วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightปมร้อน:ระเบียบกรมราชทัณฑ์เอื้อทักษิณ ‘ราชทัณฑ์’แจงข่าวลือติดคุกนอกเรือนจำ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ปมร้อน:ระเบียบกรมราชทัณฑ์เอื้อทักษิณ ‘ราชทัณฑ์’แจงข่าวลือติดคุกนอกเรือนจำ

‘โฆษกราชทัณฑ์’ แจงข่าวลือปมร้อน ‘ระเบียบกรมราชทัณฑ์ เอื้อ ‘ทักษิณ’ อดีตนายกฯ ติดคุกนอกเรือนจำ เผยวัตถุประสงค์มีเพื่อรองรับ พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำผิดซ้ำฯ สำหรับผู้พ้นโทษที่ถูกใช้มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ

สืบเนื่องจากกรณีวานนี้ (7 มิ.ย.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ “ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ.2566” ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมระเบียบกรมราชทัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน ให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2510 อธิบดีกรมราชทัณฑ์จึงออกระเบียบไว้ อีกทั้งต่อมามีกระแสข่าวว่าการออกระเบียบดังกล่าวเปิดช่องให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้ขาดย้ายผู้ถูกคุมขังนอกเรือนจำ อย่างนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเจ้าตัวเคยระบุว่าจะกลับมายังประเทศไทยในเดือนกรกฎาคมและพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนถึงอำนาจของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ บางส่วนเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสาระสำคัญและผลบังคับใช้ของระเบียบดังกล่าว นั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. นายสิทธิ สุธีวงศ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์และในฐานะโฆษก ชี้แจงว่า ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ.2566 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2510 เพื่อกำหนดขั้นตอนและวิธีการดูแลสวัสดิภาพของ “ผู้ถูกกักกัน” ตามกฎหมาย โดยมาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้ใช้วิธีการกักกันกับผู้ที่เคยถูกศาลพิพากษาให้จำคุกหรือกักกันมาแล้วและศาลเห็นว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย ซึ่งหากผู้นั้นยังมีโทษจำคุกหรือกักขังที่จะต้องรับอยู่ก็ให้จำคุกหรือกักขังเสียก่อน และให้นับวันถัดจากวันที่พ้นโทษจำคุกหรือพ้นจากการกักขังเป็นวันเริ่มกักกัน ดังนั้น “การกักกัน” จึงมิใช่การจำคุกนอกเรือนจำแต่อย่างใด แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่ศาลอาจมีคำพิพากษาเพิ่มเติมจากโทษทางอาญาที่ลงแก่จำเลย 

โฆษกกรมราชทัณฑ์ เผยอีกว่า ส่วน “ผู้ต้องขัง” ซึ่งเป็นผู้ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล จะต้องถูกควบคุมตัวไว้ในเรือนจำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดปัจจุบันกรมราชทัณฑ์มีผู้ถูกกักกันอยู่ในความดูแล จำนวน 57 ราย (เป็นชาย 51 และหญิง 6 ราย ) และจากสถิติที่ผ่านมาส่วนใหญ่ผู้ถูกกักกันเป็นบุคคลจรจัด ไร้บ้าน ทำความผิดซ้ำในคดีลักทรัพย์ (ลักเล็กขโมยน้อย) เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2566 กำหนดให้กรมราชทัณฑ์เป็นผู้รับผิดชอบในการบังคับตามคำสั่งคุมขังภายหลังพ้นโทษหรือคำสั่งคุมขังฉุกเฉินตามที่ศาลกำหนด โดยให้นำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2510 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ด้วยเหตุนี้กรมราชทัณฑ์จึงจำเป็นต้องประกาศใช้ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถูกกักกัน พ.ศ.2566 เพื่อให้มีมาตรการในการดูแลสวัสดิภาพของผู้ถูกกักกันและบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้ใช้มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ หรือคำสั่งคุมขังฉุกเฉินให้เกิดความเหมาะสมและอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนอย่างหลงเชื่อข่าวลือที่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง และขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องผ่านเพจประชาสัมพันธ์ของกรมราชทัณฑ์

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับคดีความของนายทักษิณ โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ได้มีคำพิพากษาไปแล้ว ประกอบด้วย 1.คดีปล่อยกู้แบงค์กรุงไทย อนุมัติการปล่อยกู้เงินให้กับ EXIM BANK ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี ไม่รอลงอาญา 2.คดีออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว เลขท้าย 3 ตัว โดยมิชอบ หรือ คดีทุจริตหวยบนดิน ศาลตัดสินจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา 3.คดีแก้ไขค่าสัมปทานมือถือเอื้อ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ศาลฎีกานักการเมืองลงโทษจำคุก 5 ปี ไม่รอลงอาญา และทั้ง 3 คดีนี้ศาลมีคำสั่งออกหมายจับให้นายทักษิณกลับมาต้องคำพิพากษา และถ้าหากนายทักษิณเดินทางกลับมายังประเทศไทย จะส่งผลให้เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมตัวและนำตัวเข้าเรือนจำทันที

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img