วันศุกร์, มกราคม 17, 2025
หน้าแรกNEWSกกต.เคาะเกณฑ์ค่าใชจ่ายเลือกตั้ง ยุบสภา-ครบเทอมทั้งแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กกต.เคาะเกณฑ์ค่าใชจ่ายเลือกตั้ง ยุบสภา-ครบเทอมทั้งแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ

กกต.เคาะเกณฑ์ค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง ยุบสภา-ครบเทอม ทั้งแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ ระบุค่าใช้จ่ายพรรค หากครบอายุสภาใช้ได้ 163 ล้าน ยุบสภาใช้ได้ 44 ล้าน ส่วนผู้สมัคร ส.ส.เขต หากครบอายุสภาใช้ได้ 7 ล้าน ยุบสภาใช้ได้ 1.9 ล้าน

เมื่อวันที่ 20 ก.พ.66 คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้พิจารณากำหนดจำนวนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 โดยให้ความเห็นชอบรูปแบบที่พรรคการเมืองแสดงความเห็นด้วยจำนวนมากที่สุดในการหารือร่วมกันระหว่าง กกต.และพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.ในการคำนวณค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือของพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.แต่ละครั้ง ให้คำนวณตามค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายจริงในการเลือกตั้ง ส.ส. โดยในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการครบอายุของสภาผู้แทนราษฎรให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่ 180 วัน ก่อนวันที่ กกต.ประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง ส่วนในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการยุบสภา หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ยุบสภาหรือวันที่ตำแหน่งว่างลง แล้วแต่กรณีจนถึงวันเลือกตั้ง

2.ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้ง โดยในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร ต้องใช้จ่ายไม่เกิน 7,000,000 บาท ส่วนในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการยุบสภา หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ต้องใช้จ่ายไม่เกิน 1,900,000 บาท 

3.พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้ง โดยในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร ต้องใช้จ่ายไม่เกิน 163,000,000 บาท ส่วนในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการยุบสภา หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ต้องใช้จ่าย ไม่เกิน 44,000,000 บาท ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อผู้ใดของพรรคการเมืองได้ใช้จ่ายไปเพื่อการเลือกตั้งเป็นจำนวนเท่าใด ให้นับรวมเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองด้วย

4.ในกรณีที่มีการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ในเขตเลือกตั้งใด ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ โดยในเขตเลือกตั้งใดที่ต้องดำเนินการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่ายไม่เกิน 950,000 บาท ส่วนในเขตเลือกตั้งใดที่ไม่ต้องดำเนินการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่ายไม่เกิน 630,000 บาท

5.ในกรณีที่ กกต. ประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ในเขตเลือกตั้งใด ที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็น ส.ส.ในเขตเลือกตั้งนั้น และต้องรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งไม่เกิน 950,000 บาท

6.ในกรณีที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว และมีเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละคนต้องใช้จ่ายในการเลือกตั้งไม่เกิน 1,900,000 บาท

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img