วันศุกร์, ตุลาคม 18, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVEปลุกกระแส Change Now แค่เปลี่ยน โลกก็ปรับ ไม่สะดวกสบาย แต่ต้องทำ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ปลุกกระแส Change Now แค่เปลี่ยน โลกก็ปรับ ไม่สะดวกสบาย แต่ต้องทำ

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ประเมินว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า โลกจะร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และเมื่อนั้นหายนะย่อมมาเยือนเราอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เพื่อจํากัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5°C การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกจะต้องลดลง 45% ภายในปี ค.ศ.2030 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต้องมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี ค.ศ.2050 และ การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เห็นผลเป็นรูปธรรมเท่านั้นจึงจะต่อสู้กับวิกฤตโลกเดือดได้

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ระดับโลก ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเตือนสังคมให้ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน ในงาน “GC Sustainable Living Symposium 2023 : We are GEN S” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 ต.ค.66 ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ไฮไลท์ที่สำคัญของงานนี้เป็นการแลกเปลี่ยนของผู้แทนจากบริษัทเอกชน องค์กรไม่แสวงหากำไร หน่วยงานรัฐ และผู้บริโภคถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต รวมถึงวิถีชีวิต ภายใต้หัวข้อ ChangeNow : แค่เริ่มเปลี่ยนก็สามารถร่วมขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจำเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ได้

ในระดับของภาคธุรกิจ นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เล่าว่า “Empowering  All toward  Inclusive Growth in Action เป็นวิสัยทัศน์ที่บริษัทฯวางไว้อย่างชัดเจน และมีโรดแมพรองรับ เพื่อไปสู่เป้าหมายในการเป็นกลางทางคอร์บอน หรือ Carbon Neutral ภายในปี ค.ศ.2030 และ Net Zero Emission ภายในปี ค.ศ.2050 โดยตั้งงบประมาณไว้ถึง 8,000 ล้านบาท เพื่อทำภารกิจนี้โดยเฉพาะ

สำหรับแนวทางการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ประกอบด้วย การใช้พลังงานสะอาด เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการติตตั้ง โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) และ สนับสนุนให้คนใช้พลังงานสะอาด แม้เราจะเป็นบริษัทขายน้ำมันแต่ก็ส่งเสริมให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันได้ตั้งจุดชาร์จไฟฟ้าไว้ในปั๊มน้ำมันครบทุกจังหวัดแล้ว รวมถึงการลดขยะและของเสีย ใช้วัสดุรีไซเคิล ซึ่งปัจจุบันร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน ใช้วัสดุรีไซเคิลหลายอย่าง อาทิ เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งร้าน รวมถึงมีโครงการเก็บแก้วกลับส่งเสริมการคัดแยกขยะ โดยนำขยะประเภทแก้วและฝาเครื่องดื่ม PET ที่ถูกทิ้งมา Upcycling แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อพนักงาน ผ้ากันเปื้อน เป็นต้น ส่วนแก้ว หลอด และถุงกระดาษ ก็ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ

นอกจากนี้ยังมีโครงการปลูกป่า ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมกับทำให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้โดยสนับสนุนการปลูกกาแฟ และแมคคาเดเมีย ซึ่งบริษัทฯจะเข้าไปรับซื้อ ช่วยสร้างอาชีพสร้างรายได้ ในส่วนของร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน ซึ่งมีกว่า 4,000 สาขา ซึ่ง 80% ดำเนินการโดยพันธมิตร เราก็ไปพูดคุยเพื่อเปลี่ยนทิศทางสู่การดูแลสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน

ทางด้าน หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เสริมหลักคิดการทำให้คนอยู่กับป่าว่า แนวทางการทำงานของเรา คือ “คนอยู่ได้ ป่ายั่งยืน” โดยทำให้ชาวบ้านมีรายได้เทียบเท่ากับที่เขาเคยบุกรุกป่าเพื่อทำมาหากิน เพื่อจูงใจให้ปรับเปลี่ยน ปัจจุบันมูลนิธิฯได้ทำงานในพื้นที่ต่างๆอย่างกว้างขวาง และได้รับการตอบรับจากภาคเอกชนอย่างดี ได้แก่ โครงการพัฒนาดอยตุง พื้นที่ 93,515 ไร่ โครงการปลูกป่าแบบปลูกเสริมบ้านปางมะหัน 17,039 ไร่ โครงการปลูกป่าแบบไม่ปลูกบ้านปูนะ 33,327 ไร่ โครงการปลูกป่าจังหวดน่าน 250,000 ไร่

มีหลายหนทางด้วยกันที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้หากทุกคนจริงจัง นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเวฟ บีซีจี จำกัด ผู้ให้บริการด้านคาร์บอนเครดิต เล่าจากที่ได้เห็นสถานการณ์ทั่วโลกว่า ในแปลงนาข้าวของไทยที่มีกว่า 60 ล้านไร่ เป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือปล่อยราว 1.3 ตันคาร์บอนต่อไร่ การเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวเป็นแบบเปียกสลับแห้ง หมายถึงไม่ต้องขังน้ำในแปลงนาตลอดเวลา แต่รับน้ำเข้าแปลงเฉพาะช่วงที่ต้นข้าวต้องการน้ำมากช่วยลดก๊าซมีเทนในดินได้ถึง 50% และมีผลต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้น้ำในการทำนาได้ 80% ลดต้นทุนการผลิตได้ 20% และยังเพิ่มผลผลิตต่อไร่ 10% สุดท้ายรายได้ของเกษตรกรก็เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันในอินเดียได้ส่งออกข้าวคาร์บอนต่ำแบบนี้ไปต่างประเทศในราคาระดับพรีเมี่ยมแล้ว

สำหรับประเทศไทยหลายฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เกษตรกรปรับวิธีคิด และหันมาปลูกข้าวแบบใหม่ ซึ่งบริษัทใหญ่ 100 อันดับแรกที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ล้วนอยู่ในภาคเกษตร หากช่วยกันเปลี่ยนแปลงวิธีการปลูกข้าวได้เพียงแค่จุดเดียวสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 50% เท่ากับองค์กรเหล่านี้ก็มีส่วนลดโลกร้อนไปด้วย

มาถึงผู้บริโภคกันบ้าง นส.เข็มอัปสร สิริสุขะ (เชอรี่) นักแสดง และ ผู้ก่อตั้งโครงการ Little Big Green แลกเปลี่ยนวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวิถีชีวิตประจำวัน ว่าเราทุกคนทำได้ อาทิ การใช้สิ่งของให้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพให้มากที่สุด การเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่เย็นจนเกินไป เลือกที่จะเดินในระยะที่ทำได้ ส่วนการทำเกษตรนั้นมองว่าควรมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบฟื้นฟูหรือการปลูกให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิม ด้วยการปลูกป่ารอบนาข้าว “ทุกคนต้องมีส่วนในการรับผิดชอบ แม้การเปลี่ยนแปลงจะไม่ง่าย ไม่สะดวกสบาย แต่จำเป็นต้องทำ ”

ท้ายสุดของการเสวนา นายรองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. บอกว่า ในการทำธุรกิจ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เราไม่สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้ แต่สิ่งที่เราจะทำได้ คือการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้อีกด้วย โดยปัจจุบันมีการซื้อขายอย่างกว้างขวาง ทำให้อนาคตราคาขายคาร์บอนเครดิตจะกระโดดขึ้นไปอย่างมาก คาดว่าในปี ค.ศ.2100 จะพุ่งไปถึง 400 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อ tCO2 จากปัจจุบัน 1.2-1.3 ดอลลาร์ต่อตันเท่านั้น จึงขอให้มองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นโอกาสที่ทุกคนจะปรับตัว

#GCSustainableLivingSymposium2023  

#GenSคนGENใหม่หัวใจยั่งยืน  

#GenSStandingForSustainablity

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img