วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS"กมธ.การเมือง" ตั้งโจทย์แก้กม.ประชามติ ปิดประตูคว่ำแก้รธน.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กมธ.การเมือง” ตั้งโจทย์แก้กม.ประชามติ ปิดประตูคว่ำแก้รธน.

“กมธ.การเมือง” ตั้งโจทย์แก้กม.ประชามติ ปิดประตูคว่ำแก้รธน.ที่ไม่เป็นธรรม ชู 4 โมเดลเสนอ ด้าน “กกต.” ไม่ขวางห่วงปมฉันทามติ “ไอติม” ปลื้มหลัง สส.รัฐบาลโผล่หนุน

วันที่ 16 พ.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาฯ ที่มีนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นประธานกมธ. ได้พิจารณาแนวทางปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 ซึ่งได้เชิญนายกิตติพงษ์ บริบูรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เข้าชี้แจง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการพิจารณาวาระดังกล่าว กมธ. ได้ซักถาม กกต. ถึงข้อติดขัด หรือข้อขัดข้องของการแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติ พ.ศ.2564 มาตรา 13 ว่าด้วยเกณฑ์ที่เรื่องซึ่งนำมาออกเสียงประชามติจะผ่าน คือ ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิและต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ โดยนายพริษฐ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า มาตรา 13 ของพ.ร.บ.ประชามติต้องใช้เสียงข้างมากถึง 2 ชั้น ซึ่งกังวลว่าจะกระทบต่อการออกเสียงประชามติทุกเรื่องในอนาคต ไม่เฉพาะเรื่องแก้รัฐธรรมนูญเท่านั้น อีกทั้งข้อกำหนดดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดการได้เปรียบจากฝ่ายที่ไม่อยากให้เรื่องที่ออกเสียงประชามตินั้นได้รับความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องรณรงค์ใดๆ เพียงแค่ให้ผู้มีสิทธินอนอยู่บ้าน ไม่ออกไปใช้สิทธิ เท่ากับเพิ่มโอกาสคว่ำประชามติได้

นายพริษฐ์ กล่าวด้วยว่าสำหรับการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ขณะนี้มี 4 ทางเลือก คือ 1.คงไว้ตามกฎหมายเดิม, 2. ปรับปรับปรุงโดยใช้เกณฑ์ 25% ผู้มีสิทธิที่มาออกเสียงและเสียงเห็นชอบ, 3.ตัดออกทั้งหมด หรือ 4.ตามข้อเสนอของอนุกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ที่ระบุว่าให้ใช้เกณฑ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ ขณะที่เสียงเห็นชอบนั้นให้ใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก

ขณะที่นายกิตติพงษ์ ชี้แจงว่า หลักเกณฑ์ของมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ประชามติปัจจุบัน มีเนื้อหาที่ปรับมาจากกฎหมายประชามติ ปี52 ที่ระบุว่าให้ใช้เกณฑ์เสียงข้างมากของผู้มาลงคะแนน ซึ่งถูกแปรว่าต้องเกินกึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ดีในการปรับแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติ กกต.ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ เพราะเป็นฝ่ายปฏิบัติ ทั้งนี้ต้องคำนึงสิ่งที่จะกลายเป็นข้อโต้แย้งในอนาคตในประเด็นของฉันทามติหรือไม่ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในที่ประชุมยังได้ซักถามต่อประเด็นคำนิยามของคำว่าเสียงข้างมากของคะแนนประชามติตามที่ผู้มีสิทธิมาลงคะแนน ซึ่งในอนาคตการตั้งคำถามประชามติ อาจไม่มีเฉพาะทางเลือกว่า เห็นชอบหรือไม่เท่านั้น โดยนายพริษฐ์ ตั้งคำถามว่า ในอนาคตหากจะทำประชามติเลือกเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง ซึ่งอาจมีมากกว่า 3 ทางเลือก ดังนั้นคำนิยามของเสียงข้างมากจะขึ้นอยู่กับเสียงสนับสนุนที่มาากกว่าทางเลือกอื่นหรือไม่ อย่างไรก็ดี กกต.ยอมรับว่า ต้องปรับปรุงระเบียบของกกต.ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติ เพราะขณะนี้ตามระเบียบของกกต. กำหนดหลักปฏิบัติเพียงแค่ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ หรืองดออกเสียงเท่านั้น ขณะที่พ.ร.บ.ประชามติไม่ได้กำหนดวิธีการหรือรายละเอียดไว้

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าสำหรับแนวคิดต่อการปรับแก้พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 13 นั้น พบว่ากมธ.ในฝั่งพรรคก้าวไกล ได้แก่ นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ และนายฉัตร สุภัทรวณิชย์ สนับสนุนพร้อมมองว่าควรใช้เกณฑ์ 25% ขณะที่กมธ.ที่มาจากต่างพรรค คือ นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวสนับสนุน เพราะมองว่า หากไม่แก้พ.ร.บ.ประชามติ อาจจะทำการแก้รัฐธรรมนูญเป็นปัญหาได้ เพราะไม่มั่นใจว่าจะมีประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติหรือไม่ ขณะที่ทุกพรรคการเมืองล้วนเห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ

ทำให้นายพริษฐ์ กล่าวขึ้นว่า การแก้พ.ร.บ.ประชามติ ต้องละจุดยืนของการแก้รัฐธรรมนูญไว้ก่อน เพราะเมื่อมีปัญหาทางในทางปฏิบัติต้องหาทางแก้ไข ซึ่งเป็นความร่วมมือของฝ่ายค้านและรัฐบาลที่ต้องร่วมมือกัน ขณะที่การแก้ไขพ.ร.บ.ประชามตินั้น เข้าใจว่าจะใช้การประชุมร่วมกันของรัฐสภาดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่ากมธ.ยังตั้งประเด็นต่อการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ซึ่งมาตรา 17 ของพ.ร.บ.ประชามติเปิดโอกาสให้องค์กรและพรรคการเมืองดำเนินการได้ ซึ่งนักการเมืองหรือพรรคการเมืองสามารถแสดงจุดยืนส่วนตัวได้หรือไม่ โดยนายกิตติพงษ์ กล่าวว่า ตามเจตนารมณ์องค์กรและพรรคการเมืองสามารถจัดเวทีได้ ซึ่งสามารถแสดงความเห็นได้อย่างมีเหตุมีผลเพื่อประกอบให้ประชาชนได้ตัดสินใจได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img