วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSสธ.จับมือยธ.แก้ปัญหายาเสพติด ดันกม.ลูก-แบ่งกลุ่มผู้เสพก่อนบำบัด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สธ.จับมือยธ.แก้ปัญหายาเสพติด ดันกม.ลูก-แบ่งกลุ่มผู้เสพก่อนบำบัด

“สธ.-ยธ.” ขานรับนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล แก้ปัญหายาเสพติด ดันกม. ลูกกำหนดจำนวนครอบครอง “ยาบ้า” เข้าข่ายผู้เสพ ยึดไทม์ไลน์ประกาศได้ ต.ค. 66 เร่งเปิดมินิธัญญารักษ์ จังหวัดละ 1 แห่ง ใน 100 วัน พร้อมแบ่งกลุ่มก่อนบำบัด “ชลน่าน” เผยกลุ่มแดง –เหลือง 4.59 แสนราย เสพ แต่ไม่ติดอีก 1.46 ล้านคน

เมื่อวันที่ 1 ส.ค. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม เมื่อช่วงเย็นวันที่ 29 ก.ย. ที่ผ่านมา ว่า กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงยุติธรรมได้มีการหารือเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.การคลัง ได้ประกาศเป็นนโยบายเร่งด่วน เพื่อลดปัญหายาเสพติดให้ได้ภายใน 1 ปี ทั้งในแง่ของปริมาณผู้เสพ ผู้ขาย ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งในการหารือวันเมื่อวันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา จะเน้นหนักในเรื่องของการบำบัดดูแล ใช้ผู้เสพผู้ติด

โดยหลักแล้วนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขผู้เสพก็คือผู้ป่วย จึงต้องมีการแบ่งระดับผู้เสพ เพื่อเข้าสู่การบำบัดฟื้นฟู โดยกระทรวงสาธารณสุขจะใช้อาการของผู้ป่วยเพื่อแบ่งกลุ่ม กลุ่มที่ 1 สีแดงคือ ผู้ที่ใช้ประจำ มีอาการติด เรื้อรัง กลุ่มนี้จะมีประมาณ 36,000 คน คิดเป็น 8% กลุ่มที่ 2 กลุ่มสีเหลือง คือ ผู้เสพที่มีอาการ ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างมีเยอะ ประมาณ 423,000 คน คิดเป็น 92% และกลุ่มที่ 3 คือผู้เสพที่ไม่มีอาการ หรือเป็นผู้ใช้เฉยๆ ประมาณ 1.46 ล้านคน

“ใน 2 ส่วนแรกจะเป็นหน้าที่โดยตรงของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องนำเข้าสู่การบำบัดในสถานพยาบาล ซึ่งเราก็ได้ประกาศนโยบายเร่งด่วน (Quick Win)ไปแล้ว ว่า 1 จังหวัดจะต้องมีมินิธัญรักษ์รองรับ 1 แห่ง รวมๆ แล้วกลุ่มนี้เรามีตัวเลขประมาณ 459,000 ราย ที่เป็นกลุ่มผู้เสพติดระดับสีแดงกับสีเหลือง แต่อีก 1,460,000 คน ถือเป็นผู้ใช้ ซึ่งกลุ่มนี้ เราทิ้งเขาไม่ได้หากเจอตัว ก็จะมีระบบให้ชุมชนบำบัด จะเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับกระทรวงมหาดไทย รวมถึงเป็นการรองรับผู้ป่วยที่ผ่านการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลเรียบร้อยแล้ว คืนคนเหล่านี้สู่สังคมแล้ว สังคมก็ต้องรับไปดูแลต่อ ให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขที่สุดนี่คือเป้าหมายของเรา” รมว.สาธารณสุข กล่าว

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระทรวงยุติธรรมก็จะดูเรื่องของเม็ดเงินงบประมาณที่ใช้ในการบำบัดรักษาฟื้นฟู ซึ่งเป็นงบฯ ที่ถูกจัดอยู่ในงบฯ บูรณาการ ที่มีหลายกระทรวงร่วมดูแล กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพจึงเน้นว่าทำอย่างไรให้งบประมาณที่ได้มา ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เราจะทำการบำบัดรักษามากที่สุด อย่างในปี 2566 เราของบฯ ไป 150,000 ล้านบาท แต่ได้มาเพียง 400 กว่าล้านบาท สามารถบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดได้เพียง 69,000 คนเท่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องมาคุยกันว่าจะต้องช่วยกันดูแลอย่างไร นอกจากนี้ยังคุยกันเรื่องจะประกาศควิกวินร่วมกันในเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขประกาศไปแล้ว คือ ให้มีมินิธัญรักษ์ ทุกจังหวัดจังหวัดละ 1 แห่ง ภายใน 100 วันในส่วนกระทรวงยุติธรรม ก็จะมีการประกาศนโยบายเร่งด่วนในภารกิจของตัวเองเช่นกัน ว่าใน 100 วันเขาจะทำอะไร

รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะต้องมาออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดจำนวนการถือครอบครองว่า จำนวนเท่าไหร่จะถือเป็นผู้เสพ ที่ประชุมมีมติให้คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง หาดูร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีเหตุผลรองรับ จะเป็น 1 เม็ด 5 เม็ดหรือ 8 เม็ด บนพื้นฐานเหตุผลทั้งมิติด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจเข้ามา เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการให้เร็วที่สุดเพราะเรื่องนี้ท่านนายกฯ ก็ได้ทวงถาม ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่ได้สรุป แต่ก็มีคนเสนอว่า ให้กำหนดที่ 5 เม็ด แต่ข้อมูลทางการแพทย์ถ้าเอาปริมาณมิลลิกรัมที่เสพเข้าไปแล้วมีผลกระทบกับร่างกาย กับจิตประสาท ก็จะใช้ตรงนี้เป็นหลัก แต่ในเชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคมจำนวนผู้ต้องขัง ความสามารถในการรองรับต่างๆ ก็จะนำเข้ามาประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งการออกกฎกระทรวงไม่ได้กำหนดว่าต้องเมื่อไหร่ แต่จะเร่งรัดให้เร็ว โดยไทม์ไลน์เดิมที่กำหนดเอาไว้ก็คือภายในเดือนต.ค. 2566 จะต้องประกาศได้

เมื่อถามว่าจะพิจารณากำหนดมาตรการอะไรเพื่อปิดช่องโหว่ ไม่ให้คนอ้างถึงจำนวนเม็ดที่ถืออยู่นั้นเป็นผู้เสพ แต่ที่จริงอาจจะเป็นผู้ค้ายาก็ได้ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า มันไม่สามารถจะปิดได้ทั้งหมด แต่ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขที่เน้นผู้เสพ คือผู้ป่วย ไม่ว่าจะเสร็จกี่เม็ดเราก็ตีเป็นผู้ป่วยหมด อย่างไรก็ตาม กำหนดแล้ว มีการครอบครองเกินจากนั้นจะถือเป็นการครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งมีโทษหนัก หากครอบครองต่ำกว่าที่กำหนดก็จะถือเป็นผู้เสพ ไม่มีโทษ แล้วเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา และตามกฎหมายจะให้มีการบำบัดรักษาโดยสมัครใจ แต่ถ้าไม่สมัครใจก็จะมีโทษ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img