วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVEฎีกาเหยื่อ“สแกมเมอร์” ฟ้องชนะแบงก์ ต้องชดใช้ค่าเสียหาย“ครึ่งหนึ่ง”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ฎีกาเหยื่อ“สแกมเมอร์” ฟ้องชนะแบงก์ ต้องชดใช้ค่าเสียหาย“ครึ่งหนึ่ง”

สำหรับ คดีแก๊งสแกมเมอร์ หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ท่านผู้อ่านอาจเกิดข้อสงสัยในใจว่า ทำไมถึงเกิดขึ้นแค่ในประเทศไทย ภูมิภาคยุโรป อเมริกา ไม่ปรากฎให้เห็นข่าวเช่นนี้มากนัก

เราได้รับคำตอบว่า สิ่งหนึ่งอาจเป็นเพราะมีบทลงโทษชัดเจน สำหรับธนาคารที่ปล่อยให้เกิดการโกงเงิน ในลักษณะคอลเซ็นเตอร์เกิดขึ้่นมา ดังนั้นแบงก์ในต่างประเทศจึงมีมาตการป้องกันค่อนข้างสูง

และในไทยเอง ก็มีคดีตัวอย่าง ที่วันนี้ ทีมข่าวนำมาเทียบเคียงให้ท่านผู้ชมได้เห็นภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2564 ในคดีที่โจทก์ ฟ้องธนาคารพาณิชย์ ที่โจทก์เปิดบัญชีเอาไว้ และถูกแก๊งแสกมเมอร์ หลอกให้โอนเงิน ผ่านฟิชชิ่งอีเมล์ ที่หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว

คดีนี้ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้อง แต่โจทก์ได้ยื่นฎีกา และต่อสู้คดีจนชนะ ตามรายละเอียดดังนี้

ในช่วงปี 2560 มีการโอนเงินจากบัญชีของโจทก์ ในช่วงกลางดึก รวม 12 ครั้ง ไปยัง 3 บัญชี เป็นเงินกว่า 1 ล้านบาท ศาลฎีกามองว่าเป็นพฤติกรรมในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดปกติ

ธนาคาร เป็นจำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะ ต้องทราบถึงวิธีการดังกล่าว และย่อมสังเกตได้ว่าเป็นเรื่องผิดปกติ /การที่พนักงานของจำเลย เพิ่งจะโทรศัพท์แจ้งเตือนไปยังโจทก์ หลังจากที่มีการโอนเงินดังกล่าวครั้งที่ 12 และยอดเงินถูกโอนไปเป็นล้าน

มาตรการดังกล่าวจึงถือว่าไม่เพียงพอ ต่อการป้องกันการโอนเงินหรือการทำรายการหรือธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบ และโจทก์มิใช่รายแรกที่ถูกหลอกลวงในลักษณะ มีเหตุเกิดซ้ำๆ กับลูกค้าจำนวนมาก

ดังนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะ ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตแบงกิ้งมาเป็น 10 ปี ได้รับอีเมลที่ไม่ได้มาจากจำเลย ไปกรอกข้อมูลเว็บไซต์ที่เลียนแบบธนาคาร ทำให้คนร้ายสามารถสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง เชื่อมโยงบัญชีโจทก์ได้สำเร็จ จึงถือว่าโจทก์มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายด้วย

พฤติกรรมของโจทก์และจำเลยจึงถือว่า มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายในคดีนี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยต้องรับผิด ชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นเงิน 550,000 บาท

เมื่อค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดเป็นหนี้เงิน หากชำระล่าช้าย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งค่าเสียหายของหนี้เงินตามปกติย่อมคิดกันในรูปของดอกเบี้ย จึงเห็นควรกำหนดให้จำเลย รับผิดดอกเบี้ยดังกล่าวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป

………..

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img