วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSอนาคตปิโตรเคมี อนาคตพลาสติก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อนาคตปิโตรเคมี อนาคตพลาสติก

The Future of Petrochemicals

“เศรษฐกิจของมนุษยชาติพึ่งพาปิโตรเคมีเป็นอย่างมาก แต่ภาคส่วนนี้ได้รับความสนใจน้อยกว่าที่มันควรจะเป็น .. ปิโตรเคมี Petrochemicals เป็นหนึ่งในจุดบอดที่สำคัญในการถกเถียงเรื่องพลังงานทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจนเมื่อมันมีอิทธิพลต่อแนวโน้มพลังงานโลกในอนาคต”

– Dr Fatih Birol | Executive Director, IEA ..

ปิโตรเคมี Petrochemicals พบได้ในผลิตภัณฑ์สมัยใหม่มากมาย มันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของมนุษย์ เสื้อผ้า ยางรถยนต์ อุปกรณ์ดิจิทัล บรรจุภัณฑ์ ผงซักฟอก และของใช้ในชีวิตประจำวันอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน ทำขึ้นจากปิโตรเคมี .. วัตถุดิบปิโตรเคมีคิดเป็น 12% ของความต้องการน้ำมันทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนแบ่งที่คาดว่าจะมากขึ้นอีกจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับ พลาสติก ปุ๋ย และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ แม้จะมีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น และเติบโตต่อเนื่อง แต่ภาคส่วนนี้ยังคงนั่งอยู่ตรงตำแหน่งเพียงลำดับรองในการอภิปรายด้านพลังงานของทั่วโลก ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของมุมมืดด้านพลังงานของ IEA .. มันเป็นประเด็นสำคัญของความต้องการพลังงาน แต่ไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากฝ่ายการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย และไม่มีใครใส่ใจมันมากนัก ..

อย่างไรก็ตาม อนาคตของปิโตรเคมี ได้เปลี่ยนไป มันกำลังกลายเป็นประเด็นสำคัญ และเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนบทบาทระบบพลังงานโลกในปัจจุบัน รวมทั้งประเด็นความสำคัญของความมั่นคงทางพลังงาน กับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก .. มันสมควรมีการกำหนดกรอบนโยบาย หรือมาตรการต่าง ๆ ในอนาคตอย่างไรนั้น .. ข้อเขียนนี้ เป็นการสอบทานสถานการณ์ทางเลือกที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ รวมทั้งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และกลยุทธ์ต่าง ๆ .. การประเมินผลกระทบต่อความต้องการพลังงาน และรวมถึงความต้องการทางสังคม มุ่งหวังเพื่อให้ได้มาซึ่ง ตำแหน่ง และข้อไขที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในอนาคตต่อไป ..

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี มีอยู่ทั่วไป และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งรวมถึง พลาสติก ปุ๋ย บรรจุภัณฑ์ เสื้อผ้า อุปกรณ์ดิจิทัล อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผงซักฟอก ยางรถยนต์ และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังพบได้ในหลายส่วนของระบบพลังงานสมัยใหม่ ได้แก่ แผงโซล่าเซลล์ ใบกังหันลม แบตเตอรี่ ฉนวนกันความร้อนสำหรับอาคาร และชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ..

อนาคตของปิโตรเคมี จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบต่อผลจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ กับสิ่งที่เราสามารถจะกระทำได้ เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ..

Petrochemical Products | Photo Credit : Penthol

ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีพุ่งสูง และยังคงเติบโตต่อไป …

นอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล จะเป็นองค์ประกอบหลักของระบบพลังงานโลกแล้ว อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ความต้องการพลาสติกซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่คุ้นเคยมากที่สุด แซงหน้าวัสดุจำนวนมากอื่น ๆ ทั้งหมด เช่น เหล็ก อลูมิเนียม หรือซีเมนต์ และเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2000 ..

ปัจจุบัน กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ใช้พลาสติกมากถึง 20 เท่า และปุ๋ยมากถึง 10 เท่าเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย และอินโดนีเซีย โดยคิดเป็นรายหัว สิ่งนี้ตอกย้ำถึงแนวโน้มชัดเจนในการเติบโตของขนาดธุรกิจ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั่วโลก ..

Petrochemicals & The Things Made from Oil | Photo Credit : PGM Capital

ปิโตรเคมีอยู่รอบตัวเรา .. ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหาร และผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์อื่น ๆ สามารถทำจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี หลายประเภทรวมทั้ง โพลีเอทิลีน Polyethylene และโพลีสไตรีน Polystyrene .. ทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งของแอมโมเนีย ถูกเปลี่ยนเป็นยูเรียซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรของพืช และเพิ่มการผลิตอาหารโลก .. ทั้งนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์อีกหลายรายการที่ต้องกล่าวถึง ได้แก่ ยางสังเคราะห์ .. ยางสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบหลักของยางสำหรับรถยนต์รถบรรทุก และจักรยาน และส่วนใหญ่มาจาก บิวทาไดอีนของปิโตรเคมี Petrochemical Butadiene รวมทั้ง น้ำยาซักผ้า และเสื้อผ้า หลากหลายรายการในเครื่องซักผ้าของเราได้มาจากปิโตรเคมี เช่น สารลดแรงตึงผิว และเส้นใยโพลีเอสเตอร์ Polyester Fiber เป็นต้น ..

เศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา นำไปสู่การเติบโต ..

แม้ว่าการรีไซเคิล Recycle จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก และความพยายามในการควบคุมพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งนั้น เกิดขึ้นเพียงเฉพาะในสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี เท่านั้น และความพยายามเหล่านี้ไม่อาจเกินดุลไปมากนักเนื่องจากความต้องการของประเทศกำลังพัฒนาที่ยังคงเพิ่มสัดส่วนการบริโภคพลาสติกอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีวัตถุดิบที่เป็น Biomass จำนวนมากที่พร้อมจะนำมาผลิตสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากชีวมวลได้ด้วยผลผลิตการเกษตรจำนวนมหาศาล เช่น พลาสติกชีวภาพ เป็นต้น เพื่อนำมาแทนที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีด้วยซ้ำไป และยังรวมถึงปัญหาการด้อยประสิทธิภาพในกำจัดทิ้งด้วย .. ความยากลำบากในการค้นหาทางเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสำหรับการใช้งานจำนวนมาก หรือการจัดหาวัสดุคุณภาพใกล้เคียงมาแทนที่พลาสติก หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่น ๆ นั้น จึงยากเย็นอย่างยิ่ง .. มันจึงกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุปสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีโดยรวมเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แม้ในสถานการณ์การถดถอยรุนแรงของอุตสาหกรรมน้ำมัน ทั้ง ๆ ที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็น By-Product ในอุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำลังถดถอยก็ตาม ..

ปิโตรเคมี กลายเป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างรวดเร็ว ..

การเติบโตของความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี หมายความว่า ปิโตรเคมีมีสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจนถึงปี 2030 และเกือบครึ่งหนึ่งถึงปี 2050 นำหน้าความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงในรถบรรทุก การบิน และระบบการขนส่ง .. ปิโตรเคมีพร้อมที่จะใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 56 พันล้านลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2030 ซึ่งเทียบเท่ากับประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งหมดต่อปีของแคนาดาในปัจจุบัน ..

มันคือพลวัตใหม่ในกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกำลังขับเคลื่อนการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับโลกอย่างต่อเนื่องต่อไป ..

หลังจากสองทศวรรษแห่งความซบเซา และถดถอยของธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงสหรัฐฯ .. มันกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งในฐานะภูมิภาคที่มีต้นทุนต่ำสำหรับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลง ก๊าซธรรมชาติ สารเคมี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก Shale Gas Shale Oil Revolution ซึ่งมันอยู่ในชั้นหิน มิได้ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน ใต้ก้นทะเลลึกอีกต่อไป .. ยุคน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติราคาถูก ยืดออกไปอีกอย่างน้อย 30 ปี หรืออาจยาวนานไปถึง 50 ปีด้วยซ้ำไป .. ปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นที่ตั้งของกำลังการผลิตปิโตรเคมีที่ใช้อีเทน Ethane-Based Petrochemical Production ทั่วโลกประมาณ 40% .. อย่างไรก็ตาม ตะวันออกกลาง ยังคงเป็นแชมป์ต้นทุนต่ำสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่สำคัญบนโลกใบนี้ ..

สถานการณ์เทคโนโลยีสะอาด The Clean Technology Scenario : CTS ..

แม้จะมีประโยชน์มากมายที่พวกมันมอบให้แก่สังคมมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ .. แต่เทคโนโลยีสะอาดที่มีความสำคัญต่อระบบพลังงานที่ยั่งยืน การผลิต การใช้งาน และการกำจัดขยะพลาสติก และอื่น ๆ ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีนั้น ก่อให้เกิดความท้าทายด้านความยั่งยืนที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน ..

ข้อเขียนอนาคตของปิโตรเคมีนี้ นำเสนอสถานการณ์ที่สรุปแนวทางเลือกสำหรับภาคเคมีภัณฑ์ที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติหลายประการ .. สถานการณ์เทคโนโลยีสะอาด หรือ The Clean Technology Scenario : CTS เป็นการแสวงโอกาสในการลดมลพิษทางอากาศ และทางน้ำ และความต้องการน้ำที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารเคมีขั้นต้น ควบคู่ไปกับเป้าหมายในการลดการปล่อย CO2 ด้วยสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการลดมลพิษ และแง่มุมต่าง ๆ ของระบบพลังงานในอนาคตให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ยั่งยืนของ IEA ..

เพื่อลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ภาครัฐ เอกชน และภาคสังคม จะต้องร่วมกันวางมาตรการ และแนวทางปฏิบัติทั่วทั้งระบบการผลิต การใช้งาน และการจัดการกับวัสดุเหลือใช้ที่เป็นขยะ ด้วยการมุ่งลดการปล่อย CO2 โดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ และให้เกิดประสิทธิผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น .. ซึ่งมันถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ..

ในสถานการณ์เทคโนโลยีสะอาด CTS มลพิษทางอากาศจากการผลิตสารเคมีขั้นต้น ลดลงเกือบ 90% ภายในปี 2050 และความต้องการน้ำลดลงเกือบ 30% เมื่อเทียบกับ Reference Technology Scenario : RTS ซึ่งเป็นกรณีสถานการณจำลองพื้นฐานสำหรับการคาดการณ์ในอนาคตของปิโตรเคมี .. CTS ยังให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการจัดการขยะ การเพิ่มสัดส่วนการรีไซเคิล Recycle ให้มากขึ้น รวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การจัดการขยะพลาสติกด้วยการฝังกลบ และขยะพลาสติกสะสมในมหาสมุทร จะลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งภายในปี 2050 เมื่อเทียบกับ RTS .. การลดการปล่อย CO2 โดยตรงจะลดลง 45% ในปี 2050 อีกด้วย เมื่อเทียบกับระดับปัจจุบันแม้ว่าความต้องการสารเคมีหลักจะเพิ่มขึ้น 40% ก็ตาม การปล่อยมลพิษก็จะยังคงลดลง 60% ในสถานการณ์เทคโนโลยีสะอาด CTS เมื่อเทียบกับ RTS ภายในปี 2050 ..

อย่างไรก็ตาม ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในกรอบกว้าง .. การนำเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนจากบรรยากาศโดยตรงมาใช้ประโยชน์ และการกักเก็บ CCUS การเปลี่ยนถ่านหินเป็นก๊าซ และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การรีไซเคิลพลาสติก และการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการใช้วัตถุดิบและแหล่งพลังงานทางเลือกนั้น กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ..

พลาสติกชีวภาพ Bioplastic เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ ..

สถานการณ์ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ขยะพลาสติกปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้นในประเทศ ประชาชนเริ่มมองหาวิธีบริหารจัดการขยะพลาสติกให้ถูกต้อง และยั่งยืน ทั้งในรูปของการลดจำนวนการใช้ การคัดแยกขยะ ตลอดจนการนำขยะพลาสติกไปรีไซเคิล หรือนำไปผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติกยังเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และด้วยการบริหารจัดการที่จำกัด ทำให้แนวโน้มขยะพลาสติกยังคงเพิ่มปริมาณขึ้น .. บริษัทเอกชนไทยที่ดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาดหลายบริษัท เช่น GC ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว และพยายามค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะ ซึ่งทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างมาก ..

พลาสติกชีวภาพ Bioplastic หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ Compostable Plastic จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่เติบโตได้อย่างมั่นคง ..

Bioplastics | Credit : European Bioplastics

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เกี่ยวกับมลพิษจากพลาสติกในมหาสมุทร ..

เมื่อขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทร มันมิได้สลายตัว แต่มันจะแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ กลายเป็น Microplastics ที่สิ่งมีชีวิตในทะเลกลืนกินเข้าไป เนื่องจากมวลของเศษขยะขนาดใหญ่รวมถึงภาชนะฝาขวดลัง และอุปกรณ์ตกปลาเก่ายังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้ปริมาณของไมโครพลาสติกอาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก นี่คือปัญหาเร่งด่วนด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ..

แม้ว่าการรีไซเคิลพลาสติก จะมีบทบาทน้อยกว่าเมื่อเทียบกับมาตรการลดการปล่อย CO2 แต่โครงสร้างพื้นฐานการจัดการของเสียที่ได้รับการปรับปรุงซึ่งเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับการเพิ่มการรีไซเคิลใน CTS ได้วางรากฐานในการลดมลพิษพลาสติกลงอย่างมากจากระดับที่ยอมรับไม่ได้ในปัจจุบัน .. ใน CTS ขยะพลาสติกที่ติดกับมหาสมุทรสะสมลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับ RTS .. การบริหารจัดการขยะพลาสติกที่เหมาะสม และนำมันไปใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล Biomass กลายเป็นความจำเป็นที่ไม่อาจละเลยได้เช่นกัน ..

ข้อเสนอเชิงนโยบาย 10 อันดับแรก สำหรับอนาคตปิโตรเคมี และอนาคตพลาสติก ..

เพื่อให้บรรลุภาคการผลิตทางปิโตรเคมีที่ยั่งยืน จำเป็นต้องใช้วิธีการแบบสหวิทยาการตลอดห่วงโซ่กระบวนผลิต ตั้งแต่การผลิตสารเคมีขั้นต้นไปจนถึงการจัดการของเสีย ไม่มีการแก้ปัญหาวิธีเดียว หรือการดำเนินการง่าย ๆ ในการจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม .. ภาครัฐ เอกชน และผู้คนในสังคม จะต้องตระหนัก และร่วมมือกัน รวมทั้งดำเนินมาตรการต่าง ๆ หลายมาตรการพร้อมกันไป .. นโยบายต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นจำเป็นต้องให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันสูงสุด และประกันผลกระทบที่ยั่งยืนในอนาคตให้สำเร็จ ซึ่งมันสำคัญมาก สรุปเป็นตัวอย่างได้ดังนี้ ..

ด้านการผลิต ..

1.กระตุ้นการลงทุนโดยตรงในการวิจัยและพัฒนา RD&D ของเส้นทางการผลิตสารเคมี พลาสติก และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ยั่งยืน

2.สร้าง และขยายแผนการประเมินเปรียบเทียบระดับโรงงานสำหรับประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และเป้าหมายการลดการปล่อย CO2

3.การกำหนดนโยบายภาครัฐ วางมาตรการ และดำเนินการตามกฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการปล่อย CO2 รวมทั้งการส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีการดักจับ CO2 จากโรงงานอุตสาหกรรม หรือจากบรรยากาศโดยตรงและนำ CO2 กลับใช้ประโยชน์อื่น ๆ ต่อไป เป็นแนวทางสำคัญที่ต้องพิจารณาดำเนินการไปพร้อมด้วย

4.วางกรอบกำหนดให้ภาคอุตสาหกรรม ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพอากาศที่เข้มงวด

5.ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และวัตถุดิบ ควรสะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริง

ด้านการใช้งาน และการกำจัด ..

1.ลดการพึ่งพาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว นอกเหนือจากฟังก์ชั่นที่ไม่สามารถทดแทนได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

2.ปรับปรุงแนวทางการจัดการขยะทั่วโลกให้เป็นรูปธรรม ครบวงจร

3.สร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับประโยชน์หลายประการของการรีไซเคิล Recycle

4.ออกแบบผลิตภัณฑ์ปืโตรเคมี โดยคำนึงถึงการกำจัดให้ครบวงจร และปลอดภัย โดยหลีกเลี่ยงการฝังกลบ

5.ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตในแง่มุมที่เหมาะสมของการใช้ และการกำจัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี รวมทั้งเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ขยะพลาสติก และพลาสติกรีไซเคิล | Photo Credit : สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

สรุปส่งท้าย ..

นวัตกรรมพลาสติก .. การพึ่งพาพลาสติกของเราเป็นความจำเป็น .. อย่างไรก็ตาม มันสร้างปัญหารุนแรงมากในการตกค้างคงอยู่ของไมโครพลาสติกในธรรมชาติ ไม่เพียงแต่มันแขวนลอยอยู่ในมหาสมุทรเท่านั้น แต่ยังอยู่ในชั้นบรรยากาศ ในอาหาร และในร่างกายของเราด้วย .. แทนที่จะฝังกลบขยะพลาสติก หรือปล่อยทิ้งไว้กับสิ่งแวดล้อมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อไปในอนาคต .. แล้วโลกเราจะสามารถนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่จริง ๆ ได้ใกล้แค่ไหน? ..

พลาสติกอยู่รอบตัวเราจริง ๆ .. ตั้งแต่ โทรศัพท์ เสื้อผ้า ไปจนถึงรองเท้า .. พลาสติกนั้น สำคัญต่อชีวิตประจำวัน ยากที่จะหลีกเลี่ยง .. และด้วยเหตุผลที่ดี .. พลาสติกเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ยอดเยี่ยมที่มีความยืดหยุ่น ทนทาน ปรับแต่งได้ และที่สำคัญที่สุดคือราคาถูกอย่างยิ่ง ..

แต่พลาสติกยังมีร่องรอยการปล่อยคาร์บอนขนาดใหญ่ และสร้างความหายนะให้กับระบบนิเวศวิทยา .. และในขณะที่บางคนคิดว่าถึงเวลาที่เราจะต้องเลิกใช้มันได้แล้ว .. แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากเราพัฒนามันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้นั้น กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ..

ทั้งสองทางเลือกนั้นพูดได้ง่าย แต่การทำสิ่งท้าทายที่สำคัญกว่าซึ่งคือการคิดค้นพลาสติก Bio-Based & Biodegradable รูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมา .. นั่นหมายถึง นวัตกรรมพลาสติกสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการค้นหาสิ่งทดแทนที่ยั่งยืนซึ่งสามารถทำทุกสิ่งที่พลาสติกทำได้ ในขณะที่มันเป็นโครงสร้างชีวมวล และย่อยสลายได้ทางชีวภาพ .. นักวิทยาศาสตร์ นักเคมี ในโลกเรานี้หลายคนกำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อค้นหา และสร้างวัสดุมหัศจรรย์นี้ ..

แม้ปัจจุบันพลาสติก จะถูกตราหน้าว่าเป็นตัวการสำคัญที่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม แต่นวัตกรรมของพลาสติกจนกระทั่งถึงวันนี้ ก็มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในประเด็นที่มิตรต่อโลกมากกว่าในอดีต อันจะเห็นได้จากการเข้ามามีบทบาทของ พลาสติกชีวภาพ Bioplastic ซึ่งตอนนี้นับว่าเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ ..

ตัวอย่างที่น่าสนใจในประเทศไทย เช่น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ พลาสติกชีวภาพ Bioplastic ซึ่งมีการผลิต และถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาของพลาสติกแบบเดิม ๆ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีการหยิบจับนำมันมาใช้กันมากขึ้น จนกลายเป็นเทรนด์ที่ส่งผลให้เกิดความต้องการในตลาดอย่างสูง ซึ่งเหตุผลสำคัญก็มาจากการนำเอาวัสดุจากพืชการเกษตรมาใช้ทดแทน เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ขณะเดียวกัน โดยตัวมันเองก็มีความสามารถในการย่อยสลายตัวเองได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ทำให้โอกาสของการตกค้างในธรรมชาติมีน้อยลงอย่างมาก ..

ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดของพลาสติกชีวภาพ Bioplastic ที่จะย่อยสลายได้อย่างมีประสิทธิภาพใน ‘สภาวะอันเหมาะสม’ เช่น ในกระบวนการหมัก หรือการฝังกลบในดิน ประเด็นอันเกี่ยวเนื่องกับการทิ้งขยะพลาสติกชีวภาพให้ถูกที่ถูกทาง เพื่อให้ขยะพลาสติกถูกนำเข้าสู่กระบวนการสลายตัวทางชีวภาพต่อไป จึงนับเป็นเรื่องจำเป็นเช่นเดียวกัน

Bio Plastics “GC Compostable” | Photo Credit : GC

การแยกแยะให้ออกระหว่าง พลาสติกทั่วไป กับ พลาสติกชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาจยังคงเป็นปัญหาอยู่ ด้วยเหตุนี้เอง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จึงได้ออกฉลาก “GC Compostable” ขึ้น เพื่อประกันว่า พลาสติกที่คุณใช้อยู่นั้น สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาตินั่นเอง เป็นต้น .. การบุกตลาดธุรกิจ Bioplastics ของ GC ถือเป็นการมองการณ์ไกลที่ยอดเยี่ยม ประเทศไทย เป็นชาติเกษตรกรรมที่อุดมไปด้วยวัสดุชีวมวลหลากหลายจำนวนมาก จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ประโยชน์จากชีวมวล Biomass รวมทั้งการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ขยะแห้ง ขยะเปี๊ยก มูลสัตว์ หรือแม้แต่ขยะพลาสติก ..

การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล – ขยะ ของ EA เพื่อบุกธุรกิจพลังงานสะอาด เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าตื่นเต้น มันสามารถลดการจัดการขยะด้วยการฝังกลบได้ในระดับหนึ่ง และจะลดลงมากกว่านี้อีกหากเราใช้พลาสติกรีไซเคิล ..

พลาสติกรีไซเคิล ก็เป็นอีกแนวทางสำคัญในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว  กลายเป็นความจำเป็นเช่นกัน ตัวอย่างบริษัทเอกชนไทย เช่น บริษัท GC ยังมุ่งดำเนินธุรกิจพลาสติกรีไซเคิล Recycled Plastic อย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อการลงทุนเพิ่มเติมสำหรับโรงงานรีไซเคิล พลาสติก ครบวงจรมาตรฐานสากลระดับโลก ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง ..

อย่างไรก็ตาม .. อนาคตปีโตรเคมีนั้น นวัตกรรมพลาสติก เป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญ .. มนุษยชาติ ยังคงใช้น้ำมัน และพลาสติก ซึ่งเป็น By-Product ของมันต่อไป .. ปัญหาขยะพลาสติก ก็จะยังอยู่ต่อไปเช่นกัน .. แต่นับจากนี้เป็นต้นไป ความถดถอยของอุตสาหกรรมน้ำมัน ปัญหาภาวะโลกที่ร้อนขึ้น ปัญหาสารเคมี และไมโครพลาสติกในมหาสมุทร ในอาหารและผลผลิตทางเกษตร รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ผลักดันโอกาสของมนุษยชาติในการปรับตัวเอง และลดความรุนแรงผลกระทบจากเหล่าปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนั้นได้

ตราบใดที่มนุษยชาติยังคงใช้แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ปิโตรเคมีก็จะยังเป็นความต้องการของสังคมมนุษย์อยู่ต่อไป  เพียงแต่มันอาจกำลังสูญเสียบทบาทนำทางสังคมในบางพื้นที่เท่านั้น .. หาก ปิโตรเลียม กำลังถูกแทนที่ด้วย แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ กลายเป็นจริง .. ปิโตรเคมี ก็กำลังถูกแทนที่ผลิตภัณฑ์ชีวมวลที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่ายด้วยเช่นกัน ..

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มันมีราคาถูกอย่างยิ่ง และอ่อนตัวที่สุดในการใช้งานหลากหลายประเภท สวนทางกับความต้องการมาตรการปกป้องสิ่งแวดล้อม .. คำตอบของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ จึงมิได้มีข้อไขเดียว แต่ต้องเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นดำเนินการหลาย ๆ มาตรการพร้อมกันไป ด้วยความร่วมมือจากทุก ๆ ภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคมในชุมชนด้วย ..

ดังนั้น .. อนาคตของปิโตรเคมี จะเป็นอย่างไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเหล่านี้ และสิ่งที่เราสามารถทำได้ คือ การดำเนินการทุกภาคส่วนเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น การใช้พลาสติกรีไซเคิล พลาสติกชีวภาพ Bioplastics ที่ได้จากพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน เป็นต้น .. และรวมทั้งเพื่อลดปัญหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี สารเคมี ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และปัญหาไมโครพลาสติกนั้น การจัดการขยะที่เหมาะสมกลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การหลีกเลี่ยงการฝังกลบ ด้วยการนำขยะเหล่านี้ไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล Biomass เป็นแนวทางที่ชาญฉลาด และเนื่องจากมันยังคงปล่อย CO2 สู่บรรยากาศ ดังนั้น การส่งเสริมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 โดยตรงจากบรรยากาศพร้อมไปด้วย ก็กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ..

…………………………………

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Petrochemical Market Analysis, Size and Growth To 2022 :-

Petrochemicals Global Market Report 2021: COVID – 19 Impact and Recovery to 2030 :-

https://www.researchandmarkets.com/reports/5240326/petrochemicals-global-market-report-2021-covid

The Future of Petrochemicals | IEA :-

https://www.iea.org/reports/the-future-of-petrochemicals

The Future of Petrochemicals | IEA Documentary in PDF :-

https://webstore.iea.org/download/direct/2310

https://drive.google.com/file/d/1sslhSOpEe45kwOLB28P_vsOhqibIbSXK/view?usp=sharing

17 New Petrochemical Plants to Go Operational by March 2021 :-

https://www.tehrantimes.com/news/446804/17-new-petrochemical-plants-to-go-operational-by-March-2021

Are We Approaching the End of the Oil Age? :-

จับตา : โครงสร้างอุตสาหกรรมปีโตรเคมี .. By TCIJ 、。。

https://www.tcijthai.com/news/2018/07/watch/8376

GC Products & Solutions / Innovation :-

https://www.pttgcgroup.com/en

What you need to know about Plant – Based Plastics :-

https://www.nationalgeographic.com/environment/article/are-bioplastics-made-from-plants-better-for-environment-ocean-plastic

7 ประเภทพลาสติก ใช้แล้วควรแยกก่อนทิ้ง เพราะเอาไปรีไซเคิลต่อได้ :-

https://erc.kapook.com/article09.php

PTT Global Chemical Public Company Limited :-

https://www.pttgcgroup.com/en

Petrochemical – Energy Education :-

https://energyeducation.ca/encyclopedia/Petrochemical

Petrochemical Industry :-

http://e-lib.dede.go.th/mm-data/bib11162.pdf

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img