วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘สสว.’ดัน‘เอสเอ็มอีสีเขียว’ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 2.5 พันล้าน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สสว.’ดัน‘เอสเอ็มอีสีเขียว’ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 2.5 พันล้าน

“สสว.” ประกาศดันเอสเอ็มอีสีเขียว หวังสร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 2.5 พันล้านบาท ระบุช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้ว 4,500 ราย มีระบบให้บริการ 406 บริการ สร้างมูลค่าเพิ่มกว่า 1,200 ล้านบาท

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ในปีนี้สสว.ตั้งเป้าหมายดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) ผ่านระบบการให้บริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจ (BDS) ภายใต้โครงการ SME ปัง ตังได้คืน ปีที่ 3 โดยคาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 2,500 ล้านบาท จากปัจจุบันให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้ว 4,500 ราย มีระบบให้บริการ 406 บริการ จาก 98 ผู้ให้บริการทางธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มกว่า 1,200 ล้านบาท

สำหรับปีนี้ สสว.จะผลักดันผู้ประกอบการนำธุรกิจเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียว ยกระดับการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยการดึงผู้ให้บริการทางธุรกิจที่ให้คำปรึกษาเรื่องการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในสถานประกอบการ การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การขึ้นทะเบียนและรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีค่าบริการค่อนข้างสูงตั้งแต่ราคา 100,000-500,000 บาท

ทั้งนี้ สสว.จะอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้การพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีแบบร่วมจ่ายในสัดส่วน 50-80% ตามขนาดของธุรกิจ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ใช้สิทธิ์ได้ปีละ 2 ครั้ง จนถึงเดือนก.ย.2567

สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง (M) ภาคการผลิตรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท/ปี ภาคอื่นๆ รายได้ไม่เกิน 300 ล้านบาท/ปี จะได้รับการอุดหนุนร่วมจ่าย 50% หรือไม่เกิน 200,000 บาท

ผู้ประกอบการขนาดย่อม (S) ภาคการผลิตรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท/ปี และภาคอื่นๆ รายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท/ปี จะได้รับการอุดหนุนร่วมจ่าย 80% หรือไม่เกิน 200,000 บาท

ผู้ประกอบการ (Micro SME) รายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ได้รับการอุดหนุนร่วมจ่าย 80% ไม่เกิน 50,000 บาท

ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิ์ได้ 2 ครั้ง ต่อปี โดยมุ่งเน้นกิจกรรมผ่านโครงการ BDS ซึ่งเพิ่มหมวดการพัฒนาเป็น 5 หมวด ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพธุรกิจ การพัฒนาและบริหารธุรกิจ การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและตลาดและการพัฒนาสู่ตลาดต่างประเทศ

นอกจากนี้ สสว. ยังได้มีการปรับปรุงระบบเพื่อลดขั้นตอนการใช้บริการ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ ลดทอนระยะเวลาการดำเนินงาน อนุมัติได้รวดเร็วขึ้น ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูล SME One ID ของหน่วยงานรัฐ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ฯลฯ ทำให้สามารถจัดกลุ่มผู้ประกอบการได้รวดเร็วขึ้น ลดปริมาณเอกสารแนบที่ใช้ในการสมัครให้น้อยลง

ขณะที่ แพลตฟอร์มดำเนินงาน ได้มีการจัดทำหมวดหมู่และเมนูลัด เพื่อให้ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก เช่น กลุ่มอาหาร กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มภาคการค้าและบริการ สามารถเข้าถึงได้ง่าย และเลือกบริการบนระบบได้รวดเร็ว มีการเชื่อมกับระบบ Train the coach เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกขอรับคำปรึกษา แนะนำในการพัฒนาธุรกิจ หรือการเลือกใช้บริการที่เหมาะสมกับธุรกิจของตน จากที่ปรึกษาเฉพาะด้าน ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img