วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightหนุน“บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม”วุฒิสภาแบ่ง 2 ฝ่าย “ส.ว.เสรี”ชี้คนดี-เก่ง ต้องมีพรรคมีพวก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

หนุน“บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม”วุฒิสภาแบ่ง 2 ฝ่าย “ส.ว.เสรี”ชี้คนดี-เก่ง ต้องมีพรรคมีพวก

“ส.ว.เสรี” รับ “วุฒิฯ” แบ่งฝ่ายหนุน “ประยุทธ์-ประวิตร” เชื่อสุดท้ายเสียง ส.ว.ไม่แตก ยึดประเทศเป็นหลัก ชี้คนดี เก่ง ต้องหาคนมาอยู่ข้างกาย เผยพบคนซื้อเสียงอื้อแต่เอาผิดไม่ได้ เหตุก.ม.ลงโทษทั้งคนให้-รับ สร้างกลไกในการเอาคนผิดมาลงโทษไม่ได้

วันที่ 16 ม.ค.66 ที่รัฐสภา นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวถึงกรณีกระแสข่าวที่มีการแบ่งฝั่งของ ส.ว. เลือกหนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯว่า ส.ว. มีการแบ่งเป็น 2 ฝั่งจริง และยอมรับตามสภาพว่า ส.ว.ชุดนี้มาจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งใน คสช. มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายคน เพราะฉะนั้น การเสนอชื่อในการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากคนคนเดียว ซึ่งขณะนี้อาจมีแนวทางความเห็นหลายกลุ่ม หลายพวก แต่เชื่อว่าในท้ายที่สุด จะมีเสียงแตกออกไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งโดยรวมส่วนใหญ่วุฒิสภาจะต้องเอาประเทศ เอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง การที่จะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นหน้าที่สำคัญของ ส.ว. ซึ่งมีวาระ 5 ปี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมาทำหน้าที่นี้ ดังนั้น ต้องมีสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ หากเสนอคนดีเข้ามาก็ต้องสนับสนุน แต่หากดูแล้วมีปัญหาสร้างความแตกแยก อยู่ในกลุ่มทุจริตคอรัปชั่น เล่นการเมือง ไม่ได้เห็นผลประโยชน์ของบ้านเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจ เชื่อว่า ย้ำว่าส่วนใหญ่ ส.ว.จะเป็นไปในทางทิศทางเดียวกัน

เมื่อถามว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าจะมีการแข่งกัน ระหว่างพล.อ.ประยุทธ์และพล.อ.ประวิตรหรือไม่นั้น นายเสรี กล่าวว่า เมื่อเป็นพรรคแยกกันแล้วก็ต้องแข่งกันทำงาน แต่เวลาแข่งกันแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าสามารถที่จะเอาฝ่ายการเมืองของแต่ละพื้นที่มาอยู่ที่พรรคตนเองได้มากน้อยแค่ไหน

“คนเก่งอย่างไร คนดีอย่างไร ถ้าไม่มีหัวคะแนน ไม่มีพรรคไม่มีพวก ไม่เคยสร้างคุณงามความดีมาก่อน ก็ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ ดังนั้นเมื่อแยกกันเดินแล้ว แต่ละคนก็ต้องหาคนที่มีคะแนนเสียงมาอยู่กับพรรคของตนเอง ขึ้นอยู่กับว่ามากน้อยแค่ไหน และวิธีไหน และนั่นคือคำตอบว่าพรรคไหนได้คะแนนมากแค่ไหน”นายเสรี กล่าวและว่าแม้บางพรรคการเมืองมีนโยบายดี ประชาชนสนใจ ก็จะได้คะแนน แต่หากเสนอประเด็นเอาแต่สร้างความแตกแยก ปฏิรูปสถาบัน โดยไม่ได้ดูว่าวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างไร ตนคิดว่าก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้คะแนนเสียงจากประชาชน ดังนั้น แต่ละพรรคการเมืองก็ต้องมีกลยุทธ์และทิศทางของตนเอง เพื่อซื้อใจ ซื้อเสียงของประชาชนด้วยผลงานและนโยบายของตนเอง

นายเสรี กล่าวต่อว่า จากการที่ ส.ว. ลงไปสังเกตการณ์ การเลือกตั้งซ่อมแต่ละครั้ง มีการใช้เงินจำนวนมาก แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ยังทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐาน ประชาชนก็ไม่กล้าไปเป็นพยาน มองว่ามีโอกาสสูงที่จะใช้เงินในการเลือกตั้งครั้งหน้า ทั้งนี้ ต้องย้อนกลับไปดูกฎหมายว่าจะทำอย่างไร ไปๆมาๆ คนที่กล้าซื้อเสียง กล้าทำผิดกฏหมาย สุดท้ายชนะทุกที ต้องกลับมาดูกฎหมาย เพราะกฎหมายผิดทั้งคนให้และคนรับ จึงไม่มีใครกล้าแสดงตัวออกมาเป็นพยาน ตนจึงเสนอว่า ผู้ที่ซื้อเสียงถือว่าผิดกฎหมาย แต่ผู้ที่รับเงินถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงจะทำให้มีหลักฐานเอาผิดคนที่ซื้อเสียงได้ แต่ยังไม่มีใครกล้าทำ เพราะมองว่าเมืองไทยเก่งที่สร้างกลไกในการเอาคนผิดมาลงโทษไม่ได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img