วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightส่อวุ่น! “ว่าที่ผู้สมัครส.ส.”เตรียมเอกสาร เสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี...ไม่ทัน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ส่อวุ่น! “ว่าที่ผู้สมัครส.ส.”เตรียมเอกสาร เสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี…ไม่ทัน

ผู้สมัครสส.บางพื้นที่ส่อแววไม่พร้อมสมัครรับเลือกตั้ง เหตุขาดเอกสารหลักฐานจ่ายภาษีเงินได้ส่วนบุคคลย้อนหลัง 3 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดให้วันที่ 3-7 เมษายน 2566 เวลา 08.30-16.30 น. เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และในวันที่ 4-6 เมษายน 2566 เวลา 08.30-16.30 น. และในวันที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 08.30-16.00 น. เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น

กกต. จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนี้

การสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ‘แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง’

ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้ง ยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งพร้อมเอกสารหลักฐาน ต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ณ สถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งกำหนด

1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

3.ใบรับรองแพทย์

4.หนังสือรับรองการส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งต้องมีคำรับรองด้วยว่าได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองแล้ว(ส.ส. 4/8)

5.หลักฐานแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2563, ปีภาษี 2564 และปีภาษี 2565 ของผู้สมัคร เว้นแต่เป็นผู้ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ ให้ทำหนังสือยืนยันการไม่ได้เสียภาษีพร้อมทั้งสาเหตุแห่งการไม่ได้เสียภาษี (ส.ส. 4/7)

6.รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5. เซนติเมตร จำนวนคนละ 10 รูป

7.เงินค่าธรรมเนียมการสมัครคนละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

8.เอกสารสรุปย่อประวัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

9.หลักฐานประกอบการสมัคร รับเลือกตั้งเพิ่มเติมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(9.1) หลักฐานซึ่งแสดงว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

(9.2) หลักฐานซึ่งแสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

(9.3) หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา

(9.4) หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ หรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี

การสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ‘แบบบัญชีรายชื่อ’

พรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ออกใบรับใบสมัครรับเลือกตั้งแล้ว หากประสงค์จะส่งสมาชิกพรรคการเมืองสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

ให้หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากหัวหน้าพรรคการเมือง ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพร้อมทั้งหลักฐานประกอบการสมัครของผู้สมัครแต่ละคน ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ดังนี้

1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

3.ใบรับรองแพทย์

4.หนังสือรับรองการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งต้องมีคำรับรองด้วยว่าได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองแล้ว (ส.ส. 4/8)

5.หนังสือยินยอมให้เสนอชื่อสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ

6.หลักฐานแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2563, ปีภาษี 2564 และปีภาษี 2565 ของผู้สมัคร เว้นแต่เป็นผู้ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ ให้ทำหนังสือยืนยันการไม่ได้เสียภาษีพร้อมทั้งสาเหตุแห่งการไม่ได้เสียภาษี (ส.ส. 4/7)

7.รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5 เซนติเมตร จำนวนคนละ 10 รูป

8.เงินค่าธรรมเนียมการสมัครคนละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

พรรคการเมืองที่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ได้ออกใบรับใบสมัครรับเลือกตั้งแล้ว

หากประสงค์จะแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แจ้งรายชื่อพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่เกิน 3 รายชื่อ ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ บุคคลใดจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองเดียว และจะสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือแบบบัญชีรายชื่อแบบใดแบบหนึ่งได้เพียงแบบเดียว และสมัครรับเลือกตั้งได้เพียงเขตเดียว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หลายพรรคได้ประสานให้ผู้สมัครทั้ง 2 ระบบเตรียมเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ให้ครบถ้วนในการสมัครช่วงเวลาที่กกต.กำหนด ปรากฏว่า บางพรรค บางพื้นที่ กลับต้องเจอกับปัญหาในการเตรียมเอกสารบางอย่าง โดยเฉพาะเอกสารที่เกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2563, ปีภาษี 2564 และปีภาษี 2565 ของผู้สมัคร เว้นแต่เป็นผู้ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ ให้ทำหนังสือยืนยันการไม่ได้เสียภาษีพร้อมทั้งสาเหตุแห่งการไม่ได้เสียภาษี (ส.ส. 4/7) เนื่องจากผู้สมัครบางคนบางพื้นที่ไม่ได้มีการเตรียมการเอาไว้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img