วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSว่าด้วยเรื่อง “สมณศักดิ์”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ว่าด้วยเรื่อง “สมณศักดิ์”

การถวายสมณศักดิ์ แด่ พระภิกษุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า เป็นภิกษุผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบในสมณเพศ ล่าสุดนี้ คือ “พระเทพวัชรบัณฑิต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ก่อนหน้านั่นในรัชกาลปัจจุบันพระองค์ก็ทรงถวายให้อีกหลายรูป ซึ่งธรรมเนียมปฎิบัติไม่เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 

ยุคในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงถวายเนื่องในวาระสำคัญ ๆ เช่น “วันแม่แห่งชาติ หรือ “วันพ่อแห่งชาติ หรือวาระสำคัญ ๆ อย่างอื่น

#เรื่องสมณศักดิ์..เป็นเรื่องของพระราชอำนาจและเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

ประเทศไทยนั้นระบบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พอมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาระบบสมณศักดิ์ได้รับการปรับให้มีระดับชั้นเพิ่มขึ้นเป็น 3 ระดับคือ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชคณะหรือพระราชาคณะ และพระครู

 สำหรับปัจจุบันลำดับสมณศักดิ์มีประมาณ 68 ลำดับชั้นตั้งแต่พระครูชั้นประทวนจนถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า

ความจริงเรื่อง สมณศักดิ์  นอกจากจะถวายแด่พระภิกษุที่ “ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบแล้ว อีกประการหนึ่งก็ถือว่า “เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ของพระมหากษัตริย์ในยุคก่อน ที่ต้องการจะควบคุมการแข่งข้อและควบคุมพระสงฆ์ให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจ

และบางยุคบางสมัย การถวายสมณศักดิ์ ก็เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทำงานต่างพระเนตร พระกรรณ ในถิ่นห่างไกลจากเมืองหลวง

ระบบสมณศักดิ์ ถือได้ว่า “เป็นเครื่องมือที่ดียิ่ง ในการ “เชื่อมโยงและสร้างความผูกพันเกื้อกูลกัน ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันสงฆ์

ในขณะที่พระภิกษุสงฆ์เมื่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ก็จะแสดงความจงรักภักดีและอุทิศตนเพื่อทำงานรับใช้พระศาสนาและประเทศชาติ

#ยุคที่มีการเรียกร้องให้ยกเลิกสมณศักดิ์

“เปรียญสิบ เคยเสนอกับความเห็นต่อ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ คุณไพบูลย์ นิติตะวัน ว่า…

“สมณศักดิ์ยกเลิกไม่ได้”

เพราะสมณศักดิ์ ในทางการเมือง ถือว่า เป็นเครื่องมือเดียวที่เชื่อมโยงระหว่าง สถาบันสงฆ์และสถาบันพระมหากษัตริย์

และ “สร้างขวัญกำลังใจ ในการที่จะทำงานของพระภิกษุสงฆ์

พระภิกษุถือว่าเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่ดียิ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการให้ชาวพุทธ แสดงความจงรักภักดีโดยผ่าน คำเทศน์และคำสอนอิงหลักธรรมะในพระพุทธศาสนา เช่น ทศพิธราชธรรม. ราชสังคหวัตถุ 4, ความเป็นสมมติเทพหรือพระโพธิสัตว์ ดังนี้เป็นต้น

และพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของประเทศไทย ก็น้อมรับหลักธรรมะเหล่านี้มาปฎิบัติ

ในทางนามธรรม..ลักษณะคล้ายถ่วงดุลและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

ยุคหลัง ๆ ระบบสมณศักดิ์ ถูกกล่าวขานในทางลบค่อนข้างมากประเภท “สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อในตน กินกัดเนื้อเหล็ก จนกร่อนขร้ำ, บาปเกิดแต่ตนคนเป็นบาป บาปย่อมทำโทษซ้ำใส่ผู้บาปเอง

ในหลวงรัชกาลปัจจุบันจึง “ทรงเลือกถวายเฉพาะองค์ ตามที่พระองค์ทรงเห็นว่าสมควรและเหมาะสม

“ปรียญสิบ ยังยึดถือคติความเชื่อของชนชั้นนำยุคโบราณที่ว่า

ทหารมีหน้าที่ป้องกันรั้วของประเทศ…ส่วนพระสงฆ์มีหน้าที่รักษาความสงบสุขของประชาชน??

……………………………….

คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง

โดย  “เปรียญ10” : [email protected]

ขอบคุณภาพเพจ :        พัดยศ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img