วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS"แพทองธาร" นำทีม "พท." ฟังนักวิชาการ-ศิลปิน สร้างโอกาสงานสร้างสรรค์เต็มรูปแบบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“แพทองธาร” นำทีม “พท.” ฟังนักวิชาการ-ศิลปิน สร้างโอกาสงานสร้างสรรค์เต็มรูปแบบ

“แพทองธาร” นำทีม “เพื่อไทย” แลกเปลี่ยนมุมมองนักวิชาการ ศิลปินหลายสาขา หวังสร้างโอกาสงานศิลปะ ผลักดันเมืองให้กลายเป็นเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์เต็มรูปแบบ

วันที่ 10 ก.ย.65 ที่เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย นำโดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม พรรคเพื่อไทย นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นางสาวจิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ดและกรรมการบริหารพรรค นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช คณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง ดูแลด้านนโยบาย พรรคเพื่อไทย นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นางสาวอรุณี กาสยานนท์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้กับตัวแทนนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ร่วมกับ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัย นักธุรกิจ ในประเด็น ‘ปลดล็อคศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยนโยบายที่สร้างสรรค์’ โดยมีตัวแทนนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ ได้แก่ ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา สถาปนิกและนักวิชาการ รศ.ดร.สันต์ สุวัจฉณาภินันท์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ม.เชียงใหม่ นางสาวกัณณิกา บัวจีน บ่อสร้าง

ตัวแทนด้านภาพยนตร์ นายชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล (มะเดี่ยว) ผู้กำกับภาพยนตร์ ตัวแทนด้านวรรณกรรม นางสาวนันท์ณิชา ศรีวุฒิ นักออกแบบหนังสือ ปกอัลบั้มและภาพประกอบเพลง จาก Boof re ตัวแทนด้านดนตรี นายภราดล พรอำนวย นักดนตรีแซ็กโซโฟน และเจ้าของร้านนอร์ทเกต ตัวแทนด้านกีฬา นายพิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมเทควันโด

ตัวแทนศิลปิน นายศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ นักวิชาการและอาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ นายนลธวัช มะชัย ศิลปิน ลานยิ้มการละคร ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี ศิลปิน คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ นางสาวกิตติมา จารีประสิทธิ์ ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยใหม่เอี่ยม โดยมีชานันท์ ยอดหงษ์ (ปกป้อง) ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ พรรคเพื่อไทย ดำเนินการเสวนา

ในการแลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น และความรู้ในครั้งนี้ เน้นไปที่ความท้าทายของจังหวัดเชียงใหม่และอีกหลายพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งคนในพื้นที่มีการรวมกลุ่มกันของคนที่คิดแบบเดียวกันและลงมือทำจนกลายเป็นกลุ่มคนที่มีพลังในการสร้างสินทรัพย์ทางปัญญาใหม่ๆ (Community) หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยจำนวนมาก สามารถนำเอางานศิลปะเหล่านี้ ผลักดันให้กลายเป็นเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creative City) ขณะเดียวกันหากสามารถนำเอาข้อมูลเชื่อมโยงเข้ากับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เกษตรกรรม วิถีชีวิต และหัตถกรรม ในรูปแบบดิจิทัลสู่การท่องเที่ยวแบบสืบค้นที่สนุกและสร้างสรรค์ เชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ ที่มีศักยภาพ จะสามารถยกระดับให้กลายเป็นเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มรูปแบบ งานฝีมือของคนเชียงใหม่และทั่วประเทศ จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยต้องมีนโยบายหรือการส่งเสริมจากภาครัฐ ที่กระจายไปสู่กลุ่มการทำงานสร้างสรรค์ในรูปแบบอื่นๆ โดยเฉพาะศิลปินหน้าใหม่ด้วย

ตัวแทนผู้เข้าร่วมเสวนามองว่า ควรมีพื้นที่สำหรับแรงงานศิลปะให้ได้ผลิตผลงานใหม่ๆ ที่ควรจะมีการออกแบบเมือง ผังเมือง โครงสร้างเมือง สถาปัตยกรรม เพื่อตอบโจทย์กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงมาตรฐานค่าแรงของแรงงานสร้างสรรค์ ควรได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม โดยการทำงานร่วมกันอาจต่อยอดและร่วมมือกับ Creative Economy Agency : CEA ได้ เป็นต้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img