วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สวนดุสิตโพล”เผยคนไทยวิตกกังวล ฝุ่น PM 2.5 ชี้รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สวนดุสิตโพล”เผยคนไทยวิตกกังวล ฝุ่น PM 2.5 ชี้รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ได้


สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนไทยกับฝุ่น PM 2.5” พบ ชี้ค่อนข้างวิตกกังวล มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจาก “เผาไร่นา เผาป่า”

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“คนไทยกับฝุ่น PM 2.5” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,123 คน สำรวจระหว่างวันที่ 12-15 ธันวาคม 2566 พบว่า กลุ่มตัวอย่างค่อนข้างวิตกกังวลกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ร้อยละ 48.89 โดยมองว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้นเพราะการเผาไร่นา เผาป่า ไฟป่า ร้อยละ 79.04

ประชาชนมีวิธีรับมือด้วยการติดตามข่าวสารและแนวทางปฏิบัติจากภาครัฐ ร้อยละ 78.72 และเห็นว่าสาเหตุที่ทำให้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ไขได้ยาก คือ การเผาไร่นา เผาป่า นั้นเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ร้อยละ 82.87

ด้านรัฐบาลควรมีมาตรการควบคุมและบทลงโทษที่เด็ดขาด ร้อยละ 85.89 สุดท้ายมองว่ารัฐบาลคงจะแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้ ร้อยละ 74.53

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนวิตกกังวลมากขึ้นว่าอาจกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ด้านรัฐบาลก็ออกมาแนะนำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งและเร่งผลักดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาด ซึ่งประชาชนเองก็พร้อมปฏิบัติตามข้อแนะนำจากทางภาครัฐ แต่ด้วยปัญหาฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายปีแต่วิธีแก้ปัญหายังเน้นการตั้งรับจึงทำให้ประชาชนยังไม่มั่นใจว่ารัฐบาล (ใหม่) จะแก้ปัญหานี้ได้
คนไทยกับฝุ่น PM2.5

ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ฝุ่น PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบสะสมต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยในระยะยาว ซึ่งจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคพบว่าสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยจะมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากมีสภาพความกดอากาศต่ำหรือสภาพอากาศปิด ทำให้ฝุ่นละอองเกิดการสะสม ในบรรยากาศจากอัตราการระบายอากาศไม่ดี รวมทั้งยังคงมีแหล่งมลพิษทางอากาศซึ่งยังไม่สามารถควบคุมให้ลดลงได้

และเมื่อพิจารณาสถานการณ์ดังกล่าวร่วมกับผลสำรวจ “คนไทยกับฝุ่น PM 2.5” จะพบว่าเมื่อคนไทยหนีฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้จึงต้องเรียนรู้อยู่กับฝุ่นให้สุขภาพไม่พัง ด้วยการเฝ้าระวังและป้องกันตนเอง หลีกเลี่ยงการรับฝุ่นเข้าสู่ร่างกายเมื่อมีการแจ้งเตือนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง รวมทั้งมีการติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 ในวันที่มีปริมาณฝุ่นหนาแน่น และสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ร่วมกันทุกภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การจัดการอย่างยั่งยืนลดปัญหาโลกรวนที่ทำให้ความรุนแรงของมลพิษทางอากาศมากขึ้นได้…

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img