วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTS“ศึกใน-ศึกนอก”ไทยขัดแย้งหนัก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ศึกใน-ศึกนอก”ไทยขัดแย้งหนัก

ภารกิจสำคัญมิติความมั่นคงยังไม่จบ คดี 8 ปี “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม มีโอกาสออกหัวเพื่อไปต่อสูง

“ตู่” จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคณะหลอมรวมประชาชนฯ ปักหมุดขยับเคลื่อนไหวทันที โดยมีธง “ไม่เอารัฐประหาร – ไม่เอา 4 ป. เริ่มนับหนึ่งประเทศไทย เพิ่มอำนาจประชาชนต่อรอง”

แถมภาวนาให้ “บิ๊กตู่” ได้ไปต่อ เสมือนเป็นไม้ขีดก้านเดียวจุดฟางไฟลามทุ่ง!!!

ขณะที่ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ยักท่าใส่กลุ่มอำนาจ “ถ้าประยุทธ์ได้ไปต่อ ประชาชนเตรียมลงถนน”

บนสถานการณ์หน่วยคุมความมั่นคง เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์ หวั่นบานปลายกระทบต่อการประชุม “เอเปก 2022” ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้

โดยรัฐบาลไทยเริ่มยิงสปอร์ตภายใต้ธีม “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล”

งานระดับโลกจืดสนิทเมื่อ “โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐหรัฐอเมริกา ส่งสัญญาณไม่ร่วมเวทีที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

ยังมีอีกเวทีเป็น การประชุมเอพีพีเอฟ หรือ การประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก 2022 ระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคมนี้ หรือเรียกให้เข้าใจง่ายขึ้นเป็นการประชุมเอเปกฝ่ายนิติบัญญัติ ที่รัฐสภาไทยเป็นเจ้าภาพ ปรากฎว่ารัฐสภาสหรัฐอเมริกาส่งสัญญาณไม่ร่วมเวทีนี้

ทำเนียบขาวและสภาคองเกรส ยักไหล่ใส่ประเทศไทย

สถานการณ์การเมืองในและระหว่างประเทศเขม็งเกลียว 2 ขั้วอำนาจโลกขับเคี่ยวใส่กันทุกแพลตฟอร์ม

ถึงขั้น “บิ๊กแก้ว” พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผบ.ทหารสูงสุด ย้ำทุกเหล่าทัพ เฝ้าติดตามสถานการณ์การเมืองและความมั่นคง ซึ่งมันลามถึงความขัดแย้งภายในประเทศโดยปริยาย เพราะต่างชาติมีเครื่องมือเป็นแพลตฟอร์มของตัวเอง ทะลวงอธิปไตย ปลุกปั่น ให้ความขัดแย้งของคนในชาติลุกโชนตลอด

ตกเป็นเหยี่อของซอฟแวร์อัลกอริทึม ที่มีเจ้าของแพลตฟอร์มเป็นคนจากชาติมหาอำนาจ สหภาพยุโรปรู้ถึงพิษภัยจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ เป็นที่มาของการออกกฎเหล็ก ปกป้องความเป็นส่วนตัวพลเมืองยุโรป

โดยเฉพาะ เยอรมัน มีอิทธิพลมากพอที่ต่อกรกับแพลตฟอร์มยักษ์เหล่านี้ ถึงขั้นออกกฎหมายต่อสู้ วาทะสร้างความเกลียดชัง จัดการแพลตฟอร์มข้ามชาติ

แต่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทำได้แค่มีพิมพ์เขียวป้องกันและยับยั้งการแพร่กระจายแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงในบริบทของไทย

กำหนดยุทธศาสตร์หลัก “แนวทางป้องกัน” มุ่งเน้นเฝ้าระวังความขัดแย้งที่มีปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี

ซึ่งร่วมถึงการเผยแพร่อุดมการณ์ แนวคิดที่นิยมความรุนแรงทั้งในพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่ไซเบอร์สเปซ

“แนวยับยั้ง” มุ่งลดปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี พร้อมขจัดเงื่อนไขที่นำไปสู่แนวคิดที่นิยมความรุนแรง และหยุดยั้งการแพร่กระจายแนวคิดที่นิยมความรุนแรง และ “ฟื้นฟูเยียวยา” ซึ่งเป็นกระบวนการนำผู้มีแนวคิดที่นิยมความรุนแรงหรือสุดโต่งกลับสู่สายกลางและกลับเข้าสู่สังคม

สมรภูมิทดสอบยุทธศาสตร์นี้ของ สมช. คือ เหตุการณ์หลังสิ้นเสียงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดี 8 ปี “บิ๊กตู่”

รับรองความขัดแย้งในสังคมไทยทะลุปรอทชัวร์ 

เอ่อ !! รักมิใช่ ดวงดาวเมื่อพราวแสง

…………………….

คอลัมน์ : ไขกุญแจ/ไขแหลก

โดย #ราษฎรเต็มขั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img