วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS‘กกต.’ส่งเรื่องให้‘ปลัดกทม.’สอบ ปม‘รทสช.’ยิงเลเซอร์หาเสียงบนสะพานพระราม8  
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘กกต.’ส่งเรื่องให้‘ปลัดกทม.’สอบ ปม‘รทสช.’ยิงเลเซอร์หาเสียงบนสะพานพระราม8  

อิทธิพร” ส่งเรื่องให้ปลัดกทม.สอบ ปมรทสช.ยิงเลเซอร์หาเสียงบนสะพานพระราม 8  เตือนทุกพรรคหาเสียงโค้งสุดท้าย ไม่หวั่นโดนฟ้องจัดเลือกตั้งพลาดเยอะ ลั่นพร้อมสู้คดี ด้าน “แสวง” เผย สอบแล้วไม่พบว่าไม่มีการจ่าหน้าซอง

เมื่อวันที่ 9 พ.ค.66 นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ยิงเลเซอร์หาเสียงบริเวณเสาบนสะพานพระราม 8 โดยระบุทั้งโลโก้พรรค และข้อความเชิญชวน เช่น “กาเบอร์ 22” ซึ่งเป็นเบอร์ของพรรค, มั่นคงมั่นคั่งลุงตู่อยู่ต่อ ว่า ขณะนี้ปลัดกทม.ในฐานะเจ้าของพื้นที่กำลังดำเนินการตรวจสอบแล้วว่า มีการขออออนุญาตใช้พื้นที่หาเสียงหรือไม่ ซึ่งปกติแล้วการใช้พื้นที่ราชการต้องขออนุญาตก่อน และเจ้าของสถานที่จะเป็นผู้พิจารณา หากตรวจสอบพบว่ามีความผิด ก็จะผิดเรื่องการวางป้ายหาเสียงที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและจะดำเนินคดีต่อไป ส่วนจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย หรือเหมาะสมหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่าพรรคการเมืองนั้นน่าจะเข้าใจเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี เพราะก่อนเปิดรับสมัครเลือกตั้งได้ชี้แจงกับพรรคการเมืองและผู้สมัครแล้ว โดยกรณีดังกล่าวเจ้าของพื้นที่คือ กทม. หากอนุญาตก็ต้องอนุญาตทั้งหมด เพื่อรักษาความเป็นกลาง ทั้งนี้ช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียง ขอเน้นย้ำไปยังพรรคการเมืองหาเสียงให้ถูกต้องตามระเบียบการหาเสียงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

นายอิทธิพร กล่าวต่อว่า ในการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค.นี้ ตั้งเป้าว่าจะมีประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 80% ขึ้นไป จึงหวังว่าประชาชนจะพร้อมใจกันออกมาใช้สิทธิ์โดยขอให้ดูกฎ กติกา ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้บัตรเสีย ซึ่งกกต.ตั้งเป้าว่าไม่อยากให้บัตรเสียเกิน 2% จึงจะพยายามทำทุกวิถีทาง สร้างความมั่นใจ สร้างความเข้าใจให้ทุกคนได้ทราบก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง ส่วนข้อผิพดลาดที่เกิดในการเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ก็จะตรวจสอบหาสาเหตุและหาวิธีแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิของผู้ที่ใช้สิทธิไปแล้ว และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ซึ่งได้กำชับและสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ว่าจุดไหนที่ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีก

เมื่อถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งล่วงหน้า ทำให้ กกต. ตกเป็นเป้าและถูกโจมตี นายอิทธิพร กล่าวว่า ตนไม่รู้สึกตกเป็นเป้าและถูกถล่ม แต่ถือเป็นสิ่งที่ดีที่ประชาชนมีการตรวจสอบการทำงานของกกต.และการเลือกตั้ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ถ้าไม่มีการตรวจสอบจากภาคประชาชนโดยสื่อมวลชน การทำงานของ กกต. อาจไม่ 100% อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการจ่าหน้าซองรหัสผิดพลาดนั้น มีน้อยมากเพราะคนที่ลงทะเบียนใช้สิทธิ 2.2 ล้านคน และที่กรอกผิดนั้นพบว่า มีการกรอกเขตเลือกตั้งผิด ไม่ใช่กรอกรหัสไปรษณีย์ แต่เมื่อมีการหย่อนบัตรลงไปในหีบเลือกตั้งแล้ว หลัง 17:00 น. ก็จะมีการตรวจสอบแต่ละหน้าซองว่าถูกต้องหรือไม่ และจะแก้ไขแล้วส่งไปในจุดหมายที่ควรจะเป็น

เมื่อถามถึงกรณีมีคนจะไปฟ้องร้องเอาผิด กกต. ตามมาตรา 157 หรือการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นโมฆะนั้น ประธานกกต. กล่าวว่า มองว่า เป็นแค่กระแสและความคิดของคนที่เห็นว่าการทำงานของ กกต. เป็นอย่างไร ซึ่งเป็นสิทธิที่ทำได้ กกต. ไม่ได้อยู่เหนือกฎหมาย ถ้าเห็นว่าการทำงานของ กกต. บกพร่องและต้องได้รับการพิจารณา ก็เป็นสิทธิ์ที่จะฟ้องได้ ทุกครั้งที่มีการฟ้องร้องก็ต้องพร้อมสู้คดี ที่สู้เพราะเราปฏิบัติงานโดยสุจริต ปฏิบัติตามกฎหมาย อีกทั้งตอนนี้ไม่มีปัจจัยที่ต้องเป็นห่วงว่าการเลือกตั้งจะเป็นโมฆะ และการเลือกตั้ง 14 พ.ค. เสียงลงคะแนนเป็นอย่างไรก็เป็นเช่นนั้น

เมื่อถามถึงความคืบหน้าการร้องเรียนเรื่องซื้อเสียง ที่เขตคลองสามวา กทม. นายอิทธิพร กล่าวว่า ทุกคำร้องที่มีอยู่ระหว่างการตรวจสอบ หากมีมูลก็จะรับเป็นคำร้องเข้าสู่การสืบสวนไต่สวนของ กกต. ต่อไป ขณะนี้มีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 101 เรื่อง เป็นเรื่องการให้เงินซื้อเสียง 38 เรื่อง การหลอกลวงใส่ร้าย 34 เรื่อง  ทั้งนี้หากมีการร้องเรียนที่ใดก็ต้องเข้าไปตรวจสอบในเบื้องต้น แล้วรวบรวมข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการประจำจังหวัด มีเวลาภายใน 20 วัน แต่หากยังไม่เสร็จ สามารถต่อเวลาได้อีกครั้งละ 15 วัน โดยขอมาทางเลขาฯ กกต. และต้องผ่านคณะอนุกรรมการ กกต. วินิจฉัยอีกครั้ง ถ้ามีเหตุเชื่อได้ว่ามีการทุจริตก็จะรับเป็นคำร้องและดำเนินการตามระเบียบต่อไป ส่วนจะดำเนินการเสร็จก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานเพราะหากเป็นคำร้องแล้วการซื้อเสียงถือว่าผิดมาตรา 73 (1) ต้องมีการดำเนินคดีอาญาให้ใบส้มหรือไม่ หรือต้องไปศาล ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับพวกร้องและผู้ถูกร้อง จะเร่งรัดไม่ได้ ให้เป็นไปตามขั้นตอน

ด้าน นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.กล่าวว่า เมื่อเกิดปัญหาการจ่าหน้าซองผิด สำนักงาน กกต. ได้แจ้งไปยัง ผอ.เขตเลือกตั้งทั่วประเทศว่า ก่อนมอบบัตรให้กับไปรษณีย์ให้ตรวจหน้าซองก่อน เพราะพบข้อผิดพลาด และเมื่อประสานไปทางไปรษณีย์ ก่อนรับให้ตรวจนับว่าหน้าซองมีการกรอกตัวเลขหรือไม่ ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วจนถึงวันนี้ ไม่พบกรณีไม่ได้จ่าหน้าซอง มีแต่การกรอกเกรดผิดก็ต้องมีกรรมการวินิจฉัย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img