วันเสาร์, กันยายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightดาหน้ากางกฎหมายแพ่งฯมัด‘พิธา’ชัดๆ เป็น‘เจ้าของหุ้นไอทีวี’โดยสมบูรณ์แล้ว!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ดาหน้ากางกฎหมายแพ่งฯมัด‘พิธา’ชัดๆ เป็น‘เจ้าของหุ้นไอทีวี’โดยสมบูรณ์แล้ว!

“สว.สมชาย-ทนายความ” ดาหน้ากางก.ม.แพ่งฯ ม.1599 จับโกหก “พิธา” ถือหุ้นไอทีวี ย้ำชัดๆ เป็นเจ้าของหุ้นโดยสมบูรณ์แล้ว ในฐานะทายาทโดยธรรมและการแสดงตนรับโอนหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดก

เมื่อวันที่ 10 พ.ค.66 นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสถา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กกรณีมีการตรวจสอบพบข้อมูลว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น ว่า #คดีพิธาถือหุ้นสื่อ #กกตต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ

คดีพิธา ถือหุ้นสื่อ itv 42,000 หุ้น จะอ้างเรื่องการเป็นผู้จัดการมรดกตั้งแต่บิดาเสีย เมื่อ 2549 ผ่านมา 17 ปียังไม่ได้แบ่งมรดก ก็ยังปฏิเสธการเป็นผู้ถือหุ้น itv ไม่ได้ เพราะ

1)การเป็นเจ้าของหุ้น เริ่มตั้งแต่เจ้ามรดกเสียขีวิต หุ้นนั้นตกเป็นของทายาททันทีที่เจ้ามรดกเสียชีวิต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้น ตกทอดแก่ทายาท ดังนั้น การที่นายพิธา อ้างว่า “ไม่ใช่หุ้นของตน เป็นกองมรดก ตนเพียงมีฐานะผู้จัดการมรดก” นั้นจึงไม่ถูกต้อง….เพราะ

(1)นายพิธา คือหนึ่งในทายาทโดยธรรม หุ้นนั้นตกเป็นของนายพิธาและทายาทอื่นด้วยทันทีที่บิดาเสียชีวิต

(2)นายพิธา แสดงตนรับโอนหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกแล้ว การเป็นเจ้าของหุ้นในส่วนของนายพิธา จึงสมบูรณ์แล้ว*

2)บริษัท ITV แจ้งว่า ยังประกอบกิจการอยู่และมีรายงานแสดงผลของกิจการไม่ว่า จะขาดทุนหรือกำไรก็ตาม ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยเป็นอื่นได้ว่า นายพิธา เป็นผู้ถือหุ้น itv ที่เป็นสื่อมวลชน อันเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยคดีธนาธร ถือหุ้นสื่อมวลชน วีลักซ์มีเดีย ทำให้ขาดคุณสมบัติและถูกตัดสิทธิทางการเมือง

การอ้างว่า ถือหุ้นข้างน้อยไม่อาจครอบงำกิจการได้ และจะต่อสู้ในเรื่องการขัดกันระหว่างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในอดีตกับคำวินิจฉัยศาลฎีกาปัจจุบัน

ในคดีนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ต่อสู้ได้ ส่วนที่ศาลจะเห็นชอบด้วยและวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ด้วยหรือไม่ เป็นกรณีีที่ต้องไปต่อสู้กัน

ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. จะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดเท่านั้นครับ ไม่มีทางเป็นอื่น

#จบข่าว

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

ทางด้าน น.ส.วรพรรณ เบญจวรกุล หรือ “ทนายเล็ก” โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า บุคคลใดถึงแก่ความตาย มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ทันทีที่ตาย…

ผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิในทรัพย์สินที่เป็นมรดกร่วมกับทายาทอื่น ทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ให้ถือว่าผู้จัดการมรดกถือไว้แทนทายาทอื่นด้วย…

หุ้นที่เป็นมรดกตกทอด ผู้จัดการมรดกเข้าถือหุ้นแทนทายาทคนอื่นด้วยก็จริง แต่ตัวผู้จัดการมรดกเองก็คือทายาทโดยธรรมคนหนึ่งที่มีสิทธิในหุ้นที่เป็นกองมรดกของบิดาผู้วายชนม์ ดังนั้นก็ถือว่าผู้จัดการมรดกเข้าถือครองหุ้นในส่วนของตนเช่นกัน ตามอัตราส่วนของหุ้นที่เป็นมรดกหารด้วยจำนวนทายาทโดยธรรม

การเป็นเจ้าของหุ้น เริ่มตั้งแต่เจ้ามรดกเสียชีวิต หุ้นนั้นก็จะตกเป็นของทายาททันทีที่เจ้ามรดกเสียชีวิตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท

ดังนั้น การที่นายพิธา อ้างว่า “ไม่ใช่หุ้นของผม เป็นกองมรดก ผมเพียงมีฐานะผู้จัดการมรดก” นั้นจึงไม่ถูกต้อง….เพราะ

1.นายพิธา คือหนึ่งในทายาทโดยธรรม หุ้นนั้นตกเป็นของนายพิธาและทายาทอื่นด้วยทันทีที่บิดาเสียชีวิต

2.นายพิธาแสดงตนรับโอนหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกแล้ว
การเป็นเจ้าของหุ้นในส่วนของนายพิธา จึงสมบูรณ์แล้ว (หลักฐานชัดเจนแบบนี้….คงรอดยาก)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img