็นนักโทษชั้นดีเรื่องนี้ต้องขอขอบคุณ

ที่ผ่านมาตัวเองติดคุกมาแล้ว 4 ครั้งเรียกได้ว่าเป็นมนุษย์คุกคนหนึ่ง รู้แล้วว่าจะต้องใช้ชีวิตอย่างไร ในส่วนของคณะไทยไม่ทน ต่อให้ไม่มีตัวเองก็จะต้องเดินหน้าต่อ เบื้องต้นจากการที่พูดคุยการชุมนุมในวันเสาร์ที่จะถึงนี้จะไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ไม่มีการตั้งเวทีปราศรัยแต่จะยกขบวนไปสมทบกัน ว่า ในหลายเรื่องที่ได้ค้างคา ตัวเองได้เตรียมพร้อมและทำสำเร็จหมดแล้ว ทั้งการเดินทางไปฉีดวัคซีน ทำฟัน เพื่อเตรียมพร้อมกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในชีวิต เพราะฉะนั้นแล้วในวันนี้ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรขอให้คนในประเทศ มีความรักและความศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม

ด้าน นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ กล่าวว่า ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้นับโทษคดีที่สองต่อจากคดีเเรกเมื่อคดีเเรกถึงที่สุด โดยระหว่างนี้ศาลอาญาอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าโทษต่อจากคดีเเรกที่ให้นับต่ออีก 12 เดือน จะนับอีกเท่าไหร่

นายวิญญัติ กล่าวต่อว่า การที่จำเลยเข้าใจว่าการที่มีหมายบ่อยเมื่อรับโทษครบเเล้วเป็นเรื่องที่ศาลดำเนินการปล่อยตัวตามหมายปล่อย เเต่ถ้าหากตอนนั้นยังไม่ปล่อย จำเลยย่อมได้สิทธินักโทษชั้นดีเเละได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยให้รับโทษต่อเนื่องจากรับโทษไม่ครบ จำเลยจึงเห็นว่าไม่ใช่ความผิดของจำเลย เเล้วใครจะรับผิดชอบ

“สิทธิประโยชน์จากการเป็นนักโทษชั้นดีและอภัยโทษ นายจตุพรควรจะได้ด้วยหรือไม่ เพราะถ้าได้รับก็ต้องหักลบวันที่ต้อง ได้รับโทษจำคุก แต่อย่างไรก็ตามนายจตุพรก็ตั้งคำถามว่า หากก่อนหน้านี้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวและในวันนี้จะนำกลับเข้าไปเรือนจำใหม่อีกครั้ง ถือว่าเป็นความยุติธรรมหรือไม่ 

นายวิญญัติ กล่าวต่อว่าในขณะนี้คงไม่ต้องลุ้นแล้ว ว่าจะติดคุกหรือไม่ติดคุก รอเพียงอย่างเดียวว่าจำนวนวันที่ติดคุกจะกี่วันและกี่เดือน ซึ่งตัวเองก็ยังให้คำตอบไม่ได้ แต่ที่ประเมินไว้ก็หลายวัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img