Carbon Sinks : A Breath of Natural Oxygen : O2
“….หากอุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จินตนาการได้เลยว่า ผู้คนจำนวน 2 พันล้านคนที่อาศัยอยู่ในส่วนที่ร้อนที่สุดบนโลก ซึ่งอุณหภูมิจะพุ่งสูงขึ้นถึง 60oC หรือ 140oF เป็นเวลามากกว่า 45 วันต่อปี ซึ่งเป็นจุดที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถออกไปข้างนอกได้นานกว่าประมาณ 6 ชั่วโมง…”
นับตั้งแต่ข้อตกลงปารีส Paris Agreement เป็นต้นมา มีการใช้คำหนึ่งในการถกแถลงสนทนาทั้งหมดเกี่ยวกับการบรรเทาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ Climate Change Mitigation ซึ่งหมายถึง ‘อ่างคาร์บอน หรืออ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks’ .. จุดมุ่งหมาย คือ เพื่อลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดมลพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศ และวิธีหนึ่งในการทำเช่นนี้ คือ การเพิ่มพื้นที่อ่างกักเก็บคาร์บอนบนโลกใบนี้ Increase the Presence of Carbon Sinks on Earth ..
โชคดีที่มิใช่มนุษยชาติเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่พยายามชะลอผลกระทบจากภาวะโลกร้อน Slow Down the Effects of Global Warming .. ธรรมชาติ Nature ในตัวของพวกมันเอง ยังอุดมไปด้วยทรัพยากรในความพยายามรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติไว้ หนึ่งในนั้น คือ อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks หมายถึง แหล่งสะสมคาร์บอน Carbon : 6C ตามธรรมชาติ ได้แก่ มหาสมุทร Oceans, ป่าไม้ Forests, ป่าชายเลน Mangroves, ระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystems และดิน Soils ซึ่งดูดซับก๊าซคารบอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ในชั้นบรรยากาศ รวมทั้งลดสัดส่วน และการปรากฏตัวของพวกมันในอากาศได้อย่างยอดเยี่ยม ..
อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks นั้น หมายถึงอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะจากธรรมชาติ หรือรูปแบบอื่นใดที่สะสม และกักเก็บสารประกอบเคมีที่มีคาร์บอนอยู่ไว้ได้เป็นเวลานาน หรือเป็นระยะเวลาหนึ่ง และด้วยเหตุนี้ จึงกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ออกไปจากบรรยากาศ .. อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks เหล่านี้ คือ ส่วนสำคัญของวัฏจักรคาร์บอนตามธรรมชาติ Natural Carbon Cycle .. คำที่ดูจะครอบคลุมกว่า เช่น บ่อคาร์บอน Carbon Pools ซึ่งเป็นสถานที่ทั้งหมดที่คาร์บอนสามารถดำรงอยู่ได้ ได้แก่ บรรยากาศ Atmosphere, มหาสมุทร Oceans, ดิน Soils, พืช Plants และอื่นๆ .. อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks คือ บ่อคาร์บอนประเภทหนึ่ง Type of Carbon Pool ที่มีความสามารถในการดูดซับคาร์บอน 6C จากชั้นบรรยากาศเอาไว้ได้มากกว่าที่พวกมันปล่อยคายออกมา ..
โดยทั่วไป แหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญที่สุด Most Important Carbon Sinks มีอยู่ 2 แหล่งหลัก ๆ ทั่วโลก ได้แก่ พืชพรรณ Vegetation และมหาสมุทร Oceans .. ดิน Soils เป็นสื่อกักเก็บคาร์บอน Carbon Storage Medium ที่สำคัญ .. คาร์บอนอินทรีย์ Organic Carbon ส่วนใหญ่ที่สะสมอยู่ในดินบนพื้นที่เกษตรกรรมได้หมดลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากการทำฟาร์มเกษตรแบบเข้มข้น Intensive Farming .. การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ กลายเป็นเรื่องจำเป็นจากนี้ไป .. อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks ที่กำลังเป็นที่สนใจของภาครัฐ และเอกชนทั่วโลก ได้แก่ “บลูคาร์บอน Blue Carbon” หมายถึง คาร์บอนที่ตรึงอยู่กับระบบนิเวศในมหาสมุทร Ocean Ecosystems ..
คาร์บอนสีน้ำเงินชายฝั่ง Coastal Blue Carbon ประกอบด้วยป่าชายเลน Mangroves, บึงเกลือ Salt Marshes, สาหร่าย Seaweeds และหญ้าทะเล Seagrasses ซึ่งเป็นพืชน้ำส่วนใหญ่ในมหาสมุทร และสามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ในปริมาณมหาศาล .. คาร์บอนสีน้ำเงินเข้ม Deep Blue Carbon ตั้งอยู่ในมหาสมุทรน่านน้ำลึก และรวมถึงคาร์บอนที่มีอยู่ในพื้นที่มหาสมุทร Oceans ที่เป็น “น่านน้ำไหล่ทวีป Continental Shelf Waters, ทะเลน้ำลึก Deep-Sea Waters และพื้นทะเลที่อยู่ข้างใต้ มหาสมุทร Sea Floor beneath Them เป็นต้นนั้น คือ แหล่ง หรืออ่างกักเก็บคาร์บอนหลัก Main Carbon Sinks ของมหาสมุทร Oceans ในการกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนเกิน To Remove Excess Greenhouse Gas Emissions เช่น ความร้อน Heat และ พลังงาน Energy” ..
มีความพยายามมากมายในการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ Enhance Natural Carbon Sinks ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดิน Soils และป่าไม้ Forestry เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ .. ความพยายามเหล่านี้ สวนทางกับแนวโน้มในอดีตที่เกิดจากแนวทางปฏิบัติแบบเดิม ๆ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการทำเกษตรอุตสาหกรรม Deforestation & Industrial Agriculture ซึ่งทำให้แหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ Natural Carbon Sinks เสื่อมโทรม ถูกทำลาย และหมดลง .. การใช้ที่ดิน Land Use, การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน Land-Use Change และป่าไม้ Forestry ในอดีตมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของมนุษย์ .. ทั้งนี้ นอกเหนือจากการปรับปรุงฟื้นฟูกระบวนการทางธรรมชาติ Enhancing Natural Processes แล้ว ยังมีการลงทุนในโครงการริเริ่มใหม่ ๆ สำหรับการแยกกักเก็บคาร์บอน Investments in Artificial Sequestration Initiatives เพื่อกักเก็บคาร์บอนในวัสดุก่อสร้าง Building Materials หรือจัดเก็บไว้ใต้ดินลึก Deep Underground แบบถาวรไปพร้อมด้วย ..
ความสำคัญของอ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks ในวัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle ..
คาร์บอน Carbon : 6C คือ สิ่งจำเป็นต่อทุกชีวิตบนโลก Essential to All Life on Earth .. คาร์บอน Carbon : 6C อยู่ใน DNA ของเรา อาหารที่เรากิน และอากาศที่เราหายใจ .. ปริมาณคาร์บอนบนโลกไม่เคยเปลี่ยนแปลง แต่ตำแหน่งที่คาร์บอนตั้งอยู่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยจะไหลระหว่างชั้นบรรยากาศและสิ่งมีชีวิตบนโลกในขณะที่มันถูกปล่อยหรือดูดซับ สิ่งนี้เรียกว่า วัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่มีความสมดุลอย่างสมบูรณ์แบบมานานนับพันปี Perfectly Balanced for Thousands of Years ..
อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จากชั้นบรรยากาศ .. มหาสมุทร Oceans, ดิน Soils และป่าไม้ Forests คือ แหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก World’s Largest Carbon Sinks ..
แหล่งคาร์บอน Carbon Sources จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ตัวอย่างของแหล่งคาร์บอน Carbon Sources ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล Burning of Fossil Fuels เช่น ก๊าซ Gas, ถ่านหิน Coal และน้ำมัน Oil, การตัดไม้ทำลายป่า Deforestation และภูเขาไฟระเบิด Volcanic Eruptions ..
ปัจจุบัน กิจกรรมของมนุษยชาติที่เพิ่มขึ้น กำลังทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล .. มนุษย์ กำลังปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าที่แหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลกจะดูดซับได้ .. การพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เพื่อพลังงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศหลายพันล้านตันทุกปี ซึ่งทำให้ความสำคัญของอ่างคาร์บอน Carbon Sinks ไม่เคยมีมากเท่านี้มาก่อนเลย ..
ในอดีตที่ผ่านมา อ่างคาร์บอนทางชีวภาพ Biological Carbon Sinks เหล่านี้ ได้เคยทำงานไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่งวัฏจักรคาร์บอนซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงมานานนับพันปี เริ่มได้รับผลกระทบจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล Burning Fossil Fuels และส่งผลให้สัดส่วนความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว .. สถานการณ์นี้ไม่เพียงจะยังดำเนินต่อไปเมื่อเวลาผ่านไป แต่ยังเลวร้ายลงอีกด้วย ตั้งแต่เริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม Industrial Revolution จนถึงปัจจุบัน .. ความเข้มข้นของ CO2 ในอากาศ ได้เพิ่มจาก 278 ส่วนในล้านส่วน Parts per Million : ppm เป็นมากกว่า 400 ppm เนื่องจากองค์กร Global Carbon Project ได้เตือนมนุษยชาติไว้ เมื่อปี 2565 ..
เมื่อต้องเผชิญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Emissions : GGEs ที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่สมสัดส่วนนี้ ในปี 2565 ระดับ CO2 ที่ 417.2 ppm ถูกบันทึกไว้ในชั้นบรรยากาศ และแหล่งกักเก็บคาร์บอนหลัก Main Carbon Sinks ในธรรมชาติบนโลกใบนี้ สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หมุนเวียนอยู่ในชั้นบรรยากาศได้เพียง 31% เท่านั้น ..
ดังนั้น การปกป้องฟื้นฟูแหล่งกักเก็บคาร์บอน Protecting & Restoring Carbon Sinks จึงถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรักษาสภาพภูมิอากาศของโลกให้คงที่ แต่ในข้อเท็จจริงนั้น พวกมัน กำลังถูกคุกคามมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเราจะยอมให้เป็นไปอย่างนี้ นั้นไม่ได้ ..
อย่างไรก็ตาม เพื่อทำความเข้าใจในความสำคัญของอ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks มากขึ้นนั้น โดยหลักการแล้ว Carbon Sinks คือ แหล่งกักเก็บใดๆ Any Reservoir ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติ หรือไม่ Natural or Not ก็ตาม จะทำให้สัดส่วนความเข้มข้นของ CO2 ในชั้นบรรยากาศที่กำลังเพิ่มขึ้นนั้น ลดลง ซึ่งกระบวนการภาพรวมของพวกมัน ซับซ้อนอย่างมาก ..
เนื่องจาก เพราะว่า โลกเป็นระบบปิด Earth is a Closed System ดังนั้น ปริมาณคาร์บอน จึงไม่เคยเปลี่ยนแปลง Amount of Carbon Never Changes .. วัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle ช่วยให้คาร์บอน Carbon : 6C เคลื่อนจากแหล่งกักเก็บแห่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง นั่นเอง ..
เมื่อคาร์บอน Carbon : 6C อยู่ในตำแหน่งที่การดูดซับของคาร์บอนมีมากกว่าปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมา นั่นแหละ คือ อ่างคาร์บอน Carbon Sinks .. ดังนั้น อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks จึงเป็นที่ที่ดูดซับคาร์บอนมากกว่าที่ปล่อยออกมา Absorbs More Carbon than it Releases ..
อ่างคาร์บอน Carbon Sinks ทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำ Sponge โดยดูดซับสารประกอบคาร์บอน Carbon Compounds เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 เป็นต้น .. ทั้งนี้ อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ในบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ ..
คำถามสำคัญ ได้แก่ จะเกิดอะไรขึ้น หากมนุษยชาติควบคุมระดับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศไม่ได้ .. สถานการณ์กรณีที่เลวร้ายที่สุดของชีวิตในปี 2593 ซึ่งจริงๆ แล้วมีแนวโน้มเป็นไปได้มาก หากผู้คนทั่วโลกไม่ตระหนัก ไม่ร่วมมือกัน ..
คำตอบสั้น ๆ ว่าเหตุใด มนุษยชาติจึงต้องมีอ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks นั้นง่ายมาก นั่นคือ เพื่อรักษามนุษยชาติให้คงอยู่ต่อไปได้ Keep Humankind Alive นั่นเอง ..
อ่างคาร์บอน Carbon Sinks คือ ความจำเป็น และพวกมัน มิได้เป็นคำตอบเดียว แต่เนื่องจากอ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks มีบทบาทอย่างมากในการกักเก็บคาร์บอนส่วนเกินที่อาจจะทำให้โลกของเราร้อนขึ้น .. ซึ่งพวกมันก็ทำได้อย่างดีเยี่ยม ..
หากอุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จินตนาการได้เลยว่า ผู้คนจำนวน 2 พันล้านคนที่อาศัยอยู่ในส่วนที่ร้อนที่สุดบนโลก ซึ่งอุณหภูมิจะพุ่งสูงขึ้นถึง 60oC หรือ 140oF เป็นเวลามากกว่า 45 วันต่อปี ซึ่งเป็นจุดที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถออกไปข้างนอกได้นานกว่าประมาณ 6 ชั่วโมง เพราะจะสูญเสียความสามารถในการทำให้ร่างกายเย็นลง .. สถานที่ต่างๆ เช่น อินเดียตอนกลาง มีความท้าทายในการอยู่อาศัยมากขึ้นเรื่อยๆ การอพยพผู้คนจำนวนมากไปยังพื้นที่ชนบทที่มีอากาศร้อนน้อยกว่านั้น เต็มไปด้วยปัญหาผู้ลี้ภัย ความไม่สงบ และการนองเลือดเนื่องจากปริมาณน้ำที่ลดลง ขณะที่ความต้องการน้ำสะอาดเพิ่มขึ้น ..
การผลิตอาหาร Food Production จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในแต่ละเดือน ฤดูกาลต่อฤดูกาล ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่อาศัยอยู่ คาดว่า ผู้คนอดอยากจะมีจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมอย่างมากมาย .. เขตภูมิอากาศ Climate Zones มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น อาจมีพื้นที่ใหม่บางส่วนที่พร้อมสำหรับการเกษตร เช่น อลาสกา Alaska หรือ อาร์กติก Arctic ในขณะที่บางพื้นที่จะกลับกลายเป็นพื้นที่แห้งแล้งรุนแรง เช่น เม็กซิโก Mexico หรือ แคลิฟอร์เนีย California .. ยังมีประเทศอื่นๆ อีกมากที่ไม่มั่นคงเนื่องจากความร้อนจัด Extreme Heat, ปัญหาเรื่องน้ำท่วม Flooding, ไฟป่า Wildfire และพายุทอร์นาโด Tornadoes ทำให้แผนการจัดหาอาหารโดยทั่วไปไม่สามารถคาดเดาได้อย่างมาก Food Supply in General Highly Unpredictable .. การค้าโลก Global Trade ชะลอตัวลงเนื่องจากประเทศต่างๆ พยายามรักษาทรัพยากรของตนเองอย่างสุดความสามารถเพื่อความอยู่รอดของประชาชนคนในชาติ ..
ประเทศที่มีอาหารเพียงพอ ก็มีความแน่วแน่ที่จะยึดมั่นในอาหารดังกล่าว ผลที่ตามมาคือ การจลาจลด้านอาหาร การรัฐประหาร และสงครามกลางเมือง ทำให้ชาติที่อ่อนแอที่สุดถึงอาจต้องสิ้นชาติ ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว พยายามที่จะปิดพรมแดนป้องกันการอพยพย้ายถิ่นฐานจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือ ความวุ่นวาย และการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด นี่ยังมิได้รวมผลของสัดส่วนก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว ซึ่งโลกจะมีอุณภูมิสูงขึ้น และจะมีสภาพเหมือนเช่นที่ดาวศุกร์เป็นในปัจจุบัน หมายถึง การสูญพันธุ์ขนานใหญ่จะเกิดขึ้นบนโลกใบนี้อย่างแน่นอน หากมนุษยชาติ ไม่ทำอะไรที่เหมาะสมถูกต้องจากนี้ไป ..
ดังนั้น การลดแหล่งปล่อยคายคาร์บอน Mitigate Carbon Sources โดยแปลงพวกมันให้กลายเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks และแหล่งปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหมายถึง การฟื้นลมหายใจของออกซิเจนตามธรรมชาติของโลก .. คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่กักเก็บไว้ในแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ Natural Carbon Sinks เช่น ป่าไม้ Forests จะถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศผ่านไฟป่า Forest Fires, การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน หรือการตัดไม้ Land Use or Logging .. นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน Reduce Carbon Emissions และการฟื้นฟูระบบนิเวศแหล่งกักเก็บคาร์บอน Ecosystem Carbon Sinks รวมถึงการฟื้นระบบนิเวศวิทยาในมหาสมุทร และชายฝั่งทะเล Oceans & Coastal Ecosystems ให้ปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 ปริมาณมหาศาลมาพร้อมด้วย จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด เพื่อต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ให้บรรลุถึงความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศ Climate Neutrality ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
การเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บคาร์บอนในธรรมชาติ Natural Carbon Sinks และอ่างเก็บคาร์บอนปัญญาประดิษฐ์ Artificial Carbon Sinks ..
มาตรการบรรเทาผลกระทบที่สำคัญคือ มาตรการหนึ่งในรายงานการประเมินครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการระหว่างนครรัฐว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC เรียกว่า “การอนุรักษ์ และการปรับปรุงแหล่งกักเก็บคาร์บอน Preserving & Enhancing Carbon Sinks” นี่หมายถึง การจัดการแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลกในลักษณะที่ช่วยรักษาฟื้นฟู หรือเพิ่มความสามารถในการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ออกไปจากชั้นบรรยากาศ และจัดเก็บไว้ได้อย่างคงทน เราเรียกสิ่งนี้ว่า การกักเก็บคาร์บอน Carbon Sequestration .. ในบริบทของการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Mitigation นั้น IPCC ให้คำจำกัดความของอ่างกักเก็บว่า คือ “กระบวนการ กิจกรรม หรือกลไกใดๆ ที่กำจัดก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas, ละอองแขวนลอย Aerosol หรือสารตั้งต้นของก๊าซเรือนกระจก Precursor of a Greenhouse Gas ออกไปจากชั้นบรรยากาศ” ซึ่งแหล่งกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks ที่สำคัญที่สุดทั่วโลก ได้แก่ พืชพรรณ Vegetation และมหาสมุทร Oceans ..
เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบนิเวศวิทยาในการแยกกักคาร์บอน Ecosystems to Sequester Carbon นั้น การเปลี่ยนแปลง จึงมีความจำเป็นในด้านการเกษตร และการทำป่าไม้ ตัวอย่าง ได้แก่ การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า Preventing Deforestation และการฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติด้วยการปลูกป่า Restoring Natural Ecosystems by Reforestation เป็นต้น .. สถานการณ์ที่จำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่จุดเล็ง 1.5°C มักคาดการณ์ถึงการใช้วิธีกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในวงกว้างในศตวรรษที่ 21 ที่มีความกังวลเกี่ยวกับการพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้มากเกินไป และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม .. แต่การฟื้นฟูระบบนิเวศ Ecosystem Restoration และลดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ Reduced Conversion of Ecosystems ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือบรรเทาผลกระทบ Mitigation Tools ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด เฉียบขาด และไม่ยากจนเกินไป อย่างน้อยก่อนปี 2573 ..
ตัวเลือกการบรรเทาผลกระทบบนที่ดินที่เรียกว่า “เกษตรกรรม ป่าไม้ และการใช้ที่ดินอื่น ๆ Agriculture, Forestry, and Other Land Use : AFOLU” คือ แนวทางปฏิบัติในรายงานของ IPCC ประจำปี 2565 เกี่ยวกับการบรรเทาผลกระทบสภาพอากาศ .. รายงานกล่าวถึง ศักยภาพในการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ และระบบนิเวศ ได้แก่ การอนุรักษ์ การปรับปรุงการบริหารจัดการ และการฟื้นฟูป่าไม้ และระบบนิเวศอื่นๆ Conservation, Improved Management & Restoration of Forests and Other Ecosystems เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ ชายฝั่งทะเล พื้นที่ป่าพรุ ทุ่งหญ้าสะวันนา และทุ่งหญ้าอื่น ๆ ในหลายพื้นที่ทั่วโลก .. การศึกษา พบว่า พวกมัน มีศักยภาพในการบรรเทาผลกระทบสูง โดยเฉพาะการลดการตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อน Reducing Deforestation in Tropical Regions .. ทั้งนี้ ศักยภาพทางเศรษฐกิจของกิจกรรมเหล่านี้ คาดหมายว่าจะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ออกไปจากชั้นบรรยากาศได้ด้วยปริมาณอย่างน้อยอยู่ที่ 4.2-7.4 GT CO2e ต่อปี ..
นอกจากนั้น ในประเด็นระบบนิเวศในมหาสมุทร Ocean Ecosystems นั้น เพื่อปรับปรุงกระบวนการกักเก็บคาร์บอนในมหาสมุทร Enhance Carbon Sequestration Processes in Oceans จึงมีการเสนอเทคโนโลยีที่หลากหลาย .. โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง Coastal Ecosystem Restoration หรือที่เรียกว่า บลูคาร์บอน Blue Carbon Projects, การทำฟาร์มสาหร่าย Seaweed Farming, โครงการขุนบำรุงเลี้ยงมหาสมุทร Ocean Fertilization และการเติมด่างเพื่อทำให้สภาวะความเป็นกรดในทะเลเป็นกลางมากขึ้น Neutralize Acids in Seawater เป็นต้นนั้น กำลังได้รับความสนใจจากภาครัฐของแต่ละประเทศ ซึ่งรวมถึงเอกชน และภาคประชาสังคม ที่หวังจะลงทุนในตลาดคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Market ไปพร้อมด้วยเทคโนโลยีการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emission Technologies : NETs คือ แนวโน้ม และโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจจากนี้ไป หากมนุษยชาติ มุ่งมั่นอย่างจริงจังที่จะรักษาโลกใบนี้ไว้ ..
ทั้งนี้ ในประเด็นของอ่างกักเก็บคาร์บอนปัญญาประดิษฐ์ Artificial Carbon Sinks นั้น ก็เช่นกัน พวกมันถือเป็นอีกหนึ่งในแนวความคิดที่เป็นไปได้สูง .. การนำไม้จำนวนมากมาใช้ในวงกว้าง Broad-Base Adoption of Mass Timber และบทบาทของพวกมันในการทดแทนเหล็ก และคอนกรีตสำหรับโครงการก่อสร้างอาคารสูงระดับกลางใหม่ ๆ ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนอาคารไม้ Timber Buildings เหล่านี้ ให้กลายเป็นอ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks เนื่องจากพวกมันกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่นำไปใช้ ขึ้นมาจากอากาศด้วยช่วงการเติบโตของต้นไม้ที่เก็บเกี่ยว และใช้เป็นไม้จำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลให้มีการกักเก็บคาร์บอนระหว่าง 10 ล้านตันต่อปีในสถานการณ์ต่ำสุด และอาจสูงถึงเกือบ 700 ล้านตันได้ในสถานการณ์สูงสุด .. อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ป่าไม้ที่เก็บเกี่ยวได้จะต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน และไม้จากอาคารไม้ที่รื้อถอนจะต้องถูกนำมาใช้ซ้ำ หรืออนุรักษ์ Reused or Preserved ไว้บนที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ หรือการจัดเก็บคาร์บอนในรูปแบบของวัสดุก่อสร้าง Building Materials อย่างถาวร เพื่อให้อาคารใหม่ๆ เหล่านี้ กลายเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนปัญญาประดิษฐ์ Artificial Carbon Sinks ระยะทนยาวได้ต่อไปพร้อมด้วย เป็นต้น ..
คาดการณ์ตลาดการดักจับ และกักเก็บคาร์บอนทั่วโลก Global Carbon Capture & Sequestration Market ..
อ้างถึงข้อมูลของ Fortune Business Insights พบว่า ตลาดการดักจับ และกักเก็บคาร์บอนทั่วโลก Global Carbon Capture & Sequestration Market มีมูลค่า 1.96 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 และพุ่งสูงถึง 7.00 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2571 .. ทั้งนี้ อัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดการดักจับ และกักเก็บคาร์บอนทั่วโลก Global Carbon Capture & Sequestration Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 19.5% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2564-2571 .. การเติบโตของตลาดมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเพื่อนำเทคโนโลยี Carbon Capture & Sequestration : CCS Technologies รูปแบบต่างๆ ไปใช้เชิงพาณิชย์โดยการสร้างโรงงานผลิตขนาดใหญ่ให้เสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาฟื้นฟูอ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks Development Projects เช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศวิยาในหลายพื้นที่ทั่วโลก เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตของตลาดเป็นอย่างมาก ..
ปัจจุบัน รัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วโลก กำลังนำเสนอแผนปฏิบัติการที่เข้มงวดเพื่อขจัดปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอน และเพื่อจัดการต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นปกติด้วยระยะเวลานานขึ้น .. ตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับการเติบโตของตลาดการดักจับคาร์บอน และการกักเก็บคาร์บอน Carbon Capture & Sequestration Market Growth คือการดำเนินการตามขั้นตอนที่เข้มงวดในการควบคุม และติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases จากกิจกรรมของมนุษยชาติ ..
สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ชี้ว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทั่วโลก อยู่ที่ 32.2 GT ในปี 2558 และเพิ่มขึ้นเป็น 33.3 GT ในปี 2562 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 3.4% ในเวลาเพียง 5 ปี .. อย่างไรก็ตาม ต้นทุนเริ่มต้นที่สูงอาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของตลาด ดังนั้น การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต Carbon Credit Market ไปพร้อมด้วย จึงกลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่จุดเล็ง 1.5oC รวมทั้งการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษจากภาคพลังงาน Energy Sector เป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emission ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้นั้น เป็นไปได้ ..
สรุปส่งท้าย ..
โลกเป็นระบบปิด Earth is a Closed System ดังนั้น ปริมาณคาร์บอน จึงไม่เคยเปลี่ยนแปลง Amount of Carbon Never Changes .. วัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle ช่วยให้คาร์บอน Carbon : 6C เคลื่อนจากแหล่งกักเก็บแห่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง นั่นเอง ..
เมื่อคาร์บอน Carbon : 6C อยู่ในตำแหน่งที่การดูดซับของคาร์บอนมีมากกว่าปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมา นั่นแหละ คือ อ่างคาร์บอน Carbon Sinks .. ดังนั้น อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks จึงเป็นที่ที่ดูดซับคาร์บอนมากกว่าที่ปล่อยออกมา Absorbs More Carbon than it Releases ..
อ่างคาร์บอน Carbon Sinks ทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำ Sponge โดยดูดซับสารประกอบคาร์บอน Carbon Compounds เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 เป็นต้น .. ทั้งนี้ อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาระดับสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ในบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ ..
วัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle อธิบายการไหลของคาร์บอน Carbon : 6C ระหว่างแต่ละสถานที่เหล่านี้ ตัวอย่างเช่น คาร์บอน Carbon : 6C ไหลเข้าออกชั้นบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิตอย่างต่อเนื่อง .. ในขณะที่ พืชสังเคราะห์แสง พวกมันจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 ออกไปจากชั้นบรรยากาศ เมื่อพืชตาย คาร์บอน Carbon : 6C จะลงไปในดิน และจุลินทรีย์ Microbes สามารถปล่อยคายคาร์บอน Carbon : 6C กลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศโดยการย่อยสลาย Decomposition ..
โดยทั่วไปแล้ว ป่าไม้ Forests และมหาสมุทร Oceans คือ แหล่งกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks ซึ่งเป็นสถานที่ที่ดูดซับคาร์บอน Carbon : 6C มากกว่าที่ปล่อยออกมา .. พวกมัน นำคาร์บอน Carbon : 6C ออกจากชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง Process of Photosynthesis .. มหาสมุทร Oceans เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของแหล่งกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks ซึ่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จำนวนมากออกจากไปจากชั้นบรรยากาศ ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งป่าไม้ Forests และมหาสมุทร Oceans ก็ปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 ปริมาณมหาศาลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศออกมาพร้อมด้วยเช่นกัน ..
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมของมนุษย์ด้วยกระบวนการบางอย่างปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ออกสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าที่ดูดซับได้ .. กระบวนการใด ๆ ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เช่น การเผาถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า Burning Coal to Make Electricity จะปล่อยคาร์บอนจำนวนมากออกสู่ชั้นบรรยากาศ .. การเลี้ยงโคเพื่อเป็นอาหาร Raising Cattle for Food ยังปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน .. ทั้งนี้ กระบวนการที่ปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศเหล่านี้ เรียกว่า แหล่งคาร์บอน Carbon Sources ..
ตามหลักการแล้ว วัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle จะรักษาสัดส่วนความเข้มข้นคาร์บอนของโลกให้อยู่ในสมดุลธรรมชาติ โดยเคลื่อนย้ายคาร์บอน Carbon : 6C จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และทำให้ระดับสัดส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ในชั้นบรรยากาศคงที่ .. อย่างไรก็ตาม วัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle กำลังเปลี่ยนแปลงเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ ผู้คนปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Using Fossil Fuels และการยังคงมุ่งที่จะทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่ Maintaining Large Livestock Operations .. การตัดไม้ทำลายป่า Deforestation กำลังทำลายแหล่งกักเก็บคาร์บอนของโลก Earth’s Supply of Carbon Sinks ส่งผลให้ปริมาณคาร์บอน Carbon : 6C ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น ..
อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการระดับสัดส่วนของคาร์บอน Carbon : 6C ในชั้นบรรยากาศของเรา และสร้างความมั่นใจว่า ภาวะโลกร้อน Global Warming จะถูกควบคุม ปัญหาเดียว คือ อ่างคาร์บอน Carbon Sinks มีขีดจำกัดสูงสุด ..
เมื่ออ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks ได้รับความเสียหาย หรือถูกทำลาย เช่น ไฟไหม้ป่าฝนอเมซอน Fires Rage in the Amazon Rainforest หรือเมื่อคาร์บอนส่วนเกินในมหาสมุทร ทำให้น้ำทะเลกลายเป็นกรด Excess Carbon in the Ocean Causes the Seawater to Become Acidic ซึ่งระบบนิเวศ Ecosystems เหล่านี้ อาจหยุดดูดซับคาร์บอน Carbon : 6C โดยสิ้นเชิง และอาจถึงขั้นปล่อยคายคาร์บอน Carbon : 6C ที่สะสมไว้กลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศ ตัวอย่างเช่น ภาวะโลกร้อนในมหาสมุทร Ocean Warming ส่งผลกระทบต่อความสามารถของระบบนิเวศทางทะเลในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Ability of Marine Ecosystems to Absorb CO2 เนื่องจากน้ำอุ่นตามธรรมชาติจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ได้น้อยลง และเนื่องจากสิ่งนี้เน้นย้ำถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทางทะเลที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่เย็นกว่านั่นเอง ..
การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล Burning Fossil Fuels เช่น ถ่านหิน Coal, น้ำมัน Oil และก๊าซธรรมชาติ Natural Gas มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ พบว่าคิดเป็นเกือบ 90% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ทั้งหมด และมากกว่า 75% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Emissions ทั่วโลก เกิดขึ้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล Burning Fossil Fuels ..
ด้วยเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ สรุปตรงๆ ได้ว่า การปกป้อง และการฟื้นฟูแหล่งกักเก็บคาร์บอนของเรา Protecting & Restoring Our Carbon Sinks นั้น ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญในระดับคอขาดบาดตายที่มนุษยชาติทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้อีกต่อไป ..
อ่างกักเก็บคาร์บอนธรรมชาติ Natural Carbon Sinks ที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอนทางชีวภาพ Biological Carbon Sequestration ขณะที่วิศวกรด้านสภาพอากาศ ก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะใช้ดักจับคาร์บอนจากแหล่งอุตสาหกรรม Capture Carbon from Industrial Sources และฉีดเข้าไปในที่เก็บใต้ดินมาพร้อมด้วย อย่างไรก็ตาม โซลูชันข้อไขเหล่านี้ ยังไม่สามารถกักเก็บคาร์บอน Carbon : 6C ได้เพียงพอเพื่อลดความเข้มข้นของ CO2 ในชั้นบรรยากาศในปัจจุบัน และไม่สามารถทดแทนศักยภาพจากแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ Natural Carbon Sinks ได้ ..
น่าเสียดายที่กิจกรรมของมนุษย์ Human Activity ในอดีตก่อนหน้านี้ และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ของผู้คนที่เพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา กำลังทำลายความสมดุลอันละเอียดอ่อนระหว่างคาร์บอน และชั้นบรรยากาศของโลก Carbon & the Earth’s Atmosphere .. ดังนั้น การปกป้อง และฟื้นฟูแหล่งกักเก็บคาร์บอน Protecting & Restoring Our Most Indispensable Carbon Sinks ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้มากที่สุดของมนุษยชาติ ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติสำคัญอีกมากมายที่จะต้องการรักษาพวกมันไว้ให้ได้ เพื่ออนาคตของมนุษยชาติที่มั่นคงปลอดภัย และสามารถอยู่รอดบนโลกใบนี้ต่อไปได้อย่างยั่งยืนด้วยความมั่นใจจากนี้ไป ..
………………………………….
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Carbon Sinks, a Breath of Natural Oxygen | Iberdrola :-
https://www.iberdrola.com/sustainability/carbon-sinks
Carbon Sinks Explained: How Storing Carbon Fights the Climate Crisis | Single Earth Blog :-
‘The Only Uncertainty Is How Long We’ll Last’: A Worst Case Scenario for the Climate in 2050 | The Guardian :-
Carbon Capture and Sequestration Market Size | Globe News Wire :-
Earth Overhaul | Saving Planet Earth from Climate Change Documentary :-
https://photos.app.goo.gl/3qLWAqW541RdtBLp7
Net Zero Emissions Electricity :-
https://photos.app.goo.gl/EEjMKeZqJegVMpb16
Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-