วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“รฟท.”ชงอัยการสูงสุดแก้สัญญาร่วมทุน “รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน”ของ“กลุ่มซีพี”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“รฟท.”ชงอัยการสูงสุดแก้สัญญาร่วมทุน “รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน”ของ“กลุ่มซีพี”

“รฟท.” เตรียมเสนออัยการสูงสุดแก้สัญญาร่วมทุนไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน เดือนม.ค.67 คาดลงนามกลุ่มซีพีเดือนพ.ค. 67 พร้อมจ่ายค่าบริหารแอร์พอร์ตลิ้งก์งวดแรก 3,000 ล้านบาท

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยผลการหารือโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระหว่าง รฟท. สำนักงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนว่า เตรียมรายละเอียดเสนอไปยังสำนักอัยการสูงสุดพิจารณาภายในเดือน ม.ค.67 คาดว่ากระบวนการต่างๆ จะใช้เวลาพิจารณาราว 30 วัน ก่อนเสนอครม. พิจารณาอนุมัติ เบื้องต้นจึงคาดว่าจะลงนามแก้ไขสัญญาใหม่ร่วมกับเอกชนคู่สัญญา บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ภายในเดือน พ.ค.67 และผลักดันให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการทันที

สำหรับรายละเอียดของการแก้ไขสัญญาจะสอดคล้องไปกับมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1.การชำระค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แบ่งออกเป็น 7 งวด ตามที่เอกชนเสนอขอเยียวยาจากกรณีได้รับผลกระทบจากโควิดระบาด 2.แนบท้ายสัญญาที่มีเงื่อนไขเปิดกว้าง กรณีเกิดเหตุสุดวิสัยในอนาคต คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจารายละเอียดของสัญญาได้ และ 3.การก่อสร้างโครงสร้างทางร่วมรถไฟไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง

เงื่อนไขสัญญาระบุไว้ว่าเอกชนจะต้องเริ่มจ่ายค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตามที่เสนอขอผ่อนจ่ายรวม 7 งวด แบ่งเป็น งวดที่ 1-6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน  5,328.47 ล้านบาท โดยเมื่อลงนามสัญญาแล้วเสร็จ เอกชนจะต้องจ่ายค่าสิทธิรวม 3 งวด วงเงินรวมกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดชำระย้อนหลังรวม 3 ปี ระหว่างปี 2564 – 2566 ส่วนที่เหลืออีก 4 งวด จะจ่ายตามกำหนดสัญญาภายในวันที่ 24 ต.ค.ของแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ภายหลังการแก้สัญญาแล้ว รฟท. จะยังคงได้รับค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ครบจำนวน 10,671 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยและค่าเสียโอกาสของรฟท.อีกจำนวน 1,060 ล้านบาท รวมวงเงินที่ได้รับ 11,731 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ) เป็นนิติบุคคลร่วมค้าเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน จากประเทศจีน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img