วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS"อภิสิทธิ์"เสนอทำประชาพิจารณ์ร่างรธน.ใหม่เปลี่ยนการเมือง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อภิสิทธิ์”เสนอทำประชาพิจารณ์ร่างรธน.ใหม่เปลี่ยนการเมือง

ม.มหานคร จัดสัมมนา “ไทยแลนด์66พลิกโฉมสู่ความยั่งยืน” “อภิสิทธิ์” ระบุไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายที่เกิดขึ้น แนะปรับโครงสร้างถึงเวลาทำประชามติ มาตรา272 ของรัฐธรรมนูญ 60 สร้างสร้างกลไกตรวจสอบถ่วงดุล คนเข้าสู่อำนาจ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “ไทยแลนด์66พลิกโฉมสู่ความยั่งยืน”รับมือความท้าทายของไทยปี 66 โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ปรองดองสมานฉันท์ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ว่า ประเทศไทยได้สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันไปมาก และไม่สามารถกินบุญเก่าได้อีกต่อไป เพราะขณะนี้ไทยได้รับผลกระทบและมีความท้าทายให้ต้องแก้ปัญหาในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึง ไทย ได้กลายเป็นสังคมสูงวัยที่ประสบปัญหาภาวะการขาดแคลน และเผชิญรายจ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไทยเป็นไม่กี่ประเทศที่ก้าวสู่สังคมสูงวัยโดยที่ฐานะประเทศไม่ดี และไม่มีระบบสวัสดิการ

รวมถึงความเหลื่อมล้ำที่มีมากขึ้น และภาวะโลกร้อนที่เผชิญ ไทยอยู่ในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัว การท่องเที่ยว การเกษตรทุกกิจกรรมต้องเป็นต้องมิตรกับสิ่งแวดล้อม สุดท้ายความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ตอนนี้กลับมาอยู่ในโลกที่เกิดสงคราม ความท้าทายทั้งหมดที่กล่าวมา หากจะให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนได้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้างครั้งใหญ่

“ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เพราะปัจจุบันโครงสร้างไม่สอดกับสภาวะแวดล้อมของโลกและความท้าทายที่เกิดขึ้นมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องเป็นในภาวะที่การเมืองต้องเข้มแข็งขึ้น ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา ไทยออกแบบกติกาการเมือง ที่ไม่ได้รัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสภาไม่ใช่ความผิดพลาด แต่เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นความจงใจของรัฐธรรมนูญในปัจจุบันที่จะขับเคลื่อนประเทศ โดยรัฐบาลเป็นแกน เขียนขึ้นมา โดยความวิตกและจะทำให้กลับไปสู่ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ถ้าปล่อยให้ฝ่ายการเมืองมีบทบาทสำคัญก็จะไม่จบ” ”นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จะให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้นั้น จะต้องมีการปลดล็อก หรือคลายปมปัญหาความขัดแย้ง คือ 272 แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 ที่กำหนดบทเฉพาะกาล ให้อำนาจ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง 250 คน ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี โดยให้เป็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 159 กำหนดเท่านั้น ที่แม้ ตอนนี้ทางสภาฯ ไม่ผ่านให้เมื่อวันที่ 7 ก.ย.2565 ที่ผ่าน ทั้งที่ ตรงนี้เป็นจุดที่ง่ายที่สุด ซึ่งถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากวันนี้ถึงกลางปีหน้า และมีการเลือกตั้งประเทศก็จะเดินหน้าต่อไม่ได้ เพราะก็จะติดอยู่กับมาตรานี้    

รัฐธรรมนูญจะเป็นกล่องแห่งความฝันได้หรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญจะเป็นการเปิดเวทีให้คนคิดต่างมีส่วนร่วมในการทำกติการ่วมกัน ฉะนั้น ถ้าเราเดินตามนี้ได้ จะเป็นการสร้างความหวัง จะมีเวทีการเขียนกติกาที่ทุกคนเข้ามามีโอกาสมีส่วนร่วม เพราะต่อให้สิ่งที่เขียนออกมา ทุกคนอาจจะไม่เห็นด้วย แต่เชื่อว่าจะมีกติกาที่ทุกคนยอมรับ และสร้างกลไกตรวจสอบถ่วงดุล คนเข้าสู่อำนาจ อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศเวลามีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับนักการเมือง ไม่ว่าจะเรื่องใด นักการเมืองในต่างประเทศจะรับผิดชอบโดยการลาออก แต่ในไทยไม่ได้เป็นแบบนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ สร้างศรัทธาโดยถอยตัวเองให้ออกไป รวมถึงควรเข้าใจภาคประชาชนที่มาเรียนรู้ สร้างเวทีเพื่อหาข้อยุติ มากกว่ากดทับปัญหา

“ผมยังยืนยันความเชื่อว่า ไม่มีใครเขียนบทว่าอะไรจะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ สิ่งที่ต้องทำ คือ เราทุกคนต้องช่วยกันเขียน ถ้าอยากขจัดความขัดแย้ง ต้องช่วยกัน ส่งสัญญาณไปผู้มีอำนาจว่าหมดเวลาหรือยังที่จะรักษาอำนาจเพื่อมีอำนาจ แล้วปล่อยให้ประเทศสังคมเดินไปเอง ควรสนับสนุน การเลือกตั้งครั้งหน้าให้มีการประชามติ ในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ทุกคนยอมรับ และช่วยกันคิดต่อว่า เราจะไม่เดินซ้ำรอยกับการเมืองที่ผิดพลาดในอดีตอย่างไร และช่วยกัน ขณะที่ สื่อมวลชน สร้างเวทีให้ถกเถียงด้วยเหตุผล และทุกคนฝึกตนเองมากขึ้นในการยอมรับ  สนทนาแลกเปลี่ยนด้วยเหตุและผล เพราะมนุษย์ไม่เหมือนกัน ไม่มีใครถูกทุกเรื่องทุกคนแลกเปลี่ยนกัน ถ้าทำได้จะไม่ได้รอข่าวดีขากไหน ทุกคนจะเป็นข่าวดีเอง”นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล ที่ปรึกษากรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติดและที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าวถึง การขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำ พันธนาการของ SMEs โดยระบุว่า ความเหลื่อมล้ำกับ SMEs มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ยิ่งความเหลื่อมล้ำมากก็จะเกิดปัญหาต่อการเติบโตของ SMEs มาก ความเหลื่อมล้ำต่ำ SMEs จะสามารถเจริญรุ่งเรืองได้มาก ในเวทีโลกจึงให้ความสำคัญกับ SMEs มากขึ้น มีเครือข่ายของ SMEs ให้ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย

ในปี 2566 ปัญหาที่ SMEs ต้องเผชิญ ได้แก่ การยกเลิกกิจการ ข้อมูล ม.ค. – มิ.ย. 2565 จำนวนกว่า 6,006 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 22% ภาระต้นทุนทางการเงิน และวัตถุดิบสูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ สภาพแวดล้อมในการประกอบการไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของ SMEs (ถ้าไม่ทำอะไรในวันนี้) และผู้นำที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำกับ SMEs ในระบบเศรษฐกิจ สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อ SMEs และระดม 4 ส่วนที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกัน หากไม่มี ความเหลื่อมล้ำจะมากขึ้นโดยเฉพาะหลังจบโควิด-19 รายใหญ่จะกดทับรายกลางและรายเล็กรุนแรงขึ้น เกิดปัญหาเศรษฐกิจภายในไม่ว่าจะเติบโตหรือถดถอยก็ตาม  

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และประธานสภาตลาดทุนไทย กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2566:  วิกฤตและโอกาส สู่ความยั่งยืน ว่ามองจากพัฒนาการของวิกฤตนับจากเวลาการสุกงอมของปัญหาและกลไกตลาด ในปี2566 จะเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เกิดRecession มาแน่ๆ ขณะเดียวกัน ก็อาจจะเริ่มต้นของ EM Crises ซึ่งเมื่อดูแล้วเป็นเรื่องยากที่เงินเฟ้อจะลงมาทั้งหมด จะเข้าเป้าก็น่าจะปี 2567-2568 ไปแล้ว Fed ก็ยังต้องต่อสู้ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ ถึงจะเข้ามาสู่ช่วงสาม และกว่าคิดถึงในช่วงของการลงดอกเบี้ยอีกรอบ น่าจะเป็นช่วงปลายปี 2567 ฉะนั้น เมื่อถามว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2566 เป็นเช่นใด ก็จะอยู่ในช่วงสอง ขึ้นดอกเบี้ยสู้เงินเฟ้อ เงินเฟ้อเริ่มลดลง นี่คือวิกฤตที่จะหมุนไป

นายกอบศักดิ์กล่าวด้วยยังมีข่าวที่ประเทศไทยจะได้อานิสงส์จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบนี้ เนื่องจากทำเลที่ตั้ง เพราะปีหน้าภาวะเศรษฐกิจอาเซียนเติบโตดี คาดว่าจะเป็นที่นิยมของนักลงทุน เป็นทั้งแหล่งหลบภัยและลงทุนเพิ่มอย่างคึกคักแห่งหนึ่งของโลก.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img