วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightหลายฝ่ายกังวลหากสสร.มาจากเลือกตั้ง “ไอติม”แนะเลือก3กลุ่มเชื่อแก้ปัญหาได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

หลายฝ่ายกังวลหากสสร.มาจากเลือกตั้ง “ไอติม”แนะเลือก3กลุ่มเชื่อแก้ปัญหาได้

“ไอติม” รับหลายฝ่ายกังวล หาก สสร.มาจากเลือกตั้งทั้งหมด ไร้ตัวแทนนักวิชาการ-ภาคสังคม แนะจัดระบบการเลือกเป็น 3 กลุ่ม เลือกตั้งโดยตรง-ผู้เชี่ยวชาญ-กลุ่มความหลากหลาย มั่นใจแก้ปัญหาได้ เตรียมสรุปส่งสภาฯ-รัฐบาล เชื่กหากรณรงค์ดี ประชาชนไม่สับสน

วันที่ 4 ธ.ค.2566 เวลา 12.00 น.ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะอนุกรรมมาธิการพิจารณา ศึกษาการจัดทำข้อเสนอระบบเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง กล่าวภายหลังการประชุมว่า เป็นการประชุมของคณะอนุกรรมมาธิการจัดทำข้อเสนอเรื่องระบบ สสร. ภายใต้คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง สื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำงานมาประมาณ 1 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดทำข้อเสนอ ว่าหาก สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเราสามารถมีระบบเลือกตั้งแบบไหนได้บ้าง โดยจากการทำงานพบว่ากลุ่มคนเห็นต่างที่ไม่อยากให้ สสร.มาจากการเลือกตั้ง มีข้อกังวล 2 ส่วนคือหากเลือกตั้งทั้งหมดจะมีพื้นที่ให้นักวิชาการ นักรัฐศาสตร์เข้ามาได้อย่างไร และจะมีหลักประกันความหลากหลายของกลุ่มคนในสังคมได้อย่างไร ซึ่งอนุกรรมาธิการพยายามคลาย 2 ข้อกังวลนี้ เพราะเรามีความเชื่อว่าหาก สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เราจะมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

นายพริษฐ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นโอกาสที่เรา นำข้อเสนอเบื้องต้นหรือรายงานเบื้องต้นจากหลายภาคส่วน คนที่มาให้ความเห็นในวันนี้มีตั้งแต่นักวิชาการ คนที่เคยยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2539-2540 รวมถึงคณะกรรมการศึกษาจากรัฐบาล ซึ่งทำให้อนุกรรมาธิการมีความเห็นครบถ้วนและรอบด้านมากขึ้น ซึ่งเราอาจจะจินตนาการได้ว่า สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งอาจจะมี 3 ประเภท ตนเรียกว่า X Y และ Z โดย X เป็น สสร. ที่เป็นตัวแทนพื้นที่ / Y เป็น สสร.ที่เป็นสัดส่วนนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจจะมาจากเลือกตั้งโดยตรง หรือให้ สสร.ที่ถูกเลือกมา คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญอีกรอบ / และ Z เป็น สสร.ที่เป็นตัวแทนกลุ่มความหลากหลายทางสังคม ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมความเห็นและการประเมินข้อดีข้อเสีย บนเงื่อนไขว่าทุกประเภทที่กล่าวมาได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งหากครบถ้วนแล้วจะนำไปเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและยื่นให้คณะกรรมการศึกษาของรัฐบาลพิจารณาต่อ โดยอยู่บนพื้นฐานความหวังว่าทุกคนจะคล้ายข้อกังวล และเห็นตรงกันได้ว่า สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อถามว่าประเมินว่าฝั่งรัฐบาลจะเห็นด้วยมากน้อยแค่ไหน นายพริษฐ์ กล่าวว่า ก็คงต้องรอดูว่าหลังจากที่เรายื่นไปแล้วมีท่าทีอย่างไร สิ่งที่เราทำคือเพื่อคลายข้อกังวล

“หากผมถอดหมวกประธานคณะกรรมาธิการการเมืองฯ ออก แล้วเป็น สส. ก้าวไกล ผมอยากให้เสนอคำถามการจัดทำประชามติให้เป็น 1 คำถามหลัก 2 คำถามพ่วง ที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน 1 คำถามหลัก เป็นคำถามที่เปิดกว้างที่สุด เพื่อให้ประชาชนเห็นว่าควรจะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกันว่า สสร. มีอำนาจและที่มาอย่างไร สามารถเห็นตรงกันได้ในคำถามหลัก เราจึงเสนอคำถามหลักเป็นคำถามที่กว้างว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” นายพริษฐ์ กล่าว และว่า ใน 2 คำถามพ่วง เป็นคำถามที่เราแก้ไขปัญหาความเห็นที่ยังแตกต่างกันอยู่ในรายละเอียด ได้แก่ สสร. ควรมาจากการแต่งตั้งทั้งหมดหรือไม่ และเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องการล็อกหมวด 1-2 ไว้

เมื่อถามว่าคำถามพ่วงจะไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ก็เป็นข้อกังวลที่เรายังศึกษาอยู่ แต่ตนคิดว่าหากเป็น 1 คำถามหลัก 2 คำถามพ่วง แล้วเราสร้างบรรยากาศในการรณรงค์ในช่วงประชามติที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างกว้างขวางที่สุด จะทำให้สามารถประชาชนมีข้อมูลครบถ้วน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img