วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightพิษเงินบาทแข็ง! ฉุดส่งออกไตรมาสแรกติดลบ 3-5%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

พิษเงินบาทแข็ง! ฉุดส่งออกไตรมาสแรกติดลบ 3-5%

สรท.คาดไตรมาสแรกส่งออกติดลบ 3-5% ระบุค่าเงินบาทแข็งฉุดความสามารถแข่งขัน จี้แบงก์ชาติคุมที่ 34-35 บาท/ดอลลาร์ ส่วนแนวโน้มทั้งปีคาดว่า ขยายตัวได้ 1-2%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงเป้าหมายการส่งออกปี 2566 ว่า จะขยายตัว 1-2% มูลค่า 292,000 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง อาทิ ปริมาณสินค้าคงคลังของคู่ค้ายังอยู่ในระดับสูง ทำให้คู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อสินค้า, ต้นทุนการผลิตยังสูง จากค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการ และจำเป็นต้องส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้บริโภค, ราคาพลังงานในตลาดโลกยังคงมีความผันผวนตามสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ เงินบาทยังแข็งค่าขึ้นรวดเร็ว ทำให้สินค้าไทยแพงขึ้นกว่า โดยเงินบาทเดือนต.ค. 2565 อยู่ที่ 38 บาท/ดอลลาร์ ปัจจุบันแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 32-33 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 14% เมื่อเทียบกับคู่แข่งทั้งอินเดีย เวียดนาม จีน ทำให้ผู้ส่งออกขาดดุลจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งสรท.ได้ส่งข้อเสนอแนะไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ช่วยดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในอัตรา 34-35 บาท/ดอลลาร์

 ส่วนปัจจัยบวกที่ช่วยผลักดันการส่งออกของไทยได้ เช่น การเปิดประเทศของจีน, ค่าระวางเรือปรับตัวลดลงเกือบทุกเส้นทาง, ดัชนีภาคการผลิต Manufacturing PMI ในเดือนม.ค. 2566 ของไทยเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น

“การส่งออกครึ่งปีแรกยังทรงตัว จากเศรษฐกิจโลกชะลอ ต้องรอลุ้นครึ่งปีหลัง แต่ก็คาดว่าจะฟื้นตัวแบบหน่วง คาดว่าส่งออกเดือน ม.ค.จะโต 3-5% มูลค่า 22,000-22,500 ล้านดอลลาร์ ดีกว่าปีก่อน และในไตรมาสแรกคาดว่าจะติดลบ 3-5% มูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์ โตน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่วนไตรมาส 2 และไตรมาส 3 จะกลับมาขยายตัวดีขึ้น ตามทิศทางเศรษฐกิจของจีน ทั้งปีมั่นใจว่าจะโตได้ 1-2%”

นายชัยชาญกล่าวว่า สรท.ต้องการเสนอแนะให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ดังนี้ ขอให้ ธปท.รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนเร็วเกินกว่าประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมทั้งทบทวนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเพิ่มมาตรการช่วยเหลือ เอสเอ็มอี ในซัพพลายเชนการส่งออก, ควบคุมการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ออกมาตรการสนับสนุน เพื่ออุดหนุนการใช้พลังงานทางเลือก ส่วนค่าแรงขั้นต่ำขอให้คณะกรรมการไตรภาคีพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่แท้จริง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img