วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 17, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightนายกฯชี้ 7-8 ปีที่ผ่านมาสังคมแตกแยก แนะให้พูดคุยด้วยภาษาที่ยอมรับกันได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นายกฯชี้ 7-8 ปีที่ผ่านมาสังคมแตกแยก แนะให้พูดคุยด้วยภาษาที่ยอมรับกันได้

นายกฯปาฐกถา Next Chapter ประเทศไทย แนะเห็นต่างคุยด้วยภาษาที่ยอมรับกันได้ไม่ขัดแย้ง ยอมรับต้องปรับปรุงตัวเองเป็นคนพูดห้วนสั้น อาจทำเกิดความขัดแย้ง

เมื่อเวลา 07.51 น. วันที่ 29 ก.ย.66 ที่โรงแรมโรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมงานเสวนา “ถอดรหัสลงทุน ก้าวข้ามวิกฤต” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

โดยนายกฯ กล่าวปาฐกถาว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงที่สุดประเทศหนึ่ง คนรวยก็รวยมาก คนจนก็จนมาก ถ้าให้รัฐบาลออกมาตรการเป็นคำสั่งแก้ปัญหา คิดว่าแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะต้องแก้ปัญหาด้วยจิตใต้สำนึกของทุกคน จึงขอวิงวอนให้ทุกคนเข้าใจ และเชื่อว่าทุกคนรู้อยู่แล้วว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียมในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพในการเลือกเพศสภาพ เลือกการประกอบอาชีพ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ จึงขอให้ช่วยกันซัพพอร์ตแสดงความเห็นในเชิงบวก เพราะในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา หรืออาจนานกว่านั้น เรามีความเห็นต่าง มีความไม่พอใจในการกระทำของอีกฝ่าย แทนที่จะพูดจากันด้วยภาษาที่ทุกคนรับฟังกันได้อย่างสบายหู มีสีหน้าที่ดูแล้ว มีมิตรภาพบนความเห็นต่าง ตนว่าเป็นการกระทำที่ดีกว่า แต่ปัจจุบันนี้การให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดียเยอะ คนพูดเยอะ มีการใช้คำพูดที่บาดหัวใจ ฟังแล้วสะอื้นได้พอสมควร ถึงแม้ว่าจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันเล็กน้อย แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องอ่อนไหวจริงๆ แต่ผลกระทบในเชิงลึกมีมาก สังคมมีความแตกแยก มีการแบ่งพรรคพวกที่ชัดเจน เรามีวิธีการที่สื่อสารกันได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละคนมีวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันไป หลายคนอาจจะบอกว่าการใช้ภาษารุนแรงนั้นชัดเจน แต่อาจจะมีวิธีอื่นแก้ปัญหา ตนอยากให้มองอีกมุมหนึ่ง ถ้าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาแล้วหันเข้าหากัน

“ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนพูดห้วนสั้น แต่จากนี้ไปต้องพูดให้ยาวขึ้น ผมเป็นคนที่ชัดเจนมาตลอดหากรู้จัก ผมเป็นคนพูดน้อยได้ใจความ แต่มายืนอยู่ตรงนี้ ตัวเองก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่เราเองต้องมีการปรับปรุงตัวเอง เพื่อให้ลดความขัดแย้งลงไปในการพูดจา ผมไม่ได้ต้องการว่าใคร หรือตอบโต้ใครทั้งสิ้น การใช้คำว่า “ปฏิรูปสังคายนา” และ “ล้างบาง” ขอยกตัวอย่างคำพูดเหล่านี้ ผมว่าทุกๆ คนก็มีความภูมิใจในองค์กรของตัวเอง ทุกคนเข้าใจในความหวังดี ขององค์กรตัวเอง และทุกองค์กรมีทั้งคนดีและไม่ดี แต่เราใช้คำพูดที่รุนแรง วิธีการที่ก่อให้เกิดการแบ่งพรรคพวกที่ชัดเจน เป็นวิธีการที่แก้ไขปัญหาหรือเปล่า หรือการแก้ไขปัญหาอยู่ที่การกระทำ และการพูด การที่เอาสถาบันต่างๆ มาพูดในที่สว่าง มีคำพูดที่รุนแรง เชื่อว่าไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่การแก้ไขปัญหาคือ พูดคุยกันในภาษาที่ทุกคนยอมรับได้ แต่ไปเน้นหนักที่การกระทำและกระบวนการแก้ไขปัญหาที่จะทำให้สังคมนั้นดีขึ้น เชื่อว่าไม่ต้องพูดเยอะในเรื่องนี้ แต่ทุกคนตระหนักดีอยู่แล้ว การกระทำตัวของทุกคนในสังคม มีส่วนช่วยให้สังคมลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งในเรื่องของการใช้โซเชียลมีเดียอวดแสดงตนว่าเหนือท่านหลายๆ เรื่อง หากลดลงไปได้บ้าง เชื่อว่าทุกคนในที่นี้ อาจจะรวมถึงตนเอง ไม่สายเกินไปในการช่วยเยียวยาสังคมให้ดีขึ้น จากการกระทำของพวกเราทุกคน และถ้าไม่ยอมเปลี่ยนแปลงก็ยากจะอยู่รอด ผมพูดไปหลายวงแล้ว ไม่อยากเน้นเยอะ เดี๋ยวจะหามีอคติกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ผมไม่สบายใจจริงๆกับเรื่องนี้ เราต้องรับผิดชอบต่อสังคม เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งที่เราจะนำประเทศเดินไปข้างหน้า ควบคู่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น” นายเศรษฐา กล่าว

นายกฯ กล่าวต่อว่า ตนกำลังจะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในเดือนธ.ค.นี้ และไม่ลืม “ต้นน้ำ” ที่ญี่ปุ่นเคยช่วยเหลือเรามาเป็น10 ปี ส่วนกรณีบริษัทรถญี่ปุ่นกังวลเรื่องตลาดรถอีวี ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถญี่ปุ่น ซึ่งอาจทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเดือดร้อนเราจะมีการพูดคุยกับสมาคมยานยนต์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการผลิตรถยนต์เครื่องสันดาปช่วงสุดท้ายก่อนช่วงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลง.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img