วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สุริยะ”เดินหน้าเมกะโปรเจกต์ 31 โครงการ มูลค่า 3.89 แสนล้านบาท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สุริยะ”เดินหน้าเมกะโปรเจกต์ 31 โครงการ มูลค่า 3.89 แสนล้านบาท

“สุริยะ” ลุยเมกะโปรเจกต์ปีนี้ 31 โครงการ มูลค่า 3.89 แสนล้านบาท ทั้งมอเตอร์เวย์-ทางด่วน-รถไฟทางคู่-ส่วนต่อขยายสนามบินสุวรรณภูมิ คาดชงครม.อนุมัติ 7 โครงการเร่งด่วนในเร็ว ๆ นี้ 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม  เปิดเผยว่า สำหรับโครงการสำคัญที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเร็วๆนี้ จำนวน 7 โครงการ ประกอบด้วย 1.รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ. ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,468 ล้านบาท 2.รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,670 ล้านบาท 3.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 4,616 ล้านบาท 4.มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ตอนบางบัวทอง-บางปะอิน  วงเงิน 15,260 ล้านบาท 5.มอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายอุตราภิมุข ตอนรังสิต-บางปะอิน วงเงิน 31,358 ล้านบาท 6.ทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ตอนกะทู้-ป่าตอง วงเงิน 16,494 ล้านบาท 7.โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้านทิศตะวันออก วงเงิน 9,000 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯ มีแผนโครงการลงทุนด้านคมนาคมในปี 67 จำนวน 31 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 389,750 ล้านบาท แบ่งออกเป็น โครงการทางถนน  จำนวน 21 โครงการ  เช่น 1.มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ตอนบางบัวทอง-บางปะอิน  วงเงิน 15,260 ล้านบาท 2.มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยาย M7 เชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 4,508 ล้านบาท 3.ทางพิเศษฉลองรัช ส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา) วงเงิน 24,060 ล้านบาท 4.ทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ตอนกะทู้-ป่าตอง วงเงิน 16,494 ล้านบาท 5.โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า จ.เชียงราย วงเงิน 2,887 ล้านบาท ฯลฯ

       
นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ และโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 รถไฟความเร็วสูง และโครงข่ายการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้บริการได้ตรงเวลา และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและการเดินทางของประชาชน

รวมทั้งผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการให้บริการระบบการขนส่งทาง พบว่ามีโครงการที่จะเริ่มดำเนินการจำนวน 6 โครงการ ประกอบด้วย 1.รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ. ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,468 ล้านบาท 2.รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,670 ล้านบาท 3.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 4,616 ล้านบาท 4.รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,527 ล้านบาท ฯลฯ

ขณะเดียวกันกระทรวงยังเน้นย้ำให้ขยายขีดความสามารถการขนส่งทางน้ำ โดยการเปิดประตูการค้าทางน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการเดินเรือ ซึ่งโครงการทางน้ำ จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย 1.ศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 2 วงเงิน 913 ล้านบาท 2.พัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง วงเงิน 267 ล้านบาท

นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานหลักของประเทศ ให้รองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น และขับเคลื่อนสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค หรือ Aviation Hub ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านการบินให้มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมการบิน พบว่า มีโครงการทางอากาศ จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย

1.โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้านทิศตะวันออก วงเงิน 9,000 ล้านบาท

2.โครงการก่อสร้างขยายทางขับและลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่นๆ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช วงเงิน 500 ล้านบาท 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img