วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightส.ว.ส่วนใหญ่เข้าใจคำวินิจฉัยศาลรธน. “ไม่อยากยุ่ง”จึงไม่ประสงค์ลงคะแนน!!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ส.ว.ส่วนใหญ่เข้าใจคำวินิจฉัยศาลรธน. “ไม่อยากยุ่ง”จึงไม่ประสงค์ลงคะแนน!!

“สิงห์ศึก” แจง “ส.ว.ส่วนใหญ่” เข้าใจคำวินิจฉัยศาลรธน. จึงไม่ประสงค์ลงคะแนน โหวตวาระ 3 เพราะไม่อยากยุ่งเกี่ยว แต่คนออกเสียงเห็นด้วย ต้องรับผิดชอบหากถูกร้องไปยัง ป.ป.ช.

กรณีที่ประชุมร่วมรัฐสภา ลงมติโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ผลปรากฏว่า มีส.ส.เห็นชอบ 206 เสียง ส.ว.2 เสียง รวมเป็น 208 เสียง, ไม่เห็นชอบ ส.ส.ไม่มี ส.ว. 4 คน รวม 4 เสียง, งดออกเสียง ส.ส. 10 เสียง ส.ว 84 เสียง รวม 94 เสียง, ไม่ประสงค์ลงคะแนน ส.ส. 9 เสียง สว. 127 เสียง รวม 136 เสียง ซึ่งเสียงเห็นชอบมีไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา หรือ 369 เสียง ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติไม่เห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่.. พศ… มาตรา256 เพิ่มเติมมาตรา 15/1 ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญนั้น

ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 18 มี.ค.64 ที่รัฐสภา พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด ผูกพันทุกองค์กร และการดำเนินการหมวด 15/1 ถือเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะต้องไปทำประชามติ ถามประชาชน แต่ขณะนี้ทุกอย่างผ่านขั้นตอนไปหมดแล้ว เดินหน้าต่อก็ไม่ได้ ดังนั้นญัตติของนายสมชาย แสวงการ และนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. ที่ขอให้ไม่ลงมติวาระ3 ถูกต้องแล้ว เพื่อป้องกันความผิดพลาด ส่วนญัตติของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง ก็เป็นความคิดของนายจุรินทร์ แต่เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณามาแล้ว หากส่งจะเป็นการวินิจฉัยซ้ำ ส่วนญัตติของนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย และนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่ให้เดินหน้าโหวตวาระ 3 ก็เป็นไปตามระเบียบวาระอยู่แล้ว ดังนั้นนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เห็นว่าเมื่อมีปัญหามาก ก็ขอให้ดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา จึงได้เสนอญัตติให้กลับไปดำเนินการตามระเบียบวาระโหวตวาระ 3 และเมื่อโหวตแล้ว นายไพบูลย์ชนะ 3 ญัตติก่อนหน้านี้ ก็ต้องตกไปตามข้อบังคับ

“เมื่อโหวตวาระ 3 แล้ว สมาชิกคนใดที่ลงมติเห็นด้วย ก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง หากมีคนฟ้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดังนั้นจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ ป.ป.ช.จะพิจารณา จะเห็นได้ว่าสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ ลงมติไม่ประสงค์ขอลงคะแนน เพราะไม่อยากยุ่ง เนื่องจากรู้ว่าผิดและขัดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แม้แต่สมาชิกที่งดออกเสียง อาจจะไม่ผิด แต่หากมีการยื่นร้อง ป.ป.ช. สามารถเรียกสมาชิกที่งดออกเสียงไปเป็นพยานก็ได้ฟั พล.อ.สิงห์ศึกกล่าว

เมื่อถามว่า การที่ส.ว. ไม่กล้าโหวตวาระ 3 เพราะเกรงขัดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ พล.อ.สิงห์ศึก กล่าวว่า ไม่ใช่ไม่กล้า แต่ส.ว.ส่วนใหญ่เข้าใจในคำวินิจฉัย อย่าลืมว่า ส.ว. มีความเป็นกลางทางการเมือง ต้องยึดผลประโยชน์ประเทศชาติและประชาชนและคิดถึงว่าอะไรคือความถูกต้อง โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญที่เป็นแม่บทของกฎหมายและนิติบัญญัติ ซึ่งจะไปเดินหน้าต่อได้อย่างไร ส่วนใหญ่เขารู้ว่ามันไม่ถูก เพราะศาลวินิจฉัยแล้วว่าไม่ถูกต้อง เมื่อรู้ว่าไม่ถูกตัองก็ต้องหยุดเดิน หรือไม่ทำก็เท่านั้นเอง ไม่ได้มีอย่างอื่นเลย

เมื่อถามถึงทางออกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากนี้จะเดินหน้าอย่างไร พล.อ.สิงห์ศึก กล่าวว่า รัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขได้ทุกเวลาโดยรัฐสภา คือแก้ไขเป็นรายมาตรา ตรงไหนสถานการณ์ไม่เหมาะสมอยากเสนอแก้ไขก็เสนอมาได้ตลอดเวลา แต่ถ้าจะรื้อรัฐธรรมนูญใหม่ทำไม่ได้ และหากเสนอเป็นรายมาตราเข้ามา ถ้าจะแก้ได้ทันทีทันใด วันนี้หรือพรุ่งนี้ ส.ว. ก็พร้อมสนับสนุน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

ว่าด้วยเรื่อง พัฒนา“พุทธมณฑล”

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img