วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVEรวมพลัง“GEN S”คน GEN ใหม่ที่มีหัวใจยั่งยืน แก้ปัญหาวิกฤตโลกเดือด!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รวมพลัง“GEN S”คน GEN ใหม่ที่มีหัวใจยั่งยืน แก้ปัญหาวิกฤตโลกเดือด!

ในการประชุมระดับโลก “GC Sustainable Living Symposium 2023: We are GEN S” โดย บริษัท พีพีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC บริษัทเคมีภัณฑ์อันดับหนึ่งของโลก 4 ปีซ้อนในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์จาก DJSI จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 ต.ค.66 นับเป็นการประชุมระดับโลกที่มีการรวมตัวครั้งสำคัญของ GEN S หรือ คน GEN ใหม่ที่มีหัวใจยั่งยืน เปลี่ยนวิกฤตโลกให้เป็นโลกที่ดีขึ้น

โดยงานนี้มีการรวมพล 40 สุดยอดผู้บริหาร และไอดอลสายกรีนของคน GEN S จากในและต่างประเทศมาร่วมแชร์แนวคิด ประสบการณ์ แรงบันดาลใจ เทรนด์ความยั่งยืนระดับโลกจนถึงการลงมือทำจริง และการใช้ชีวิตแบบ Sustainable Living พร้อมกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และคนรุ่นใหม่ ร่วมงานหลายพันคน เพื่อส่งต่อแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติจริงเปลี่ยนผ่านจากวิกฤตโลกเดือดให้เป็นโลกที่สวยงาม ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน

ยูริ ยาร์วิอะโฮ

นายยูริ ยาร์วิอะโฮ เอกอัครราชฑูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย เป็นประธานเปิดงาน โดยได้แสดงวิสัยทัศน์ระดับโลกเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนจากประเทศฟินแลนด์ ต้นแบบประเทศแห่งความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก และเป็นผู้ก่อตั้ง The World Circular Economy Forum หรือ (WCEF)

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง

ทางด้าน ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GC ระบุว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 1% เมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลก แต่เรากลับเป็น 1 ใน 10 ประเทศของโลกที่ได้จะรับผลกระทบสูงสุด

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง

ทั้งนี้ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่โลกมาจาก 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ภาคพลังงาน ภาคเกษตรกรรรม และภาคอุตสาหกรรม GC ซึ่งขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนมายาวนาน ได้มองถึง 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นทางออกเร่งด่วนให้กับโลก ได้แก่ Energy Transition และ Circular and Bio-based Economy

ในส่วนของ Energy Transition ต้องปรับจากการใช้พลังงานแบบฟอสซิล ก้าวสู่การใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพทางพลังงาน การใช้พลังงานสะอาดรูปแบบต่างๆ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน

สำหรับ Circular and Bio-based Economy ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ หากเรานำข้อได้เปรียบนี้มาปรับใช้ อาทิ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรด้วยแนวทางแบบ Bio Solutions จะช่วยประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังสอดคล้องกับโมเดลธุรกิจ BCG ของประเทศ รวมถึงนำหลัก Circular Economy ทั้ง Reduce, Reuse และ Recycle มาใช้ในการทำการเกษตรแบบคาร์บอนต่ำ อาทิ การทำนาน้ำน้อย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้ทรัพยากร ในขณะที่ปริมาณผลผลิตได้เท่าเดิมหรือมากกว่า แนวทางนี้จะเป็นประโยชน์มากกับไทยที่เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวลำดับต้นๆของโลก

สำหรับการจัดงาน GC Sustainable Living Symposium 2023 : We are GEN S เรานำข้อมูลเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนมาทำให้จับต้องได้ในรูปกิจกรรมและนิทรรศการ มีการโชว์เคสต่างๆ อาทิ นำขยะมาทำให้เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายที่มีมูลค่า จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกคนเข้ามาร่วมงานเพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกคน รวมถึงบริษัทเล็กใหญ่ ช่วยกันเป็น GEN S หรือ Generation Sustainability และลงมือทำอย่างเร่งด่วนตั้งแต่วันนี้ โดยอย่ามองว่าการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นค่าใช้จ่าย เพราะบางส่วนเป็นธุรกิจได้ เพียงแต่ต้องทำให้ทั้ง 3 เรื่องไปด้วยกัน คือ  ประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธุรกิจ

ทำอย่างไรให้ทั้ง 3 เรื่องไปด้วยกันได้ บริษัทระดับโลกต่างเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างหลากหลายในวงเสวนา CEO Panel ในงานนี้ ภายใต้หัวข้อ “ How sustainability catalyze collective actions in addressing global challenges”

นาย Miguel Mantas CEO จาก บริษัท Allnex ผู้ผลิต Coating Resins ในอุตสาหกรรม ระบุว่า การผลิตเรซิน 1 กก. ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5 กก. เราตระหนักถึงปัญหานี้ถึง จึงสนับสนุนนวัตกรรมลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และการรีไซเคิล โดยมีโรงงาน 35 แห่งทั่วโลกที่จะดำเนินการให้ไปในแนวทางเดียวกัน ขณะเดียวกันก็ทำงานใกล้ชิดกับลูกค้า เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยกันทั้งอุตสาหกรรม เป้าหมายของเราจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ภายในปีค.ศ. 2030 คาดว่าจะทำได้มากกว่าและเร็วกว่าเป้าหมาย เนื่องจากปัจจุบันทำได้แล้ว 23% สิ่งที่จะทำให้เราไปถึงเร็วขึ้น คือ การใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นจากปัจจุบันใช้ในสัดส่วน 45.5%

ทางด้านนาย Keith Wiggins CEO จาก Econic Technologies Ltd ย้ำว่าเรามีเวลากันน้อยมากในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เวทีนี้จะช่วยสร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญ สำหรับบริษัทฯ เรามีนวัตกรรมเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นพลาสติกและเคมีภัณฑ์ สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 30% ซึ่งตอนนี้เรากำลังผลิตเพิ่ม เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด จึงคาดว่าจะสามารถลดก๊าซกระจกได้เพิ่มเป็น 70% ปัจจุบันอยู่ระหว่างขยายโรงงานผลิตโพลียูรีเทนไปในหลายประเทศ ทั้งไทย จีน และสหรัฐ​ และหากหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มอีกทางหนึ่ง เชื่อว่าจะเริ่มเข้าสู่ Net Zero และ Net Greenhouse Gas (GHG) ในปีหน้า นอกจากนี้เราก็ทำงานกับตลอดห่วงโซ่การผลิตของทั้งอุตสาหกรรมด้วย

มาถึง Microsoft Thailand นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บอกว่า ปัญหาโลกร้อนมีความซีเรียสมากขึ้น ทุกประเทศต้องเร่งช่วยกันแก้ปัญหานี้ สิ่งที่จะทำได้มี 2 แนวทาง คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหาโซลูชั่นใหม่ๆมาแก้ไขปัญหา ในส่วนของบริษัทฯมีเป้าหมายที่จะบรรลุ Net Zero Emission ให้ได้ภายในปีค.ศ. 2050 โดยทุกหน่วยงานของบริษัทฯกำลังเดินไปในแนวทางเดียวกันอย่างมุ่งมั่น พร้อมกันนี้ได้นำไปเผยแพร่ให้กับลูกค้า

หลักการสำคัญต้องมี 5 R นอกจาก Reduce, Reuse และ Recycle แล้วต้อง Record คือต้องบันทึกได้ว่ากิจการของเราปล่อยก๊าซเรือนจกทั้งหมดเท่าใด และ Report หรือรายงานผลออกมา เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตรงจุด นอกจากนี้ยังมีนโยบายให้ซัพพลายเออร์ลดก๊าซเรือนกระจก ขณะนี้กำลังทำงานกับ 12 รายมุ่งเน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งบริษัทฯจะมีกองทุนสำหรับทำเรื่องนี้ 1,000 ล้านดอลลาร์ ใช้ไปแล้ว 600 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้การไปสู่ความยั่งยืนคือการเดินทาง ไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว แต่ถูกคนต้องเดินทางไปบนเส้นทางนี้ และต้องช่วยกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกๆของเราจะอยู่ในโลกที่สวยงาม หากไม่ทำก็ไม่มีทางที่จะไปสู่ความยั่งยืนอย่างที่ทุกคนต้องการได้

#GCSustainableLivingSymposium2023

#GenSคนGENใหม่หัวใจยั่งยืน

#GenSStandingForSustainablity

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img