Blue Carbon : Role of Ocean Ecosystems Removing Carbon Emissions
“….ระบบนิเวศของบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems จะทำหน้าที่ยึดจับคาร์บอน และกักเก็บไว้ตราบนานเท่านาน ซึ่งบลูคาร์บอน Blue Carbon นั้น คือ คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่ถูกระบบนิเวศชายฝั่ง และมหาสมุทร จัดเก็บเอาไว้ตามธรรมชาติ…”
ป่า
บลูคาร์บอน : Blue Carbon คือ คำที่ใช้ในบริบทการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Mitigation ซึ่งหมายถึง “การไหลลงเข้ามากักเก็บไว้ของคาร์บอนปริมาณมหาศาลที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการทางชีวภาพในระบบทางทะเล Biologically Driven Carbon Fluxes & Storage in Marine Systems ซึ่งเป็นรูปแบบระบบจัดการด้วยกลไกตามธรรมชาติ” .. โดยส่วนใหญ่แล้ว คำนี้หมายถึง บทบาทของพื้นที่ชุ่มน้ำ Wet Land, บึงน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Marshes, ป่าชายเลน Mangroves และหญ้าทะเล Seagrasses ในระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง Coastal Ecosystems ที่แสดงบทบาทสำคัญต่อวัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle ในการกักเก็บคาร์บอน หรือที่เรียกว่า Carbon Sink ..
ระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง Coastal Ecosystems ซึ่งประกอบไปด้วย พืชน้ำ, สาหร่าย, แพลงก์ตอนพืช Phytoplankton และป่าไม้ตามแนวชายฝั่งที่กล่าวถึงนี้นั้น ช่วยดูดซับปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า และรวดเร็วกว่าป่าไม้บนบกทั่วไป อยู่ถึง 4 เท่า และมีส่วนช่วยในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Mitigation และรวมถึงการปรับตัวตามระบบนิเวศ Ecosystem Adaptation เพื่อเข้าสู่สมดุลธรรมชาติไปพร้อมด้วย ซึ่งหมายถึง สภาวะความเสถียรคงที่ในการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อมที่ยอดเยี่ยม และยั่งยืน ..
ทั้งนี้ หากระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems ถูกทำลายลง หรือเมื่อระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems เสื่อมโทรม หรือสูญเสียไป ก็จะปล่อยคาร์บอนกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้น การอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ชายเลน พืชน้ำ สาหร่าย รวมทั้งระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน ต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งเหล่านี้ ให้เกิดความยั่งยืน เพื่อให้ระบบนิเวศบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems สามารถทำหน้าที่เก็บกักคาร์บอนในรูปแบบชีวมวล และการทับถมของตะกอนลงสู่ชั้นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ..
วิธีการจัดการบลูคาร์บอน Blue Carbon Management Methods สามารถจัดกลุ่มอยู่ในประเภทการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ทางชีวภาพ Biological Carbon Dioxide Removal : CDR ในมหาสมุทร หรือ Biological Carbon Sequestration ประเภทหนึ่งนั่นเอง ..
ทั่วโลก มีความสนใจเพิ่มขึ้นในการพัฒนาศักยภาพบลูคาร์บอน Blue Carbon Potential Developing บนพื้นที่ชุ่มน้ำ หนองบึง ป่าชายเลน และชายฝั่งทะเลที่ระบบนิเวศมีศักยภาพ .. การวิจัยกำลังดำเนินอยู่ ในบางกรณี พบว่า ระบบนิเวศประเภทนี้ สามารถกำจัดคาร์บอนต่อพื้นที่มากกว่าพื้นที่ป่าไม้บนบกหลายเท่า .. อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในระยะยาวของบลูคาร์บอนในฐานะข้อไขการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ อาจยังคงมีข้อโต้แย้งอยู่บ้าง .. คำว่า คาร์บอนสีน้ำเงินเข้ม Dark Blue Carbon ก็ถูกนำมาใช้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงความพยายามในการกักเก็บคาร์บอนในน่านน้ำมหาสมุทรลึก เช่น เทคนิคการขุนบำรุงเลี้ยงทะเล ที่เรียกกันว่า Ocean Fertilization หรือ Ocean Nourishment เพื่อเร่งระเบิดการเติบโตของแพลงก์ตอนพืช Phytoplankton ในทะเลลึก เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จากบรรยากาศโดยตรงด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง Process of Photosynthesis และปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 ออกสู่ชั้นบรรยากาศปริมาณมหาศาล เป็นต้น ..
ความสำคัญของบลูคาร์บอน The Importance of Blue Carbon ต่อการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ Climate Change Mitigation ..
อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลก Average Global Temperature เพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าห้วงเวลาใดๆ ในช่วง 2 ล้านปีที่ผ่านมา .. สิ่งนี้ ได้ทำลายสถิติ Break the Record, ทำให้เกิดความแห้งแล้ง Droughts, คลื่นความร้อน Heat Waves และไฟป่า Wildfires รวมทั้งรูปแบบสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้เกิดพายุเฮอริเคน Hurricanes และฝนตก Rainfall รุนแรงที่สร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งนำไปสู่แนวโน้มการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง Extinction & Biodiversity Reduction บนโลกใบนี้ .. ทั้งนี้ กิจกรรมของมนุษยชาติ คือ ต้นเหตุที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยหลัก ๆ ผ่านการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 และก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHGs อื่นๆ ซึ่งถูกปล่อยคายออกมาเมื่อเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เช่น ถ่านหิน Coal, น้ำมัน Oil และก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ถูกเผาไหม้เพื่อผลิตพลังงาน ..
วิศวกรรมมหาสมุทร Engineering the Oceans เช่น Ocean Fertilization รวมทั้งบลูคาร์บอน Blue Carbon เป็นต้นนั้น คือ อีกวิธีปฏิบัติทางภูมิวิศวกรรม Geoengineering ที่เฉียบขาด และเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ รวมทั้งไม่ยากเกินไป เพื่อทำนุบำรุงรักษาสุขภาพของโลก World Health ไว้ด้วยศักยภาพ และสุขภาพของมหาสมุทร Potential & Health of the Oceans ..
โดยทั่วไป มหาสมุทร The Oceans และระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของโลกใบนี้อย่างมาก .. พวกมัน แสดงบทบาทนำ และทำหน้าที่ดูดซับ และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ Absorbing & Storing Carbon Dioxide ไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม .. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change และวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ในปัจจุบัน เกิดจากการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 และก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases อื่น ๆ ที่กิจกรรมของมนุษย์สร้างขึ้นปล่อยคายสู่ชั้นบรรยากาศ ..
อัตราการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ในชั้นบรรยากาศ ขึ้นอยู่กับปริมาณ CO2 ของมนุษย์ที่ปล่อยออกมานั้น มีมากเกินกว่าปริมาณ CO2 ส่วนเกินที่ถูกป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ และดินดูดซับ หรือถูกดูดซับลงสู่ทะเลลึกโดยแพลงก์ตอน Plankton, สาหร่าย Seaweed, พืช และสัตว์ขนาดเล็กจิ๋ว Microscopic Plants & Animals ต่างๆ ในทะเล จะสามารถดูดซับกักเก็บไว้ได้ .. ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า ปัจจุบัน มหาสมุทร Oceans และระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 30-50% ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล Burning of Fossil Fuels .. ทั้งนี้ หากมหาสมุทร The Oceans และระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems ไม่อาจทำหน้าที่ของพวกมันตามที่ควรจะเป็น จากการคำนวณคาดว่า ระดับ CO2 ในชั้นบรรยากาศจะสูงกว่าระดับปัจจุบันที่ 355 Parts per Million by Volume : ppmv ไปอยู่ที่ค่าประมาณ 500-600 ppmv ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของโลกใบนี้เป็นอย่างมาก ..
ในอีกแง่มุม มหาสมุทร The Oceans และระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems ยังทำหน้าที่ผลิตออกซิเจน Oxygen : O2 Production รายใหญ่ที่สุดของโลกใบนี้อีกด้วย .. นอกจากพืชน้ำ สาหร่าย และแพลงก์ตอน Plankton ในมหาสมุทร จะมีบทบาทสำคัญในการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ระหว่างชั้นบรรยากาศ และทะเลแล้ว ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง Photosynthesis พวกมันยังปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 ปริมาณมหาศาลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศไปพร้อมด้วย ..
นักวิทยาศาสตร์ ประเมินว่า ประมาณมากกว่า 50% หรือครึ่งหนึ่งของการผลิตออกซิเจนบนโลกใบนี้ Oxygen Production on Earth นั้น มาจากมหาสมุทร Oceans และระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems .. การผลิตส่วนใหญ่มาจากแพลงก์ตอนในมหาสมุทร Oceanic Plankton และรวมถึง พืชน้ำ สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดที่สามารถสังเคราะห์แสง Photosynthesis ได้ .. โปรคลอโรคอคคัส Prochlorococcus คือ สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์แสงที่เล็กที่สุดในโลก แต่แบคทีเรียตัวน้อยๆ เหล่านี้ สามารถผลิตออกซิเจน Oxygen : O2 ได้มากถึง 20% ในชีวมณฑลทั้งหมด Entire Biosphere .. นั่นคือ สัดส่วนที่สูงกว่าป่าฝนเขตร้อนทั้งหมดบนพื้นดินรวมกันหลายเท่าตัวด้วยซ้ำไป ..
เป็นที่แน่นอนว่า บลูคาร์บอนตามแนวชายฝั่ง Coastal Blue Carbon คือ อีกเทคนิควิธีการหนึ่งสำหรับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ในอากาศจากศักยภาพของทะเลชายฝั่ง ด้วยเป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emissions Targets ที่น่าสนใจ และให้ผลที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง .. แนวคิด คือ เรามิได้คิดจะเข้าไปแทรกแซงธรรมชาติ แต่เรากำลังจะเร่งฟื้นฟูธรรมชาติ มหาสมุทร Ocean และระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems เพื่อให้สมดุลธรรมชาติ Natural Balance ได้ทำหน้าที่ของพวกมัน นั่นเอง ..
ทั้งนี้ บลูคาร์บอน Blue Carbon ถูกกำหนดโดยธรรมชาติว่า คือ คาร์บอนอินทรีย์ Organic Carbon ที่ถูกดักจับ และกักเก็บไว้โดยมหาสมุทร และระบบนิเวศชายฝั่ง Organic Carbon Captured & Stored by the Ocean & Coastal Ecosystems .. ตามแนวคิด Blue Carbon Initiative ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตตามชายฝั่งครอบคลุมพื้นที่เพียง 2% ของพื้นผิวมหาสมุทร Ocean’s Surface แต่สามารถเก็บกักคาร์บอนไว้ 50% ในตะกอนของพวกมัน ซึ่งคิดเป็นอ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sink ประมาณถึง 75 Gigatons หรือเทียบเท่ากับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel-Related CO2 Emissions เป็นเวลา 8 ปี ..
อย่างไรก็ตาม อ้างอิงรายงานของคณะกรรมการระหว่างนครรัฐว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Intergovernmental Panel on Climate Change พบว่า ระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems เหล่านี้ กำลังถูกคุกคามรุนแรง ชายฝั่งระหว่าง 25-50% หายไปในศตวรรษที่ผ่านมา .. ทั้งนี้ การปลดล็อกกฎระเบียบภาครัฐบางประเด็นเพื่อการจัดหาเงินทุนสำหรับบลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits เฉพาะในเรื่องนี้ อาจเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตตามแนวชายฝั่ง Key to Saving These Habitats ทั่วโลกได้เป็นอย่างดีด้วยการเข้าไปดำเนินโครงการฟื้นฟูพื้นที่โดยตรงด้วยกิจกรรมของมนุษย์สำหรับการฟื้นฟูทะเลชายฝั่งสู่บลูคาร์บอนตามแนวชายฝั่ง Coastal Blue Carbon ..
ในขณะที่ป่าชายเลน Mangroves คือ โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศบลูคาร์บอน Coastal Blue Carbon Ecosystems Restoration ประเภทที่พบได้มากที่สุด .. แต่แนวทางอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้อง และฟื้นฟูหญ้าทะเล Seagrass, บึง Marshes และป่าสาหร่ายทะเล Kelp Forests กำลังเริ่มได้รับการพัฒนามากขึ้นบ้างแล้ว .. สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น และเห็นได้ชัดเจน คือ กระบวนการกักเก็บคาร์บอน Process of Carbon Sinking โดยการนำสาหร่ายทะเล Seaweed ไปย่อยสลายทางชีวภาพที่พื้นมหาสมุทร Biodegrade on the Ocean Floor เพื่อแยกคาร์บอนออก แทนที่จะปล่อยให้พวกมันย่อยสลายทางชีวภาพใกล้ชายฝั่ง หรือบนบก Biodegrade near Shorelines or on Land ได้กลายเป็นเทคนิคการกำจัดคาร์บอนถาวร รวมทั้งมีการปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 ปริมาณมากสู่บรรยากาศมาพร้อมด้วยแนวคิดการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emissions Concept ที่ยอดเยี่ยม ..
ทั้งนี้ ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์ พบความจริงที่ว่า ระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems จะช่วยให้คาร์บอนมากกว่า 50% ของที่ดูดซับไว้ ตกตะกอนในมหาสมุทร และ 95% ของปริมาณคาร์บอนดังกล่าวนี้ มาจากศักยภาพของหญ้าทะเล Seagrass ที่สามารถกักเก็บไว้ในชั้นดินที่ความลึกอย่างน้อย 6 เมตรใต้พื้นทะเล .. อย่างไรก็ตาม การลดลงของป่าชายเลน Mangroves Reduction ในปัจจุบัน จะส่งผลให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น 10% .. ดังนั้น การฟื้นฟูป่าชายเลน และระบบนิเวศบลูคาร์บอนชายฝั่ง Mangroves & Coastal Blue Carbon Ecosystems Restoration ทั่วโลก จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้จากนี้ไป เพื่อให้การบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Emissions Targets ของมนุษยชาติ ในปี ค.ศ.2050 หรือปี พ.ศ.2593 นั้น เป็นไปได้ ..
ตลาดบลูคาร์บอน Blue Carbon Markets กำลังจะกลายเป็นกระแสหลัก Mainstream จากนี้ไปสำหรับการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Emissions ..
บทบาทของระบบนิเวศมหาสมุทร Role of Ocean Ecosystems ในการกำจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอน Removing Carbon Emissions ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ควบคู่ไปกับแนวคิดของการพัฒนาตลาดที่ให้เงินทุนในการปกป้องระบบนิเวศ Ecosystems เหล่านี้ มิให้ถูกทำลาย รวมทั้งส่งเสริมฟื้นฟูให้นิเวศมหาสมุทร Ocean Ecosystems ทำหน้าที่รักษาสมดุลธรรมชาติให้ได้เต็มประสิทธิภาพทั่วโลก ..
ระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems เช่น ป่าชายเลน Mangrove Forests, หนองน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Marshes และทุ่งหญ้าทะเล Seagrass Meadows นั้น สามารถปกป้องแนวชายฝั่งจากพายุ Protect Coastlines from Storms, ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น Sea Levels Rising และการกัดเซาะแนวชายฝั่ง Shoreline Erosion .. พวกมัน ควบคุมคุณภาพน้ำ Water Quality และเป็นที่อยู่อาศัยของปลา Provide Habitat for Fish, ประกันความมั่นคงทางอาหาร Ensuring Food Security รวมทั้งความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนท้องถิ่น Livelihoods for Local Communities ไปพร้อมด้วย ..
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ระบบนิเวศวิทยา Ecosystems เหล่านี้ ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นไปได้ในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Mitigation ด้วยศักยภาพในการการดักจับ และจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Capturing & Storing CO2 จากชั้นบรรยากาศที่ยอดเยี่ยม ทำให้ระบบนิเวศวิทยา Ecosystems เหล่านี้ ได้รับชื่อเสียงใหม่ในฐานะ ‘ระบบนิเวศคาร์บอนสีน้ำเงิน Blue Carbon Ecosystems’ หรือ ‘บลูคาร์บอน Blue Carbon’ นั่นเอง ..
ตลาดบลูคาร์บอน Blue Carbon Markets ที่ได้รับการยอมรับจากนี้ไป คือ แรงบันดาลใจให้กับแนวคิดในโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects ซึ่งโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศเหล่านี้ Restoring These Ecosystems จะสร้าง “เครดิต Credits” ตามปริมาณน้ำหนักเป็นตัน ๆ ของคาร์บอนที่จัดเก็บไว้ได้ Tones of Carbon Captured & Stored .. จากนั้น เครดิต Credits จะถูกขายให้กับผู้ซื้อทั่วโลก เช่น ธุรกิจที่ต้องการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนของตนเอง Offset Their Own Carbon Emissions เป็นต้น ..
ตลาดบลูคาร์บอน Blue Carbon Markets ถือว่า ค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับตลาดสำหรับการกักเก็บคาร์บอนบนที่ดิน หรือบนบก เช่น การปลูกต้นไม้ Tree Planting .. แต่คาดหมายได้ว่า สิ่งเหล่านี้จะมีศักยภาพที่ยอดเยี่ยมในฐานะส่วนหนึ่งของความต้องการคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Demand for Carbon Credits ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 15 เท่าจากระดับปี 2563 และจะมีมูลค่าสูงถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ตามรายงานของ Taskforce on Scaling Voluntary Carbon Markets : TSVCM ซึ่งเป็นกลุ่มที่นำโดยมาร์ก คาร์นีย์ Mark Carney นายธนาคาร และนักเศรษฐศาสตร์ .. Trove Research ประมาณการมูลค่าของตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ ในปี 2564 อยู่ที่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ก็พบว่า ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Market มีมูลค่าสูงขึ้นเกินคาดหมาย อยู่ที่ 1.5-1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ในปี 2565 ที่ผ่านมา ..
จนถึงขณะนี้ มีโครงการเพียงไม่กี่โครงการเท่านั้นที่ได้รับการรับรองให้ขายบลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits ได้ .. ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในประเทศเคนยา บริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองชดเชยคาร์บอนSpecialist Offset-Certification Companies เช่น บริษัท Plan Vivo และ Verra ขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credits เหล่านี้ในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Market โดยปัจจุบันราคาสูง เนื่องจากความต้องการมีสูงกว่าอุปทานเป็นอย่างมาก ..
บริษัท Plan Vivo รายงานว่า โครงการบลูคาร์บอนในเคนยา Kenyan Blue Carbon Projects มีผู้สมัครสมาชิกมากเกินไป โดยมีการจองยอดขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ล่วงหน้าก่อนการเปิดตัว .. Keith Bohannon ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ เชื่อว่า Blue Carbon Credits ได้รับการมองว่ามีคุณภาพสูงเนื่องจากคุณประโยชน์ ซึ่งสามารถวัดได้ในแง่ของการลดคาร์บอน ลดผลกระทบทางสังคม และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ Terms of Carbon Reduction & Social & Biodiversity Impact .. จากข้อมูลของกองทุนโลกเพื่อธรรมชาติ World Wide Fund for Nature นั้น หลักเกณฑ์สำคัญ 6 ประการที่กำหนดคาร์บอนเครดิต คุณภาพสูง High-Quality Carbon Credits รวมถึงการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงการปรับตัว และการฟื้นฟู รวมทั้งการสนับสนุนชุมชนที่ยากจนที่สุด และเปราะบางที่สุดที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ประเด็นที่สะท้อนคุณค่าสำคัญของโครงการ ..
Keith Bohannon ชี้ว่า “ราคาเฉลี่ยของใบรับรองการชดเชยคาร์บอน Average Price of an Offset Certificate ที่ขายอยู่ที่ประมาณ 10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน แต่อาจมีตั้งแต่ 2 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับเครดิตธรรมดาไปจนถึง 20 เหรียญสหรัฐฯ คาดหมายว่า บลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits มีศักยภาพมากที่จะอยู่ในระดับที่สูงกว่าของระดับนั้น เพราะมันมิได้หาได้ง่าย และเนื่องจากผลประโยชน์ร่วมอื่น ๆ อีกมากมายที่โครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects เหล่านี้ มอบให้นอกเหนือไปจากการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Mitigation” ..
ตามที่ Keith Bohannon กล่าวไว้ ความต้องการบลูคาร์บอนเครดิต Demand for Blue Carbon Credits มักจะมาจากองค์กรที่ต้องการเชื่อมโยงการชดเชยกับสภาพแวดล้อมที่พวกเขาทำงานอยู่ เช่น บริษัทขนส่ง หรือบริษัทส่งออก Shipping Companies และอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel-Based Industries เป็นต้น .. แต่ไม่ว่าภาคส่วนใด ๆก็ตาม พวกเขากำลังพิจารณาเลือกใช้บลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits เนื่องจากพวกเขาต้องการผลสำเร็จที่ตามมาอื่น ๆ ซึ่งมากไปกว่าเพียงการชดเชยผลกระทบจากคาร์บอน Offsetting Carbon เท่านั้น ..
ทางตอนใต้ของเคนยา โครงการ Mikoko Pamoja หมายถึง “การฟื้นฟูป่าชายเลนไปด้วยกัน” ได้ดำเนินการปลูกป่าชายเลน Mangrove Forests ในพื้นที่ 114 เฮคเตอร์ ซึ่งได้รับการรับรองโดยบริษัท Plan Vivo ตั้งแต่ปี 2556 โดยโครงการ Mikoko Pamoja มียอดขายเฉลี่ย 2,500 คาร์บอนเครดิต Carbon Credits ต่อปี โดย 1 เครดิตเทียบเท่ากับ CO2 ปริมาณ 1 ตัน โดยเฉลี่ยแล้ว ยอดขายคาร์บอนเครดิต สร้างรายได้ประมาณ 24,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี โดย 35% ครอบคลุมต้นทุนโครงการ ในขณะที่อีก 65% นำไปลงทุนใหม่ในชุมชนเพื่อขยายพื้นที่ฟื้นฟูป่าชายเลนเพิ่มเติมต่อไป ..
ทั้งนี้ หนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ตลาดบลูคาร์บอน Blue Carbon Market กำลังเผชิญอยู่ คือ การทำให้สินเชื่อ หรือคาร์บอนเครดิต Carbon Credits มีราคา และคุณภาพสูงขึ้นไปอีก .. ความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้คนในท้องถิ่น ถือเป็นประเด็นสำคัญ .. อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการส่วนหนึ่งโดยอาสาสมัคร และไม่แสวงหาผลกำไร โดยชุมชนจะได้รับผลตอบแทนตามสมควร ซึ่งการสื่อสารกับผู้คนในท้องถิ่นเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาพอใจกับโครงการ และเข้าใจว่าพวกเขาจะได้รับประโยชน์อย่างไรนั้น อาจต้องใช้เวลาอยู่บ้าง โครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects เหล่านี้ ต้องการความมุ่งมั่น และการสนับสนุนจากกรอบนโยบายภาครัฐ และการกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจของภาคเอกชนที่มีศักยภาพ ด้วยความร่วมมือจากภาคประชาสังคม เพื่อให้วงจรการระดมทุนในตลาด ดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างประโยชน์ให้กับทุกผู้คน ทุกพื้นที่ ทุกประเทศ และทั่วโลกในระยะยาวให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
คาดการณ์ตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Carbon Credit Market ..
โดยทั่วไป ตลาดการซื้อขายคาร์บอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ Mandatory Carbon Market ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้กำหนดบังคับ และกำกับดูแลด้วยการใช้กฎหมาย เพื่อไม่ให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด Legally Binding Target กับ ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ Voluntary Carbon Market ซึ่งหมายถึง ตลาดที่จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ประกอบการ หรือองค์กร รวมทั้งภาคประชาสังคม เพื่อเข้าร่วมซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดด้วยความสมัครใจ .. คาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่ได้จากโครงการต่าง ๆ สามารถนำมาซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจได้ และองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมเกินกว่าปริมาณที่กำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าว เพื่อทำให้ตนเองได้รับสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมอีกครั้งในปริมาณที่ไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด เป็นต้น ..
ขนาดธุรกิจในตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Carbon Credit Market มีมูลค่า 978.56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดหมายว่าจะพุ่งขึ้นสูงลิ่วแตะระดับ 2.68 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2571 .. ทั้งนี้ อัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลก Global Carbon Credit Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 18.23% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2571.. ความต้องการใช้คาร์บอนเครดิต Demand of Carbon Credits คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคตอันใกล้จากนี้ไป เนื่องจากจำนวนภาระผูกพันการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Commitments ขององค์กรที่เพิ่มขึ้น .. การซื้อคาร์บอนเครดิต Purchasing Carbon Credits ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ กลายเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon-Neutral ในปัจจุบัน ขณะที่พวกเขา ยังคงมุ่งทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ต่อเนื่องไปพร้อมด้วย ..
ปัจจุบัน คาร์บอนเครดิต Carbon Credit หรือเครดิตออฟเซ็ต Offset Credit เป็นเครื่องมือที่สามารถถ่ายโอนกันได้ซึ่งได้รับการรับรองโดยภาครัฐ หรือหน่วยงานรับรองอิสระ เพื่อแสดงถึงการลดการปล่อยก๊าซที่สามารถซื้อหรือขายกันได้ ทั้งที่เป็นค่าชดเชย และค่าเครดิต โดยจะถูกวัดเป็นตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e .. การชดเชยคาร์บอน Carbon Offset หรือคาร์บอนเครดิต Carbon Credit ปริมาณ 1 ตัน แสดงถึงการลด หรือกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ปริมาณ 1 ตัน หรือเทียบเท่าในก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ..
ทั้งนี้ บลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits คือ อีกส่วนหนึ่งของความพยายามระดับชาติ และระดับนานาชาติในการลดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases: GHGs ในบรรยากาศด้วยศักยภาพของระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems .. ในโปรแกรมที่กำลังเริ่มขึ้นเหล่านี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกจำกัด จากนั้นตลาดจะถูกใช้เพื่อจัดสรรการปล่อยก๊าซระหว่างกลุ่มของแหล่งที่มาที่ได้รับการควบคุม .. เป้าหมาย คือ เพื่อให้กลไกตลาดขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต่างๆ จากศักยภาพของทะเลชายฝั่ง เนื่องจากโครงการเหล่านี้ คาดว่าจะสามารถสร้างเครดิตชดเชยด้วยคุณภาพ และมูลค่าสูงที่น่าสนใจ .. แนวทางนี้ จึงสามารถนำมาใช้เป็นเงินทุนสำหรับแผนงานลดคาร์บอนระหว่างประเทศคู่ค้าทั่วโลกได้ ..
สำหรับในประเด็นราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Price ของไทยนั้น พบว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการ T-VER ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2559 มีมูลค่าการซื้อขายเพียง 846,000.- บาท เพิ่มขึ้นเป็น 124,762,420.- บาท ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 147 เท่า ในช่วงที่ผ่านมา โดยราคาคาร์บอนเฉลี่ยต่อตัน มีราคาเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 149.97 บาทต่อตัน .. ทั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยจาก อบก.หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO ว่า ปริมาณ และมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตCarbon Credit Trading ของประเทศไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 เติบโตมากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-218 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e ..
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาคาร์บอนเครดิต Price Mechanism of Carbon Credits ของต่างประเทศ พบว่า ราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ มีราคาสูงกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของไทยมาก ตัวอย่างเช่น ระบบ EU ETS : Emissions Trading System ของสหภาพยุโรป มีราคาอยู่ที่ 73.27 ยูโรต่อตัน เท่ากับประมาณ 2,707.07 บาทต่อตัน เป็นต้น .. แม้ว่าปัจจุบันราคาคาร์บอนเครดิตของไทยจะต่ำกว่าราคาคาร์บอนเครดิตของต่างประเทศ แต่ในอนาคตคาดหมายได้ว่า ราคาคาร์บอนเครดิตของไทย Price of Carbon Credits in Thailand มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากกรมสรรพสามิต เริ่มศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน และคาดว่าจะเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนได้ ภายในปี 2566 นี้ ..
ทั้งนี้ แนวโน้ม และทิศทางตลาดคาร์บอนเครดิตระดับโลก Global Carbon Credit Market ที่ McKinsey คาดการณ์ไว้นั้น ความต้องการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในปี 2573 จะเติบโตสูงมากถึง 15 เท่าเทียบเคียงจากปี 2563 และเติบโตมากถึง 100 เท่าในปี 2593 สะท้อนให้เห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต Future Carbon Credit Trading มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตไปทั่วโลก ..
สำหรับตลาดในประเทศไทยนั้น องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน Thailand Greenhouse Gas Management Organization : TGO หรือ อบก.ระบุว่า ส่วนหนึ่งมาจากสถิติการรับรองคาร์บอนเครดิตของโครงการ T-VER ประเภทพลังงานทดแทน มีการรับรองคาร์บอนเครดิตเข้าสู่ตลาดคาร์บอนสูงมากที่สุด ในจำนวนกว่า 8.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า Tons of Carbon Dioxide-Equivalent : CO2e คิดเป็น 59.57% ของปริมาณคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ที่มีการรับรองจาก อบก. ทั้งหมด หมายถึง คาร์บอนเครดิต Carbon Credits จากการประกอบกิจการพลังงานทดแทน คือ โอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจในตลาดคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Market ของไทยมากที่สุด ..
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในประเทศไทยมีคุณภาพ และมูลค่าสูงขึ้น การวางกรอบพัฒนามาตรฐานราคาคาร์บอนเครดิต Carbon Credits นอกเหนือไปจากการประกอบกิจการพลังงานทดแทน ได้แก่ การปลูกต้นไม้ การปลูกป่าไม้ การฟื้นฟูป่า ฟื้นฟูดิน พื้นที่ชุมน้ำ และแหล่งน้ำ รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ในโครงการฟื้นฟูป่าชายเลน และระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems หรือโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects นั้น กำลังกลายเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นที่ขาดไม่ได้ และคาดว่าจะเป็นที่นิยมในตลาดคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Market ได้เป็นอย่างมากจากนี้ไป โดยเฉพาะสำหรับในประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรชายฝั่งที่เป็นคาร์บอนสีน้ำเงิน Blue Carbon-Rich Countries เช่น ประเทศไทย ซึ่งมีโครงการปลูกป่า ฟื้นฟูป่าไม้ การฟื้นฟูป่าชายเลน และระบบนิเวศบลูคาร์บอนชายฝั่ง Mangroves & Coastal Blue Carbon Ecosystems Restoration หรือโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects อยู่เป็นจำนวนมาก ..
ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม Environmental Issues และการเติบโตอย่างยั่งยืน Sustainable Growth เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ Climate Change ที่ส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไปทั่วโลก .. หลายๆ ประเทศเริ่มกล่าวถึงประเด็นการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนมากขึ้น ซึ่งนับเป็นความท้าทายใหม่ของภาคส่งออกไทยที่ต้องตระหนักรู้ และจำต้องเร่งปรับตัว โดยล่าสุด เมื่อกันยายน 2565 ที่ผ่านมา กรมสรรพสามิต เตรียมศึกษาแนวทางการใช้ตลาดคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Market และการจัดเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax ไปพร้อมด้วย รวมทั้งการกำหนดเกณฑ์ในแนวทาง และอัตราภาษีให้มีความชัดเจน ภายในปี 2566 นี้ คาดหมายว่าจะเริ่มดำเนินการจัดเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Tax จากสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง 5 ประเภท ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม ปุ๋ยเคมี และการผลิตกำลังไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้หน่วยผลิต 5 ประเภทเหล่านี้ ต้องเร่งจัดหาคาร์บอนเครดิต Carbon Credit หรือเครดิตออฟเซ็ต Offset Credit ไว้สำหรับการชดเชย และลดภาระภาษีที่สูงลิ่ว ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Emissions ให้สำเร็จตามแผนงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยได้ ภายในปี 2608 ..
สรุปส่งท้าย ..
การกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Removal : CDR หมายถึง กิจกรรมของมนุษย์ที่กระชากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ออกไปจากชั้นบรรยากาศ และกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำทางธรณีวิทยา ใต้ชั้นหิน บนบก หรือในมหาสมุทร เช่น การขุนบำรุงเลี้ยงมหาสมุทร Ocean Fertilization และการปลูกป่าใต้ทะเลตามแนวชายฝั่ง หรือบลูคาร์บอน Blue Carbon : Planting Undersea Seaweed & Forests along the Coast เป็นต้น หรือจัดเก็บไว้ในผลิตภัณฑ์อย่างถาวร ซึ่งรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพมาตรการที่มีอยู่เดิม และการเพิ่มศักยภาพของอ่างกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางชีวภาพ หรือทางธรณีเคมี Biological or Geochemical CO2 Sinks ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ เช่น บนผืนดิน ป่าฝน และมหาสมุทร รวมทั้ง ศักยภาพในการดักจับ และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโดยตรง Direct Air Carbon Dioxide Capture & Storage ด้วยเทคโนโลยีการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emissions Technologies รูปแบบต่าง ๆ แต่ไม่รวมถึงการดูดซับ CO2 ตามธรรมชาติที่ไม่ได้เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์โดยตรง ..
ในประเด็นการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems Restoration นั้น พวกมันได้กลายเป็นหนึ่งในโอกาสของมนุษยชาติในการต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ด้วยศักยภาพตามธรรมชาติของทะเลชายฝั่ง Marine Coastal Ecosystems .. บลูคาร์บอน Blue Carbon คือ การที่คาร์บอน Carbon : 6C ซึ่งรวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ถูกดูดซับโดยมหาสมุทร Ocean และระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems ทั้งป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง และแหล่งหญ้าทะเลนั้น จะทำหน้าที่เก็บกักคาร์บอน Carbon Sink ในรูปแบบชีวมวล Biomass และการทับถมของตะกอนลงสู่ชั้นดิน ..
ระบบนิเวศของบลูคาร์บอน Blue Carbon Ecosystems จะทำหน้าที่ยึดจับคาร์บอน และกักเก็บไว้ตราบนานเท่านาน ซึ่งบลูคาร์บอน Blue Carbon นั้น คือ คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่ถูกระบบนิเวศชายฝั่ง และมหาสมุทร จัดเก็บเอาไว้ตามธรรมชาติ ซึ่งคาร์บอนเหล่านี้ จะถูกป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง รวมทั้งแหล่งหญ้าทะเล กักเก็บเอาไว้ยาวนานในปริมาณที่มากกว่า และรวดเร็วกว่าศักยภาพการดูดซับคาร์บอนของป่าฝนบนแผ่นดินต่อพื้นที่อยู่ที่หลายเท่าตัว หรืออย่างน้อย 4 เท่า ..
เป็นเรื่องยากที่จะทุ่มเงินลงทุนให้กับโอกาสทางการเงิน Financial Opportunities ที่คาร์บอนเครดิต Carbon Credits อาจมีไว้สำหรับประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรคาร์บอนสีน้ำเงิน Blue Carbon-Rich Countries แต่การศึกษาที่ผ่านมา ประมาณการว่า ป่าชายเลน Mangroves กักเก็บคาร์บอนได้อย่างน้อยประมาณ 6.5 GT ต่อปีทั่วโลก เทียบกับ 2.0 GT สำหรับบึงเกลือ Salt marshes และ 2.3 GT สำหรับหญ้าทะเล Seagrasses ..
อย่างไรก็ตาม แหล่งที่อยู่อาศัย Habitats สิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity เหล่านี้ มีความเสี่ยงสูงที่ป่าชายเลนมากกว่า 1 ล้านเฮคเตอร์ A Million Hectares of Mangroves ได้สูญหายไป ตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 หรือ พ.ศ.2533 เป็นต้นมา .. สิ่งนี้ ทำให้ป่าชายเลน Mangroves มีคุณค่าอย่างยิ่งในตลาดคาร์บอน Carbon Markets เนื่องจากแนวคิดที่สำคัญว่า หากไม่ได้รับเงินทุนจากการขายบลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Emissions Reductions เพิ่มเติมในปริมาณที่เหมาะสมก็จะไม่เกิดขึ้น ..
ผลการศึกษาในปี 2564 พบว่า 20% ของป่าชายเลนในโลก World’s Mangroves ตกอยู่ในอันตราย จึงมีคุณสมบัติได้รับคาร์บอนเครดิต Carbon Credits ตามการเพิ่มเติม ด้วยราคาคาร์บอนเครดิต 9.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งถือว่ายังเป็นราคาที่ต่ำมาก .. อย่างไรก็ตาม โครงการที่ยังคงสามารถทำกำไรได้ สามารถสร้างยอดขายได้ 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ป่าชายเลน Mangroves ที่สามารถลงทุนได้เหล่านี้ส่วนใหญ่เติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia และแปซิฟิก Pacific แม้ว่ามาดากัสการ์ และไนจีเรีย ก็มีพื้นที่ป่าชายเลนที่ทำกำไรได้จำนวนมากด้วยเช่นกัน ..
ปัจจุบัน การชดเชยคาร์บอนตามธรรมชาติ Nature-Based carbon Offsets มีราคาต่ำกว่า 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเครดิตในตลาดสมัครใจ Voluntary Market ซึ่งลดลงอย่างมากจากมูลค่า 18 เหรียญสหรัฐฯ ในต้นปี 2565 แต่เชื่อว่า บลูคาร์บอนเครดิต Blue Carbon Credits สามารถให้ราคาที่สูงกว่าได้ เนื่องจากความสำคัญของระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems ที่ได้รับการยอมรับ และประโยชน์ของแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทะเลชายฝั่ง Ecosystem Benefits of Coastal Habitats รวมถึงผู้คนในพื้นที่ ..
ในขณะเดียวกัน โครงการบลูคาร์บอนขนาดใหญ่หลายโครงการได้เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำภาคส่วนนี้ไปสู่จุดสูงสุดใหม่ได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูป่าชายเลน และหนองน้ำขึ้นน้ำลงในพื้นที่ 350,000 เฮกตาร์ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสินธุของปากีสถาน ทำให้พวกมัน คือ หนึ่งในโครงการบลูคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา .. โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนอีกโครงการหนึ่งในรัฐซีนาโลอาของเม็กซิโก สามารถแยกการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากถึง 3 ล้านตันในแต่ละปี ซึ่งพวกมันยอดเยี่ยมมาก ..
อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนเพื่อรับเครดิตอาจเป็นเรื่องท้าทาย สำหรับโครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects ทั้งนี้ การขาดการศึกษาวิจัยที่ลึกซึ้งเพียงพอเกี่ยวกับระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems และระบบนิเวศวิทยาในมหาสมุทร Ocean Ecosystems ในพื้นที่ชายฝั่งที่มีลักษณะแตกต่างกัน ทำให้การพัฒนาเครดิตคาร์บอนสีน้ำเงิน Blue Carbon Credits ล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากลำบากในการเข้าถึงระบบนิเวศดังกล่าวอาจขัดขวางการดำเนินโครงการในประเทศที่มีรายได้น้อย ..
แม้ว่าวิธีที่ดีที่สุดในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Green & Clean Energy เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ และพลังงานนิวเคลียร์ แต่คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสามารถคงค้างอยู่ และยังคงก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนต่อเนื่องไปเป็นเวลาหลายศตวรรษ ดังนั้น โครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects ซึ่งเป็นการปรับสภาพภูมิอากาศของโลกในวงกว้างด้วยศักยภาพของระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems จึงกลายเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การสำรวจ ตรวจสอบ เพื่อใช้งาน เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกช้าเกินไปที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ..
ในแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคทางภูมิวิศวกรรม Geoengineering นั้น การทำให้โลกเย็นลง มิใช่เรื่องยาก แต่การตัดสินตกลงใจที่จะใช้พวกมันจริง ๆ เพื่อลดอุณหภูมิโลกของฝ่ายการเมือง กลับดูยากเย็นแสนเข็ญอย่างยิ่ง เนื่องจากยังมีผู้คนที่ไม่เข้าใจ และกังวลไม่เห็นด้วยที่จะใช้พวกมันอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ..
มนุษยชาติ ได้ใช้มาตรการมากมาย เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ที่ไม่พึงประสงค์ และมุ่งมั่นสู่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Emissions รวมทั้งหยุดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่จุดเล็ง 1.5oC ให้ได้ ภายในปี 2593 แต่ดูเหมือนว่า มาตรการระดับนานาชาติเหล่านี้ จะไม่ได้ผลเท่าที่ควรตามที่คาดหวังไว้ ..
การยกเลิกการบริโภคพลังงานจากแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel-Based Energy Sources เป็นหลัก ด้วยการเปลี่ยนผ่านไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน Transition to Renewable Energy Sources เป็นแหล่งพลังงานหลักทดแทนในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาตินั้น ยังไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในทันทีทันใด .. ดังนั้น บางที การตัดสินตกลงใจของนานาประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยที่จะประยุกต์ใช้โครงการบลูคาร์บอน Blue Carbon Projects เป็นเครื่องมือหลักด้วยการเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems เพื่อให้ทะเลชายฝั่ง ทำหน้าที่เป็นอ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks และปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 ปริมาณมหาศาลออกสู่ธรรมชาติ ให้สัดส่วนของก๊าซในบรรยากาศเข้าสู่สมดุลธรรมชาติในตัวของมันเอง และกระจายออกไปในวงกว้างทั่วโลกจากนี้ไปนั้น กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในความสำคัญจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อต่อสู้กับสถานการณ์วิกฤติสภาพอากาศ Counteract Climate Crisis และหยุดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่จุดเล็ง 1.5oC ภายในปี 2593 ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
………………………………..
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Blue Carbon | Wikipedia :-
https://en.wikipedia.org/wiki/Blue_carbon
What is Blue Carbon? | National Ocean Service :-
The Blue Carbon Initiative | Conservation International :-
https://www.thebluecarboninitiative.org/
What are Blue Carbon Credits? .. Everything You Need to Know | Carbon Credits :-
https://carboncredits.com/what-are-blue-carbon-credits-everything-you-need-to-know/
What Are Blue Carbon Credits, and How Do They Work? | Terrapass :-
Are Blue Carbon Markets Becoming Mainstream? | Economist :-
https://impact.economist.com/ocean/ocean-health/are-blue-carbon-markets-becoming-mainstream
The Global Carbon Credit Market | Research and Markets :-
https://finance.yahoo.com/news/global-carbon-credit-market-2023-104800429.html
Blue Carbon: A Growing Climate Finance Solution | Global Landscapes Forum :-
Earth Overhaul | Saving Planet Earth from Climate Change Documentary :-
https://photos.app.goo.gl/3qLWAqW541RdtBLp7
Net Zero Emissions Electricity :-
https://photos.app.goo.gl/EEjMKeZqJegVMpb16
Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-