วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สธ.”ชี้“FU.1”แพร่เร็วแต่ยังไม่พบรุนแรง แนะ“กลุ่มเสี่ยง 608”บูสต์วัคซีนป้องกัน!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.”ชี้“FU.1”แพร่เร็วแต่ยังไม่พบรุนแรง แนะ“กลุ่มเสี่ยง 608”บูสต์วัคซีนป้องกัน!

กรมวิทยาศาสตร์ฯเผยเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ต่อเนื่อง เพราะธรรมชาติของไวรัสมีการกลายพันธุ์  “FU.1” เจอในไทยแล้ว 1 ราย แต่ไม่รุนแรง

เมื่อวันที่ 18 พ.ค.66 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกประสานความร่วมมือเฝ้าติดตามสายพันธุ์โควิด-19 “FU.1” หรือ XBB.1.16.1.1 หลานของ XBB.1.16 ซึ่งพบมีความได้เปรียบในการเติบโตและแพร่ระบาดสูงกว่า XBB.1.16 ถึงร้อยละ 50 และประเทศไทยพบแล้ว 1 ราย โดยทางกรมวิทยาศาสตร์ฯได้เฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ต่อเนื่อง โดยสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมโควิด-19 แล้ว รายงานเข้าสู่ฐานข้อมูลโควิดโลก หรือจีเสด (GISAID)

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์

สำหรับ FU.1 เท่าที่ติดตามแม้จะมีการแพร่ระบาดเร็ว แต่ยังไม่พบความรุนแรงของโรคที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมาก ทั้งนี้ การแพร่ระบาดเร็วอาจจะมาจากปัจจัยอื่นๆ เช่น มาตรการป้องกันผ่อนคลายมาก มีการรวมตัวทำกิจกรรมมากของผู้คนที่มีมากขึ้น รวมถึงคนสวมหน้ากากอนามัยน้อยลง เพราะบางคนก็เห็นว่าเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา

“ไม่อยากให้กังวล เพราะธรรมชาติของไวรัสมีการกลายพันธุ์ ไปหลายสายพันธุ์จำนวนมาก กรมวิทยาศาสตร์ฯยังติดตามเฝ้าระวังต่อเนื่อง” นพ.ศุภกิจกล่าว

ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 ว่า ขณะนี้โควิด-19 กำลังขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ หลังที่กลายเป็นโรคประจำถิ่น คนถอดหน้ากากอนามัย และมีกิจกรรมกันมากขึ้น ประกอบกับภูมิคุ้มกันเริ่มลดลง เพราะคนฉีดวัคซีนมานาน หลายคนฉีดวัคซีนเกิน 1 ปีหลังจากฉีดเข็มสุดท้ายทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่ม

ดังนั้น ยังจำเป็นต้องมีมาตรการ อาทิ 1.ทุกคนต้องมีภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อได้ต่อเนื่อง แม้ตอนนี้จะเป็นเชื้อโอมิครอนที่ทำให้มีอาการน้อยก็ตาม แต่หากภูมิคุ้มกันน้อย และเป็นกลุ่มเสี่ยง ก็มีโอกาสทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ดังนั้น จึงต้องรณรงค์ต่อเนื่องคนกลุ่มเสี่ยงขอให้มาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (บูสเตอร์โดส) หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB)

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์

นพ.จักรรัฐกล่าวว่า 2.กลุ่มเสี่ยงที่ฉีดวัคซีนมานานแล้ว หรือเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 หากพบว่าติดเชื้อขอให้รีบไปพบแพทย์ ได้รับยาต้านไวรัสเพื่อรักษาให้ทัน และ 3.เฝ้าระวังต่อเนื่อง ในกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นคลัสเตอร์ หรือกลุ่มต่างชาติ ซึ่งขณะนี้กรมควบคุมโรคและกรมวิทยาศาสตร์ฯได้ดูแลร่วมกันหากมีคลัสเตอร์ หรือกลุ่มชาวต่างชาติเข้ามาก็จะเก็บตัวอย่างเพื่อส่งเชื้อตรวจหาสายพันธุ์ อย่างกรณีชาวต่างชาติได้ร่วมกับโรงพยาบาลเอกชนในการส่งตัวอย่างเพื่อตรวจหาสายพันธุ์เช่นกัน สำหรับตอนนี้โควิด-19 ยังเป็นสายพันธุ์ XBB ยังไม่ใช่ตัวใหม่ ซึ่งเราก็ติดตามต่อเนื่อง

“วันนี้เปิดเทอม ดังนั้น กลุ่มเด็กจึงเป็นอีกกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังและคาดว่าจะมีการติดเชื้อเพิ่ม ซึ่งก่อนหน้านี้กรมควบคุมโรคได้มีข้อแนะนำผ่านกระทรวงศึกษาธิการ (สธ.) ไปถึงโรงเรียน หากพบเด็กที่มีอาการก็ขอให้ตรวจ ATK โดยเด็กนักเรียนที่ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องหยุดเรียนขึ้นอยู่กับมาตรการของโรงเรียนนั้นว่า หากไม่มีอาการมากสามารถแยกห้องเรียน หรือแยกไม่ให้รับประทานอาหารร่วมกับเพื่อนหรือบุคคลอื่นๆ หากติดเชื้อเป็นกลุ่มก็สามารถแยกห้องในการเรียนการสอนหรือเรียนออนไลน์ได้ อยู่ที่ความเหมาะสมของสถานการณ์และโรงเรียนจะออกมาตรการ” นพ.จักรรัฐกล่าว

ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยากล่าวว่า สำหรับความเสี่ยงติดเชื้อในกลุ่มเด็ก คือ การรับประทานอาหาร กิจกรรมเล่นกัน ซึ่งที่ผ่านมามีรายงานการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ประปรายเข้ามาที่กรมควบคุมโรค ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด อย่างในโรงเรียนก็จะเป็นระดับประถมศึกษา แต่กลุ่มเด็กไม่ได้น่าห่วงมาก เพราะอาการไม่มากและหายได้ แต่ที่น่าห่วงคือ กลุ่มผู้สูงอายุที่เด็กลูกหลานจะนำเชื้อไปติดปู่ย่า ตายาย ซึ่งหากกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัวไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกัน หรือฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นก็จะเสี่ยงอาการรุนแรงและอันตรายได้ ดังนั้น หากผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อขอให้เข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัวจะดีที่สุด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img