วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS'หญิงหน่อย'แนะเร่งช่วยSMEs รักษาสภาพงาน แก้ไขกม.ที่เป็นอุปสรรค
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘หญิงหน่อย’แนะเร่งช่วยSMEs รักษาสภาพงาน แก้ไขกม.ที่เป็นอุปสรรค

“คุณหญิงสุดารัตน์”เดินถนนข้าวสาร พบ การค้าเงียบเหงา ไร้นักท่องเที่ยว ขณะที่วงเสวนา ชี้ เยียวยาขาดประสิทธิภาพ มาตรการไม่ตรงความต้องการคนตัวเล็ก แนะเร่งช่วยSMEs รักษาสภาพงาน แก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรค

เมื่อวันที่ 24 ก.พ. สถาบันสร้างไทย จัดเสวนานักดนตรี และผู้ประกอบการ เพื่อศึกษา ผลกระทบเชิงลึกจากมาตรการของรัฐต่อตัวธุรกิจ พร้อมหามาตราการหรือแนวทางที่ภาคธุรกิจอยากนำเสนอต่อภาครัฐเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปได้  รวมถึงศึกษาความเสี่ยงที่ต้องกังวล หากกลับมาเปิดดำเนินการ และการจัดหา สวัสดิการที่ควรมีสำหรับอาชีพอิสระ พร้อมเดินสำรวจ ธุรกิจร้านค้าย่านถนนข้าวสาร ที่เป็นไปอย่างเงียบเหงา ไร้นักท่องเที่ยว ขณะที่ผู้ประกอบการ ร้านค้าปิดตัว หนีวิกฤตเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์  ประธานกลุ่มสร้างไทย เรียกร้องให้ภาครัฐ มองผู้เดือดร้อนทุกกลุ่ม เห็นสภาพความเป็นจริง ซึ่งกำลังยากลำบาก สำหรับคนตั้งใจทำกิน ขณะเดียวกันที่ผ่านมาเคยเสนอว่า เงินช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการล้มและรักษาตำแหน่งงานให้กับลูกจ้าง  เงินยังมีอยู่อยากให้เกาให้ถูกที่คัน โดยหลักการคือต้องให้รักษาตำแหน่งงาน และผู้ประกอบการสามารถอยู่ได้ พร้อมระบุด้วยว่า การขายแอลกอฮอล์  ก็ไม่เปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะกฎหมายที่ระบุว่าการดำเนินการต้องผลิตในปริมาณไม่น้อยกว่า 1แสนลิตร จึงต้องตั้ง คำถามว่ามีวิธีคิดต่อเรื่องดังกล่าวอย่างไร

คุณหญิงสุดารัตน์ย้ำว่า ภาครัฐไม่ได้ขาดเม็ดเงินแต่”เกาไม่ถูกที่คัน” แม้แต่การแจกเงินก็ยังไม่มีประสิทธิภาพ พร้อมย้ำว่า สิ่งที่ต้องทำเพื่อการอก้ปัญหา คือการรักษาสภาพงานไม่ให้คนตกงานไปมากกว่านี้ รักษา SMEs อย่าให้ล้ม​ โดยเฉพาะเรื่อง Soft Loan และเงินช่วยเหลือขอให้ลงไปที่ผู้เดือดร้อนให้ตรงคนที่เดือดร้อนอย่างทั่วถึง ต้องเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการ โดยเฉพาะขั้นตอนการลงทะเบียน เพื่อให้เงินช่วยเหลือ ลงไปถึงผู้เดือดร้อน​ และควรจ่ายเป็นเงินสด 

คุณหญิงสุดารัตน์ ระบุด้วยว่า การออกกฎหมาย การขอใบอนุญาตยังเป็นอุปสรรค เน้นการควบคุม มองผู้ประกอบการเป็นผู้ร้าย ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวให้รวดเร็วที่สุดคือการ ออกพ.ร.ก.มายกเลิกข้อบังคับ หรือใบอนุญาตที่เป็นอุปสรรค ต่อการทำมาหากิน โดยปล่อยให้ผู้ประกอบการเดินหน้าประกอบอาชีพ แต่อย่าทำผิดกฎหมาย โดยดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการขออนุญาตต่างๆ ให้ถูกต้อง

ด้านนายธนากร คุปตจิตต์ นายกสมาคมเหล้าเบียร์ ระบุว่าปัจจุบัน ผู้ประกอบการ คนทำมาหากิน จะไม่ตายเพราะโควิด แต่ตายเพราะไม่มีจะกิน จึงขอให้รัฐทบทวนมาตรการที่ออกมา และขอให้ลงมาดูข้อเท็จจริง ว่าแต่ละพื้นที่มีมาตรการในการดูแลอย่างไร อนุญาตให้ขายแอลกอฮอลอย่างไรให้เหมาะสม ส่วนการขายแอลกอฮอล์ ออนไลน์ ต้องมีการควบคุมอย่างเหมาะสม ไม่ใช่จัดการในลักษณะ ที่ออกมาตรการกำจัดการขาย หรือปิดกันการขายของผู้ประกอบการรายย่อย

ขณะที่การออกกฏหมาย ก็ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งการออกมาตรการ ต้องทำให้คนค้าขายอยู่ได้  ซึ่งผู้บริหารประเทศ จะต้องมีวิสัยทัศน์ ขณะเดียวกันเห็นว่า ภาษีที่เรียกเก็บจากยอดขายหนักมาก สำหรับผู้ประกอบการ ส่วนร้านค้า ที่พัก โฮสเทล หรือร้านนวด ลำบากมาก แต่คนเหล้านี้ก็พยายามปรับเปลี่ยนตัวเอง แต่ปัญหาสำคัญ คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถือเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาดูแต่ละส่วนอย่างละเอียด

นายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบการค้าถนนข้าวสาร เผย ถนนข้าวสาร ไม่เคยเงียบแบบนี้ ต่างชาติหายทำให้ธุรกิจการค้าตกลงกว่า ร้อยละ80 จึงต้องมาคิดว่าจะทำอย่าไรให้ ร้อยละ20ซึ่งเป็นคนไทยกลับมา แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะยังมีข้อจำกัดในหลายเรื่อง แม้ล่าสุดจะมีการผ่อนคลายให้กลับมาเปิดได้ถึง23.00น.ก็ตาม เพราะสถานบันเทิงยังไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ โดยเฉพาะผับบาร์ ซึ่งเวลาดังกล่าว จะได้ประโยชน์ เฉพาะในส่วนของร้านอาหารเท่านั้น

อย่างไรก็ตามมองว่าผู้ประกอบการพยายามตอบสนองมาตรการของภาครัฐ และพยายามปรับตัว แต่รัฐบาลก็ควรมีแผนบริหารจัดการที่ดีกว่า ออกมาตการที่ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรกลับไปทบทวน และขอให้รัฐปรับแก้ไขกฎหมาย ให้เอื้อต่อการทำมาหากิน ให้สามารถแข่งขัน กับเพื่อนประเทศเพื่อนบ้านได้ โดยเฉพาะในแง่ของธุรกิจท่องเที่ยว และขอให้ทบทวนกฏหมายว่าจะบริหารจัดการอย่างไร ในแต่ละส่วนให้เหมาะสม ไม่ใช่เหมารวมทุกธุรกิจ

นายไตรเทพ ศรีกาลรา นักดนตรีอิสระ เผยว่ารายได้หายไปกว่าร้อยละ90  แต่ค่าใช้จ่าย ยังเท่าเดิม  ถือเป็นช่วงที่ลำบากที่สุดในรอบ17ปี รัฐต้องเข้ามาช่วยเยียวยา แบ่งเบาผู้ประกอบการ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการช่วยเหบือจากภาครัฐ แม้แต่เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ก็ไม่ถึงผู้ประกอบการ

ด้านผู้ร่วมเสวนา เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมาย ต้องเชื่อมต่อการทำมาหากินของประชาชนไม่ใช่ออกกฎหมายเพื่อบังคับให้ประชาชน ทำตามความต้องการของผู้มีอำนาจ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img