วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSกรมชลฯเดินหน้าผลักดันน้ำเค็ม จับมือภาคเอกชน หาแนวทางการร่วมทุน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กรมชลฯเดินหน้าผลักดันน้ำเค็ม จับมือภาคเอกชน หาแนวทางการร่วมทุน

กรมชลฯลุยเดินหน้าโครงการผันน้ำเติมเขื่อนภูมิพล เพิ่มปริมาณน้ำลุ่มเจ้าพระยา ผลักดันน้ำเค็ม จับมือภาคเอกชน หาแนวทางการร่วมทุน

เมื่อวันที่28 กันยายน 2565 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง นายวิทยา แก้วมี ผู้อำนวยการกองแผนงาน พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษา ร่วมประชุมหารือโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร โดยมีนายชาญวิทย์ นาคบุรี ที่ปรึกษาด้านการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นประธานการประชุมผ่านระบบ Video Conference

นายประพิศ เปิดเผยว่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ มีพื้นที่ชลประทานที่เป็นแหล่งผลิตการเกษตรขนาดใหญ่ โดยมีแหล่งน้ำสำคัญคือ เขื่อนภูมิพล มีความจุทั้งสิ้น 13,462 ล้าน ลบ.ม. แต่ปริมาณน้ำเก็บกักไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มมากขึ้น การดำเนินโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะสามารถทดแทนปริมาณน้ำที่ขาดแคลนได้ เพิ่มปริมาณน้ำ สนับสนุนพื้นที่การเกษตรในช่วงฤดูแล้งเพิ่มขึ้นอีก 1.6 ล้านไร่ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ก่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในการใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็มที่รุกแม่น้ำเจ้าพระยาที่รุนแรงมากขึ้น ป้องกันค่าความเค็มของน้ำประปา เพื่อการอุปโภค บริโภค การแพทย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การเกิดโครงการนี้จึงนับเป็นก้าวที่สำคัญของประเทศ

สำหรับโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตากและจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการก่อสร้าง แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การก่อสร้างเขื่อนน้ำยวม เป็นเขื่อนหินถมดาดผิวคอนกรีต ความจุ 68.74 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่รับน้ำ 5,886.50 ตร.กม. ส่วนที่ 2 การก่อสร้างสถานีสูบน้ำบ้านสบเงา ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำขนาด 58.59 เมกะวัตต์ จำนวน 6 เครื่อง เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำยวมเข้าอุโมงค์ผันน้ำ และส่วนที่ 3 การก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำ มีความยาว 63.46 กิโลเมตร เพื่อผันน้ำไปลงท้ายอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลที่ลำน้ำแม่งูด

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาโครงการฯ ในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การวิเคราะห์ด้านรูปแบบการลงทุน การเงิน กฎหมาย มาตรการสนับสนุน ความเสี่ยง และความพร้อมของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความครบถ้วนและเป็นประโยชน์ในการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจต่อไป

/////

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img