วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘สว.’ยืมมือ‘ป.ป.ช.’จับตาแจกเงินดิจิทัล ‘สุวณา’ฟันธงเสี่ยง‘ทุจริตเชิงนโยบาย’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สว.’ยืมมือ‘ป.ป.ช.’จับตาแจกเงินดิจิทัล ‘สุวณา’ฟันธงเสี่ยง‘ทุจริตเชิงนโยบาย’

สว.ดาหน้าฝาก “ป.ป.ช.” จับตารัฐบาลแจกเงินดิจิทัล “สุวณา” ฟันธงเสี่ยงทุจริตเชิงนโยบาย เตรียมเชิญนักวิชาการ-ผู้เชี่ยวชาญศึกษารายละเอียดรอบด้าน ออกตัวตรวจสอบทุกนโยบายรัฐบาลเหมือนกัน

เมื่อวันที่ 11 ต.ค 66 ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณารายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 และรายงานสถานการณ์การทุจรติประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2565

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอภิปรายของสว.ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานเชิงรุกของ ป.ป.ช. ต่อกาตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรมว.คลัง โดยเฉพาะนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท และมีการท้วงติงจากฝ่ายต่างๆ และกังวลว่าจะซ้ำรอยโครงการรับจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาลสูง

ทั้งนี้นางสุวณา สุวรรณจูฑะ กรรรมการ ป.ป.ช. ชี้แจงว่า กรรมการเฝ้าระวังสภาวะการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งตนเป็นประธาน ได้ศึกษารวบรวมละเอียดข้อมูล ได้ศึกษาคำแถลงนโยบายของครม.เมื่อ 11-12 ก.ย. เกี่ยวกับโครงการเติมเงินหมื่นบาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งได้ประชุมและรวบรวมข้อมูลต่างๆ รวมถึงรายละเอียดโดยใช้เครื่องมือที่กรรมการ ป.ป.ช. เสนอครม.ว่าด้วยเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงในการทุจริตเชิงนโยบาย และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งมีข้อมูล นำเสนอให้ ป.ป.ช. รับทราบและดูผลดำเนินการ

“ขณะนี้ได้เสนอต่อกรรมมการป.ป.ช. เป็นวาระเริ่มต้น โดยหารือเบื้องต้นว่าจำเป็นต้องเชิญนักวิชาการ ผู้ที่มีความรู้เรื่องต่างๆ มาศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วน ซึ่งได้ตรวจสอบนโยบายสำคัญของรัฐบาลเหมือนชุดที่ผ่านๆ มาด้วยความห่วงใยของ สว.ต้องทำโดยเร่งด่วน”นางสุวณา กล่าว

ด้านนางสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า การรายงานผลการทำงานต่อวุฒิสภา ถือเป็นการทำงานในวาระสุดท้ายก่อนที่จะพ้นวาระ ซึ่งที่ผ่านมาตนขอขอบคุณวุฒิสภาที่ให้ตนเข้ามาทำงาน และเป็นการทำงานเพื่อชดใช้แผ่นดิน ในประเด็นที่ถูกซักถามต่อประเด็นจีทูจีในคดีกลุ่มว่าด้วยข้าว ซึ่งเกี่ยวกับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ และพวกรวม 52 คน รวม 4 สัญญา มูลค่ารวม 1.2 แสนล้านบาท มีมติชี้มมูลเรียบร้อยแล้ว และส่งให้อัยการพิจารณาเช่นเดียวกับคดีจีทูจีมันสำปะหลัง ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลสมัยก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ชี้มูลแล้ว นอกจากนั้นยังมีประเด็นการทำงานเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้เรียกคืนที่ดิน 7,000 ไร่ ทั้งนี้ปี 65-66 มีสถิติที่เพิ่มมากขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img