วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightเปิด 5 ข้อเสียควบรวม“ทรู-ดีแทค” จับตา“บอร์ดกสทช.”ชี้ชะตา 20 ต.ค.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิด 5 ข้อเสียควบรวม“ทรู-ดีแทค” จับตา“บอร์ดกสทช.”ชี้ชะตา 20 ต.ค.นี้

“สารี”เผย 5 ข้อเสียหากบอร์ดกสทช.ไฟเขียวดีลทรู- ดีแทค ระบุทำให้เกิดการฮั้วราคาง่ายขึ้น ผู้บริโภคชายขอบถูกลอยแพ บอร์ดฯเตรียมประชุมนัดพิเศษ 20 ต.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค หรือ สอบ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า ด่วนเอกสารหลุด รายงานการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแแห่งชาติ (สำนักงานกสทช.) ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ SCF Associates Ltd. ด้วยงบประมาณสิบล้านบาท

เพื่อศึกษาผลกระทบของการควบรวม ดีลทรูควบรวมดีแทค ที่มีต่อสังคมไทยทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม โอกาสการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ และสิทธิการเข้าถึงบริการของสังคม ทำให้เห็นหายนะที่สังคมไทยจะต้องเผชิญหน้า หากกสทช. มีมติอนุญาตให้เกิดการควบรวม ที่ทำให้สามค่ายมือถือยักษ์ เหลือสองค่าย (ทรู+ดีแทค และ เอไอเอส) ซึ่งสรุปโดยสาระสำคัญมีดังนี้

1.พื้นที่คนจน พื้นที่ห่างไกล ที่ที่ไม่สร้างผลกำไรจะไม่มีโครงข่าย หรือบริการใหม่ๆ เข้าไปถึง ซึ่งแปลว่า “คนจน คนชายขอบจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” โดนละเมิดสิทธิ์การเข้าถึงบริการคลื่นความถี่ที่ประชาชนเป็นเจ้าของ

2.ในขณะที่กลุ่มรายได้สูง กลุ่มชุมชนเมืองที่จะสร้างกำไรสูงสุดให้สองค่ายที่เหลือในตลาด จะได้รับบริการโดยเฉพาะระบบ 5 จี อย่างเต็มประสิทธิภาพ กลุ่มคนรายได้ปานกลางและคนจนเมืองต้องจ่ายค่าบริการที่สูงเกินความจำเป็น กับเทคโนโลยี่ทันสมัย

3.การควบรวมที่มีเหลือสองค่าย หรือ duopoly จะไม่เกิดการแข่งขัน และกลายเป็นระบบร่วมมือกัน หรือ “ฮั้ว” ไปในที่สุด ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนในโครงข่ายสำหรับการให้บริการใหม่ๆ และ ลดการแข่งขันกันเอง

4.การเข้าสู่ระบบสองค่ายหรือ duopoly จะทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศล้าหลัง ตามหลังประเทศฟิลิปปินส์ ที่ขณะนี้รั้งท้ายในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

และ 5.จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีถึงจะสามารถพลิกฟื้นระบบตลาดสองค่ายนี้ กลับเป็นตลาดที่มีการแข่งขัน หรือเกิดคู่แข่งหน้าใหม่ในตลาด

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ บอร์ดกสทช.เคยระบุว่า ผลการศึกษาของ SCF มีความน่าสนใจมาก เพราะเป็นการเปรียบเทียบผลดีและเสียในการควบรวมกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในต่างประเทศ ซึ่งมีโมเดลธุรกิจและการกำกับดูแลที่น่าสนใจ โดยศึกษาตัวเต็มมาถึงที่สำนักงานกสทช.เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา

ดังนั้น ในการประชุมบอร์ดนัดพิเศษวันที่ 20 ต.ค.นี้ จะมีการพิจารณาการตัดสินการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคอย่างแน่นอน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img