วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSเรื่องเล่าจากพระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ : พระภิกษุต้นแบบ ‘โคก หนอง นา’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เรื่องเล่าจากพระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ : พระภิกษุต้นแบบ ‘โคก หนอง นา’

 เคยถามอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ว่า พระภิกษุที่เชี่ยวชาญและขับเคลื่อนเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่และขับเคลื่อน “โคก หนอง นา” ของกรมการพัฒนาชุมชน มีท่านใดบ้างที่ถือว่าเป็น “ระดับปรมาจารย์”

คุณสิทธิพงษ์ ชี้เป้าไปที่ พระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ  ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จ.สุรินทร์ บอกว่า รูปนี้คือ ตัวจริง เสียงจริง และทำจริง พระที่เป็นต้นแบบในการทำโคก หนอง นา ผู้พิสูจน์ให้ชาวบ้านและชาวโลกรู้ว่า ศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์รัชกาลที่ 9 เป็น ทางรอดและเป็นความหวังของโลก ได้จริง

ตอนหลังก็พยายามค้นหาข้อมูลจากสื่อออนไลน์บ้าง สอบถามคนในวงการบ้าง ทุกคนรู้จักท่าน หมด  มาเจอท่านอีกครั้งผ่านโปรแกรมซูม..เมื่อเรียน “สันติศึกษา” ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หากจำไม่เป็นเรื่อง “สันติภาพลงดิน สันติภาพกินได้” ฟังแล้ว งง มันหมายถึงอะไร??

ครั้งสุดท้าย.เจอพระอาจารย์สังคมที่ช่อง 5 นิมนต์ท่านมาออกรายการให้พูดเรื่อง “โคกหนอง นา” จึงได้มีโอกาสสนทนากับท่านแบบตัวต่อตัว อย่างเป็นทางการ

นักปราชญ์ส่วนใหญ่ คือ คนคิดนอกกรอบ และไม่หยุดอยู่กับที่ พร้อมลงมือทำทุกเมื่อ พิสูจน์ถูกผิดอยู่กับสิ่งที่ตัวเองคิดว่ามันคือทางรอดของชุมชน และปราญ์ชุมชนส่วนใหญ่ลองไปดูได้เลย “ร้อยทั้งร้อยพวกนี้กบฏต่อศาสตร์สมัยใหม่” ที่เราเรียนรู้มาจากต่างชาติ และคนพวกนี้จะเน้นเรียนรู้จาก “วัฒนธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น”เป็นหลัก

นักปราชญ์ส่วนใหญ่ คือ คนคิดนอกกรอบ และไม่หยุดอยู่กับที่ พร้อมลงมือทำทุกเมื่อ พิสูจน์ถูกผิดอยู่กับสิ่งที่ตัวเองคิดว่ามันคือทางรอดของชุมชน และปราญ์ชุมชนส่วนใหญ่ลองไปดูได้เลย “ร้อยทั้งร้อยพวกนี้กบฏต่อศาสตร์สมัยใหม่” ที่เราเรียนรู้มาจากต่างชาติ และคนพวกนี้จะเน้นเรียนรู้จาก “วัฒนธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น”เป็นหลัก

พระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ ก็เฉกเช่นเดียวกัน การตะลอนทัวร์อีสานของ “เปรียญสิบ” ตั้งใจไว้ว่าจะไปหาพระคุณเจ้าที่ทำงานด้าน โคก หนอง นา  โดยมี พระอาจารย์สังคมเป็นเบอร์หนึ่งในฐานะได้รับการยกย่องจากอธิบดีสุทธิพงษ์ว่า เป็นซื่อแป๋ ปรมาจารย์ด้านโคก หนองนา และการบริหารจัดการน้ำ

การนอนท่ามกลางศูนย์กสิกรรมธรรมชาติในกุฎิหลังเล็ก ๆ   ที่แวดล้อมไปด้วยพืชผัก ต้นไม้นานาชนิดและสระน้ำตรงหน้ากุฎิ กลางคืนมีเสียงดังระงมไปด้วย เขียด กบและจั๊กจั่น เป็นสิ่งแปลกใหม่ในรอบหลายสิบปีตั้งแต่ลาสิกขาออกมา ที่ไม่เคยซึมซับกับอากาศแบบนี้

ตื่นเช้า..เดินสูดอากาศที่บริสุทธิ์รอบ ๆ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มองออกไปด้านนอกมีแต่ความแห้งแล้ง ทั้ง ๆ ที่ “ภาคอีสาน” มีน้ำเยอะ มีน้ำมากมาย โดยเฉพาะใต้ดิน ขุดลงไม่เกิน 30 -40 เมตรก็เจอน้ำแล้ว ราคาค่าขุดบ่อบาดาลแถวนี้ถูกแสนถูกบ่อละไม่เกิน 20,000 บาท ตรงข้ามกับภาคกลางการขุดบ่อหาน้ำยากและลึก บ่อหนึ่งตกราคาไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท หากขุดไม่เจอน้ำเสียค่าน้ำมันให้ช่างอีก 10,000 บาท

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ของเรานี้ถือว่าสุดยอดมนุษย์เลย รู้ไหมทำไม UN จึงถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ให้พระองค์ท่าน เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงมันนำมาซึ่งความยั่งยืนและความมั่นคงให้มนุษย์ระดับครัวเรือน ชุมชนและประเทศชาติ รวมทั้งโลกด้วย คือ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างนี่ มันสร้าง “ความร่มเย็นให้กับโลก” ต้นไม้มีมาก อากาศดีโลกก็ร่มเย็น

“..ชาติตะวันตกนี้มันร้ายกาจ ทำร้ายเราอย่างลึกซึ้ง มันให้เราใช้สารเคมี มันให้เราทำลายอากาศ แต่ในหลวงไทย กลับผลิตเครื่องฟอกอากาศ ปลูกป่า ทำให้มนุษย์มีอาหารที่สมบูรณ์ปลอดสารพิษ มีอากาศดี และไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่เราบริโภคแหลก สุดโต่ง

การปลูกป่านำมาซึ่งออกซิเจน  ทำให้เรามีอากาศบริสุทธิ์ น้ำบริสุทธิ์ ปลูกป่าทำให้เรามียารักษาโลก มีอาหาร มันเกื้อกูลกันแบบนี้ อาชีพอะไรที่ช่วยสังคมมนุษย์และโลกได้ดีที่สุดเท่า โคก หนอง นาไม่มี

จำคำว่า..พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า” พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ไหม..อันนี้นอกจากช่วยสังคมไทยแล้ว ยังช่วยมนุษยโลกด้วย..”

ท่อนหนึ่งของการบอกเล่าของพระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ ระหว่างท่านพาเดินชมรอบ ๆ  บริเวณสวนกสิกรรมธรรมชาติ พร้อมกับแนะนำ “คันนาทองคำ,ระบบบริหารจัดการน้ำใต้ดิน” ของศูนย์แห่งนี้

นอกจากศูนย์กสิธรรมธรรมชาติของท่านแล้วบริเวณใกล้เคียงมีพื้นที่โคกหนอง นา ของ คุณเขมนิจ จามิกรณ์ หรือ “แพนเค้ก” และคุณ พิษณุ นิ่มสกุล หรือ  “บอย”  ดาราชื่อดังอีกด้วย

เท่าที่สังเกตการทำกสิกรรมชาติของพระอาจารย์สังคม เน้นคลุมดินด้วยฝาง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปลูกผักที่กินได้ทุกอย่าง ปลูกต้นไม้ประเภทไม้เศรษฐกิจ ยางนา ตะเคลียนทอง สัก ไม้พะยูง รอบสระมีตะไคร้ หญ้าแฝก  จุดสำคัญที่สุดคือ หากเริ่มปลูกต้องมี “ต้นกล้วย” คอยเป็น “พี่เลี้ยง” ยามหน้าแล้ง แต่เมื่ออายุต้นไม้เลย 5 ปีก็ปล่อยไปเป็นธรรมชาติ

การปลูกต้นต้น ปลูกแบบธรรมชาติ ไม่ต้องเรียงรายให้ดูสวยงามอะไร ปลูกเหมือนกับป่า ต้องมีพืชพี่เลี้ยงคือ กล้วย  ปลูกแบบผสมผสาน “ปลูกที่อย่างที่กินได้ กินทุกอย่างที่ปลูก”

อย่างรอบรั้วอาตมานี้ที่ต้นมันเขียวสด ผลผลิตดก เพราะใต้ดินมีระบบธนาคารใต้ดินวางไว้หมด คลุมฝาง ไม่ใช้สารเคมี ปลอดสารพิษ ชาวบ้านอยากมากินมาเก็บเกี่ยวไปเลย ไม่มีห่วง

“อาตมาทำอะไรก็ตาม จะคำนึงถึงส่วนรวม ส่วนรวมต้องให้ได้ความร่มเย็นด้วย อย่าไปหวังเอาแต่ปลูกอะไรให้งามเพื่อตัวเองได้อย่างเดียวไม่เอา  มันต้องสร้างความร่มเย็นให้โลก ยิ่งเราเป็นพระด้วย ต้องมองให้ลึกซึ้งกว่าคนธรรมดา

อธิบดีเก่ง (นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีพช.) ท่านเก่งสมชื่อ ท่านมองสิ่งที่เราทำออก เราทำเพื่อส่วนรวม เราทำเพื่อโลก และสนองพระราชปณิธานของในหลวงของพวกเรา ตอนที่ท่านไปอบรมที่มาบเอื้อง ท่านเจอพวกเราทำ ด้วยความที่ท่านรักและชอบอยู่แล้วและท่านเห็นว่ามันใช่เลย โคก หนอง นา จึงเกิดขึ้น ”  พระอาจารย์สังคมระบุช่วงท้ายก็การสนทนา

หลังกิจกรรมภาคเช้าไหว้พระสวดมนต์ เคารพธงชาติและใส่บาตรเรียบร้อย ได้มีพูดคุยกับ คุณพี่บุสดี ขุนศิริ ผอ.ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จ.สุรินทร์ เมื่อถามว่า โคก หนอง นา สามารถตอบโจทย์คนในสังคมได้มากน้อยแค่ไหน

 คือบางคนเขาไม่เคยรู้เลยว่าการทำหลักกสิกรรมทำความร้อนให้เป็นความชื้นได้อย่างไร เขาก็จะมาเรียนรู้ที่นี้การปลูกป่าแบบเพิ่มพูนจากที่เขาไม่เคนรู้เลย เขาก็จะรู้จากที่นี้ อบรมพอเพียงทำยังไง ทำไมจะต้องปลูกต้นกล้วยนำล่อง เพราะกล้วยเป็นพืชที่มีน้ำจะต้อง ที่เลี้ยงในการปลูกต้นไม้ คือส่วนมากจะต้องทำคือ เขาจะทำในสิ่งที่เขารู้เอาความรู้ของตัวเองเป็นที่ตั้งแล้วก็ทำเหมือนกับชาวบ้านที่เรียนรู้เรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาแล้วก็เอาลงไปทำ แต่ว่าบางครั้งเขาไม่ได้จัดระบบน้ำ เขามาเรียนรู้ที่นี้เขาก็จะรู้ว่าจะต้องห่มดินห่มฟางต้องห่มอย่างไร ทำความร้อนให้เป็นความชื้นทำไมจะต้องทำแบบนี้ คือเขาสามารถจัดการองค์ความรู้แล้วเขาเอาไปลงมือทำได้ เราก็เลยคิดว่าแต่ละรุ่นมันประสบความสำเร็จ

“  พูดทีไรหนูจะขนลุกนะพี่รู้สึกพูดทีไรหนูรูสึกภูมิใจกับพัฒนาชุมชนมาก หนูคิดว่าสิ่งที่เขาทำนะวันนี้เนี่ย มันคุ้มค่ายิ่งกว่า เพราะว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่9 ทรงบอกว่า จะให้ความรู้ จะให้อะไรใครเนี่ย เราจะให้องค์ความรู้เขาก่อน สิ่งที่กรมพัฒนาชุมนทำเนี่ยคุ้มค่ามาก ในการที่จะช่วยเหลือชาวบ้านตาดำให้เขาเป็นเกษตรกร เขาต้องการที่สุดก็คือน้ำ การที่จะรองรับน้ำฝนให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์จะต้องขุดบ่อ ขุดคลองไส้ไก่ จะต้องมีนาที่มีค และนาแต่ต้องปลูกต้นไม้เพื่อรองรับน้ำฝน

โครงการเนี่ยถือว่ามันคุ้มมากๆ หนึ่งล่ะ เม็ดเงินตัวนี้มันจะทำให้ชาวบ้านที่มาอบรมเนี่ยเขาได้นำไปใช้กับชีวิตครอบครัวของเขา เขาได้ลืมตาอ้าปาก ตอนแรกเข้ายังไม่เข้าหรอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้เขามั่งคั่งขนาดไหนยั่งยืนแบบไหน  หนึ่ง  เมื่อเรามีน้ำเราก็จะยั่งยืนล่ะ เราสามารถที่จะทำเกษตรได้อย่างมีความสุข เพราะว่าเกษตรกรขาดที่สุดคือน้ำนะคะ และสอง ปลูกต้นไม้บางคน เขาเพื่อที่จะขายแต่การที่เราจะมีจะสามารถต่อยอดต้นไม้ได้ เราจะต้องรู้จักเพาะพันธ์ไม้รู้จักตอนไม้รายได้

นี่คือเม็ดเงินที่เขาทำขึ้นมาเนี่ยโครงการนี่ถือว่าเป็นโครงการที่เยี่ยมมากและดีที่สุดนะคะตามที่หนูได้เห็นเขาจัดมานะคะ คุ้มค่าค่ะพี่ของฝากความระลึกถึงไปยังท่านอธิบดีด้วย…”

การตะลอนทัวร์ภาคอีสาน เพื่อตระเวนดูโคก หนอง นา ของ “เปรียญสิบ” ยังไม่จบแค่นี้ตลอดระยะเวลา 7 วัน 7 คืน ค่ำไหนนอนนั้นมีเรื่องเล่ามากมาย ตอนหน้าไปจังหวัดศรีสะเกษ ที่นี่มี “พระภิกษุนักวิชาการดาวรุ่ง” ระดับแนวหน้าของมหาวิทยาลัยสงฆ์ อยู่ดี ๆ สลัดจีวรลงชุมชน มุ่งสู่ โคก หนอง นา  ตอนหน้าไปเปิดใจคุยกับพระคุณเจ้ารูปนี้ต่อครับ

คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง

โดย  “เปรียญ10” : [email protected]

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img