วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight"เงินบาทพลิกแข็งค่า" จับตาทิศทางเงินหยวนจีน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เงินบาทพลิกแข็งค่า” จับตาทิศทางเงินหยวนจีน

ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.62 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเฟดลดดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด จับตาทิศทางเงินหยวนจีน

นายพูน  พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า  ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.62 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย”จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.64 บาทต่อดอลลาร์โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทผันผวนในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 36.58-36.68 บาทต่อดอลลาร์) โดยเคลื่อนไหวผันผวนไปตามโฟลว์ธุรกรรมราคาทองคำ และทิศทางของเงินดอลลาร์

ซึ่งในส่วนของเงินดอลลาร์นั้น แม้ว่าจะอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาด ทว่าเงินดอลลาร์ก็ยังพอได้แรงหนุนจากรายงานยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) ที่ออกมาใกล้เคียงที่ตลาดคาดการณ์ไว้และยังอยู่ในระดับสูงราว 8.76 ล้านตำแหน่ง อีกทั้งถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงย้ำมุมมองว่าเฟดจะยังไม่รีบลดดอกเบี้ย จนกว่าจะมั่นใจในการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อ ก็ยังทำให้ผู้เล่นในตลาดมีความกังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดอยู่บ้าง

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเฟดอาจชะลอการลดดอกเบี้ยหรือลดดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด ซึ่งภาพดังกล่าวได้เริ่มกดดันให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ อาทิ Nvidia -1.0% ก่อนที่จะรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ดัชนี ISM ภาคการบริการ และยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังพอได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานบ้าง Exxon Mobil +2.0% หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทำให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ลดลง -0.95% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาดราว -0.72%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 พลิกกลับมาปรับตัวลดลง -0.80% ท่ามกลางแรงขายบรรดาหุ้นเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth หลังบอนด์ยีลด์ระยะยาวฝั่งยุโรป ปรับตัวขึ้นตามบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จากความกังวลเฟดอาจลดดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด ทว่าตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน Shell +3.5% หลังราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางและสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ร้อนแรงขึ้น อีกทั้งอุปสงค์ความต้องการใช้พลังงานก็ยังดีอยู่จากภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สดใส และการฟื้นตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจจีน

ขณะที่ตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 4.40% ตามความกังวลเฟดอาจชะลอการลดดอกเบี้ยและอาจลดดอกเบี้ยน้อยกว่า ขณะเดียวกัน การปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบก็มีส่วนหนุนให้บอนด์ยีลด์ระยะยาวปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็ย่อตัวลงบ้างสู่ระดับ 4.37% หลังผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็ทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวสหรัฐฯ ในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้น สอดคล้องกับมุมมองเดิมของเราว่า บอนด์ระยะยาว อย่าง บอนด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงกว่าระดับ 4.20% (Risk-Reward มีความคุ้มค่า)

ทางด้านตลาดค่าเงินนั้น เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตามแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาด ก่อนที่เงินดอลลาร์จะรีบาวด์ขึ้นบ้าง จากรายงานยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) ที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ก็ไม่ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มเฟดชะลอการลดดอกเบี้ยไปมากนัก นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังพอได้แรงหนุนจากภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินสหรัฐฯ ส่งผลให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 104.8 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 104.7-105 จุด)

ส่วนของราคาทองคำ แม้ว่าราคาทองคำจะเผชิญแรงกดดันบ้าง จากความกังวลเฟดอาจชะลอการลดดอกเบี้ยและอาจลดดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด ทว่าจังหวะการปรับตัวลงของเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้หนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.) สามารถรีบาวด์ขึ้นและปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่โซน 2,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมทองคำ โดยเฉพาะโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ ก็มีส่วนช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้

สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คือ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งสหรัฐฯ อย่าง ดัชนี ISM ภาคการบริการ รวมถึงยอดการจ้างงานภาคเอกชน (ADP Employment) ซึ่งอาจช่วยสะท้อนถึงแนวโน้มการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ที่จะรายงานในวันศุกร์นี้ได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟด ทำให้ตลาดการเงินอาจเคลื่อนไหวผันผวนไปตามมุมมองของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้ไม่ยาก

ส่วนยุโรป ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน ในเดือนมีนาคม ซึ่งอาจสะท้อนถึงแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้และเอเชีย ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานดัชนี Caixin PMI ภาคการบริการ ที่จะช่วยสะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการบริการ โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก-ขนาดกลาง ของจีน

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่านั้นยังคงมีอยู่ ทำให้เงินบาทยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง ทว่า เราเริ่มเห็นสัญญาณโมเมนตัมการอ่อนค่าที่ชะลอลง จากการประเมินปัจจัยเชิงเทคนิคัล อาทิ สัญญาณ Bearish Divergence เมื่อประเมินจากภาพการเคลื่อนไหวของเงินบาทรายชั่วโมง และราย 4 ชั่วโมง อีกทั้ง เรามองว่า เงินบาทอาจพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง จากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำสามารถรีบาวด์ปรับตัวสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็ต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วงเงินบาทอ่อนค่าลง ทำให้ เราประเมินว่า เงินบาทอาจยังมีแนวต้านในโซน 36.70- 36.80 บาทต่อดอลลาร์

ทั้งนี้ควรจับตาทิศทางเงินหยวนจีน (CNY) ในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานดัชนี Caixin PMI ภาคการบริการ เพราะหากออกมาดีกว่าคาด และสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ก็อาจช่วยหนุนให้เงินหยวนพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ซึ่งจะช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้ อย่างไรก็ดี เรายังคงกังวลว่า นักลงทุนต่างชาติอาจทยอยขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติม ทำให้เงินบาทยังมีความเสี่ยงผันผวนอ่อนค่าจากโฟลว์ขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดการเงินโดยรวมอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง และที่สำคัญ ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด

อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวผันผวนสูงกว่าปกติ ทำให้ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.45-36.75 บาทต่อดอลลาร์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img