“ศรีสุวรรณ” บุกสภาฯร้อง “ชวน” สอบ “รองปธ.สภาฯ” คนที่สอง ปมตั้งอดีตนักโทษมาเป็นผช.เลขา ถึง 2 ครั้ง ส่อผิดจริยธรรมร้ายแรง แฉข้อปล้นทรัพย์ ร่วมกันข่มขืนใจ กักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่น
วันที่ 6 ก.พ.2566 ที่รัฐสภานายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์อารักษ์ธรรมนูญ ได้เข้ายื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรผ่านนางผ่องศรี ธาราภูมิ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้วินิจฉัยและมีคำสั่งลงโทษกรณีที่รองประธานสภาฯคนที่ 2 ที่แต่งตั้งบุคคล ซึ่งมีประวัติถูกจำคุกในคดีอาญา ฐานปล้นทรัพย์ โดยมีอาวุธมาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาถึง 2 ครั้ง เข้าข่ายผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่
จากการตรวจสอบบุคคลดังกล่าวมีการกระทำผิดอาญามาแล้วหลายครั้งโดยมีการเปลี่ยนทั้งชื่อ นามสกุล เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง 3 ชื่อ 3 นามสกุล ล่าสุดเปลี่ยนเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 59 ซึ่งเป็นชื่อและนามสกุลที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ก่อนที่จะถูกขอให้แต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการของประธานสภาคนที่ 2 เมื่อวันที่ 29 พ.ค 62 และยื่นขอลาออกวันที่ 1 ส.ค.63 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาเป็นผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาคนที่ 2 อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ม.ค.64 และขอลาออกเมื่อวันที่ 1 ม.ค.65 รวมระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าว 2 ปี 3 เดือน 3 วันได้รับเงินเดือน 39,710 ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 3,780 รวม 4,3,490 บาทต่อเดือน ซึ่งได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งรวมทั้งหมดกว่า 1,174,230 บาท ซึ่งเงินดังกล่าวเป็นภาษีของประชาชนทั้งประเทศ
ทั้งนี้ตามพรบ.ระเบียบข้ราชการรัฐสภา พ.ศ.2554 ม.92 วรรคสาม ประกอบ ม.37 วรรดหนึ่ง ข (7) ระมูไว้ดเจนว่าข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองต้องไม่เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือ
เงินเดือนประจำ และไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เวันแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลทุโทษ
ดังนั้น บุคคลที่รองประธานสภาฯคนที่สองขอให้แต่งตั้งมาเป็นผู้ช่วยเลขานุการรอง ประธานสภาฯคนที่สองถึง 2 ครั้งตังกล่าว เดยถูกศาลอาญาพิพากษาให้จำคุกในความผิดฐานปลัน
ทรัพย์โดยมีอาวุธฯ, ร่วมกันข่มขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น, ร่วมกันมีอาวุเปิน และพกติดตัวไปเป็นนักโทษเด็ดขาดในคดีอาญา คดีคำที่ อ.300/2552 : คดีแดงที่ อ.3558/2552 คดีถึงที่สุดวันที่ 20 พ.ย.52 จำดุกตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค 2654 และถูกพันโทษมาเมื่อวันที่ 9 ก.พ.2559 นี้เอง
การที่รองประธานสภาฯคนที่สองขอให้แต่งตั้งบุดคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายมาดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว จึงอาจ
เข้าข่ายการฝ่าฝืนข้อบังดับว่าด้วยจริยธรรมและมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง