วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกNEWSรัฐสภาล่มอีกซ้ำ! "ฝ่ายค้าน" รุมซัดรบ.ไม่รับผิดชอบ ชิ่งลงมติร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รัฐสภาล่มอีกซ้ำ! “ฝ่ายค้าน” รุมซัดรบ.ไม่รับผิดชอบ ชิ่งลงมติร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติ

รัฐสภาล่มอีกรอบ! “ฝ่ายค้าน” รุมซัด รัฐบาลไม่รับผิดชอบ ชิ่งลงมติร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติ

วันที่ 17 ก.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…. ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอ ที่ประชุมได้พิจารณามาตั้งแต่เวลา 10.30 น. จนถึงเวลา 20.00 น. มีผู้อภิปรายรวม70 คน ซึ่งส่วนใหญ่แสดงความเห็นโต้แย้งต่อเนื้อหาร่างพ.ร.บ. หลากหลายประเด็น โดยเฉพาะการบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะไม่ยืดหยุ่น และรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ขาดแผนการพัฒนาการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนมีความพร้อมและรู้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง พร้อมเรียกร้องให้ปรับแก้ไข

หลังจาก สมาชิกอภิปรายครบทั้งหมดแล้ว น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวขอขอบคุณสมาชิกฯ ทุกท่านที่เล็งเห็นความสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. อีกทั้งยังให้ข้อเสนอแนะและข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการจะน้อมรับข้อเสนอแนะไปแก้ไข และฝากไปยังคณะกรรมาธิการนำข้อสังเกตไปพิจารณาปรับแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคณะครู บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเด็กและเยาวชนที่มีความเกี่ยวข้องต่อร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ต่อไป

จากนั้นนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ฐานะประธานการประชุม สอบถามกับคณะกรรมการประสานงาน 3 ฝ่าย ว่า มีปัญหาหรือไม่จะหาขอมติที่ประชุม

โดยส่วนของวิปรัฐบาลและวิปวุฒิสภา ขอเลื่อนการลงมติไปในการประชุมสมัยหน้า ทำให้ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน โต้แย้งและขอให้ลงมติวาระแรกตามข้อบังคับ เพื่อให้ในช่วงสมัยปิดประชุมกรรมาธิการฯ สามารถทำหน้าที่ได้ อีกทั้งมองว่าเป็นร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ถือเป็นธรรมนูญการศึกษาที่มีความสำคัญ และเป็นร่างกฎหมายปฏิรูปสำคัญของรัฐบาล หากเลื่อนต้องเลื่อนออกไปอีก 2 เดือนถือว่ารัฐสภาไม่รับผิดชอบกับประชาชน

โดยนายชวน วินิจฉัยให้มีการลงมติหลังจากที่มีผู้อภิปรายแล้วเสร็จและเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับ จากนั้นได้ตรวจสอบองค์ประชุม ที่ต้องได้จำนวนสมาชิก 365 เสียงถึงจะเดินหน้าได้ แต่ผลปรากฎว่าที่ประชุมใช้เวลารอนานเกือบ 10 นาที ก่อนที่นายชวน กล่าวว่า “สถานการณ์ตอนนี้สมควรจะอ่านพระราชกฤษฎีกา ปิดสมัยประชุม”

จากนั้นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อ่านพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกา ปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2564.

จากนั้น นายชวน กล่าวว่า “ขอบคุณสมาชิกทุกคน พบกันวันที่ 1 พฤศจิกายน ขอปิดประชุมครับ”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img